|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ชาติ ผลักดันกองทุนพันธบัตรระยะยาว หวังดึงเงินออมภายในประเทศเพิ่มขึ้นรองรับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด คาดจะมีกองทุนพันธบัตรเอเชียกองที่ 2 หรือ ABF2 เป็น กองทุนแรกที่เริ่มดำเนินการในต้นปี 2549 ระบุต้องการให้ผู้บริหารกองทุนของไทยใช้ "ดัชนีพันธบัตร" ในการบริหารกองทุนพันธบัตรให้มีต้นทุนที่ต่ำลง
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ต้องการที่จะสร้างเครื่องมือใหม่ๆ ในการระดมเงินออมของประเทศเพื่อรองรับการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงปีหน้าและปีต่อๆ ไป ซึ่งการลงทุนของรัฐบาลและเอกชนในช่วงต่อไปจะส่งผลให้ประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องมีความพยายามในการสร้างการออม ของประเทศให้เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ การส่งเสริมให้เกิดกองทุนพันธบัตรและตราสารหนี้ระยะยาวนับว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วย ให้เกิดการออมเงินระยะยาวของประเทศ และช่วยให้การระดมทุนของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ที่ต้องการเงินลงทุนระยะยาวในการลงทุนในโครงการต่างๆ รวมทั้งโครงการ ลงทุนในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) ทำได้ต่อเนื่อง เพราะมูลค่าของกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้และพันธบัตร ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมา มีมูลค่ารวมสูงถึง 230,000 ล้านบาท แต่ที่ผ่านมาเป็นการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น และเป็นการลงทุนโดยใช้การตัดสินใจของผู้จัดการกองทุนเป็นหลัก ซึ่งต้องใช้เวลา และเงินทุนในการหาข้อมูลเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม การมีดัชนีตลาดพันธบัตร และตราสารหนี้เพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะเป็นการรวมเอาตราสารหนี้ และพันธบัตรระยะยาวประเภทต่างๆ ทั้งของรัฐบาล เอกชน และรัฐวิสาหกิจ อายุตั้งแต่ 1-15 ปี ที่มีพื้นฐานที่ดีมารวมกันไว้ และมีการแสดงความเคลื่อนไหวของผลตอบแทนของแต่ละพันธบัตร และตราสารหนี้ที่ออกมาเป็นรายวัน ทำให้กองทุนที่ตั้งใจลงทุนในตราสารหนี้มีข้อมูลที่ชัดเจนในต้นทุนที่ต่ำมาก และเลือกลงทุนในตราสารหนี้ และพันธบัตรระยะยาวได้มากขึ้น ทำให้มีกองทุนพันธบัตรระยะยาวเกิดขึ้นในประเทศไทย และทำคนไทยที่สนใจออมเงินระยะยาวมีทางเลือกในการออมเงินระยะยาวที่มีความมั่นคงมากขึ้น
นายบัณฑิต กล่าวต่อว่า ในขณะนี้สถาบันที่ทำดัชนีพันธบัตรและตราสารหนี้ ในต่างประเทศสนใจที่จะทำดัชนีให้ประเทศไทย และนำเอาดัชนีตลาดตราสารหนี้ไทยเผยแพร่เป็นราย วัน ซึ่งจะทำให้ข้อมูลพันธบัตรที่ประเทศไทยออกระยะยาว ไปถึงนักลงทุนจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ และเชื่อว่าจะทำให้เกิดกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรระยะยาวมากขึ้น และการขายหน่วยลงทุนของกองทุนพันธบัตรระยะยาว ให้กับภาคเอกชน และประชาชนจะทำให้ไทยมีเงินออมระยะยาวเพิ่มขึ้นด้วย
โดยกองทุนพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Fund) กองที่ 2 หรือ ABF 2 จะเป็นกองทุนแรกที่ ธปท.ดูแล ที่จะลงทุนในพันธบัตรระยะยาวสกุลท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจัดตั้ง คาดว่าจะเริ่มขายหน่วยลงทุนได้ในต้นปีหน้า และเชื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อประเทศไทยใน 3 ด้านคือ 1. เป็นการเพิ่มเงินออมให้กับประเทศ 2. สร้างสภาพคล่องให้กับตลาดการเงิน และ 3. ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้นเพราะมีดัชนีอ้างอิง
"หลังจากการสัมมนาในครั้งนี้ เชื่อว่าจะทำ ให้ผู้บริหารกองทุนมีความเข้าใจ และมีการลงทุน ในพันธบัตรระยะยาวมากขึ้น ตามดัชนีพันธบัตร ของไทยที่เกิดขึ้นมา"นายบัณฑิตกล่าว
|
|
 |
|
|