|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
นายแบงก์เชื่อแบงก์ชาติปรับอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี ขึ้น 0.25% เป็น 4.0% แบงก์กรุงเทพส่งสัญญาณปรับอัตราดอกเบี้ยอีกหากดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.50% ชี้หากปรับดอกเบี้ยมากจะกระทบธุรกิจ และการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีหน้าอาจไปไม่ถึง 4.50% จับตาดอกเบี้ยเป็นพิเศษหลังไตรมาสแรกปีหน้า ขณะที่ กนง.พิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้ (14 ธ.ค.) เพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 14 วันว่า จะดูปัจจัยของการเพิ่มขึ้น ของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในประเทศเป็นหลัก นอกจากนี้ จะพิจารณาภาวะเศรษฐกิจ ในประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต และการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายของต่างประเทศประกอบด้วย
"ที่ผ่านมาภาวะเศรษฐกิจของต่างประเทศเปลี่ยนไป โดยเฉพาะการตัดสินใจของธนาคารกลางของหลายๆ ประเทศทั้งในยุโรป สหรัฐฯ และเอเชียที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งมีผลกระทบต่อเงินลงทุนที่ไหลเข้าออก และสภาพคล่องของระบบการเงินโลก ซึ่ง ธปท.จะต้องพิจารณาในเรื่องนี้ด้วย แต่ปัจจัยหลักที่จะพิจารณาคือ ภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจในประเทศของไทยมากกว่า"นายบัณฑิตกล่าว
สำหรับอัตราเงินเฟ้อล่าสุด เดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้น 5.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง แต่ลดลงจากเดือนตุลาคมที่อยู่ในระดับ 6.2% ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่อัตราเงินเฟ้อไม่ได้เร่งตัวขึ้น ขณะที่ตั้งแต่ต้นปี 2548 กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์พีมาแล้วทั้งสิ้น 8 ครั้ง รวม 2.50% จาก 1.25% มาเป็น 3.75%
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤศจิกายนไม่เร่งตัวขึ้น และ ธปท.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในไตรมาสที่ 4 จะอยู่ในระดับ 6% ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างในการประชุม กนง. 2 ครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม คาดว่า ธปท.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 14 ธันวาคมนี้เพิ่มขึ้นอีก 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร อายุ 14 วัน ปรับขึ้นเป็น 4% เพื่อกระตุ้นในเกิดการออมมากขึ้น รวมทั้งช่วยให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงกลับมาเป็นบวกได้ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2549
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ(BBL) กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่คิดว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยถึง 0.50% เนื่องจากการประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมา กนง. ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.5% อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากในการประชุมครั้งนี้ยังมีการปรับอีก 0.50% ถือว่าแรง และจะส่งผลต่อระบบสถาบันการเงินที่อาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อย่างไรก็ตาม ที่เคยคาดการณ์ ว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นสูงสุดประมาณกลางปี 2549 อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากสหรัฐฯยังอาจ จะเจอปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง ประกอบกับประเทศไทยก็เป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้ เพราะฉะนั้นช่วงหลังไตรมาส 1 ปี 2549 อาจจะต้องมีการจับตาสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยเป็นพิเศษ ประกอบกับเรื่องอัตราเงินเฟ้อและปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัด ถือเป็นความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ในปี 2549 ที่ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง
นายเดชา ตุลานันท์ กรรมการ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า หาก กนง.ปรับดอกเบี้ยอีก 0.50% ก็มีสิทธิ์ทำให้ธนาคารต้องปรับดอกเบี้ยตาม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า กนง.จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่มาก ขณะที่ธนาคารเองก็พยายามที่จะดึงการปรับอัตราดอกเบี้ยไม่ให้สูงมากจนกระทบต่อประชาชน ซึ่งปัจจุบันธุรกิจบางประเภทได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และยอดการขายรถยนต์ใหม่และมือ 2 ที่ชะลอลง รวมทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีหน้าที่จะชะลอลง โดยอาจจะขยายตัวไม่ถึง 4.50%
ด้านนางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย) จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า เฟดคงขึ้นดอกเบี้ย 0.25% และมีแนวโน้มว่าในการประชุม กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เพื่อให้สอดคล้อง กับการปรับอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ
|
|
 |
|
|