Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540
"นิทาน…หมอบุญกับหุ้นเน่า"             
โดย มานิตา เข็มทอง กุสุมา พิเสฏฐศลาศัย
 


   
search resources

บุญ วนาสิน




กาลครั้งหนึ่งเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นยุคเฟื่องฟูของการเทกโอเวอร์บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จึงเปรียบเสมือนของหวานที่ล่อตาล่อใจบรรดานักเทกโอเวอร์ทั้งหลาย วิธีการที่จะสามารถย่นระยะยทางในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้ง่ายวิธีการหนึ่งก็คือ การเข้าไปซื้อกิจการที่กำลังประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ จนอาจนำไปสู่การถูกถอดถอนจากการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ได้ในที่สุด หรืออีกนัยหนึ่งซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่บรรดาผู้ใจบุญเหล่านี้ ใช้อ้างในการเข้าไปครอบงำกิจการที่กำลังย่ำแย่ด้วยการเข้าไปฟื้นฟูกิจการที่เจ้าของเดิมดำเนินการต่อไปไม่ไหวนั่นเอง

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ชื่อของเจ้าชายอาหรับ จากประเทศแดนไกลแถบตะวันออกกลางคงจะเป็นที่คุ้นหูกันในวงการเทกโอเวอร์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการว่า นักธุรกิจแดนไกลเหล่านั้นเข้ามาตามการชักชวนของ "ราเกซ สักเสนา" บุรุษผู้สร้างรอยแผลฉกรรจ์ไว้กับ บมจ. ธนาคารกรุงเทพพณิชยการหรือ BBC และเป็นที่ทราบกันว่าดีลส่วนใหญ่ที่มีบุคคลเหล่านี้เข้าไปเกี่ยวข้องก็มักจะล้มเหลว และเงียบหายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่กลุ่ม BBC ถูกปราบ

ระหว่างรอยคาบเกี่ยวของนักเทกโอเวอร์ที่มีกลุ่ม BBC เป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลัง วงการนี้ก็ได้ปรากฏชื่อของชายอีกผู้หนึ่ง ซึ่งยอมพลิกผันตนเองจากอาชีพหลักที่เป็นหมอรักษา "คนไข้" กลายมาเป็นหมอรักษา "หุ้นเน่า" แทน เขาผู้นั้นก็คือ นายแพทย์บุญ วนาสิน หรือ "หมอบุญ" เจ้าของธุรกิจโรงพยาบาลธนบุรีนั่นเอง

"หมอบุญ" เป็นนักเทกโอเวอร์ชื่อดังอีกคนหนึ่งที่ผงาดมาจากดีลการเทกโอเวอร์กิจการของโรงพยาบาลลานนาหรือปัจจุบันใช้ชื่อว่า "เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์" และดีลดังแห่งปีคือ บมจ. วิทยาคม หรือ VK ซึ่งเป็นดีลที่เกี่ยวโยงกับอีกหลายบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย "C" เช่นเดียวกัน ได้แก่ บมจ. บีพีทีอุตสาหกรรม หรือ BPT และ บมจ. แปซิฟิค แอสเซ็ทส์ หรือ PA

ตามปกติการเทกโอเวอร์สามารถทำได้ 2 แนวทางคือ การเทกโอเวอร์เพื่อการฟื้นฟูกิจการ และการเทกโอเวอร์เพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ทางอ้อม (BACK DOOR LISTING) ซึ่งในตลาดไทยเจตนาของการเทกโอเวอร ์เพื่อเข้าไปฟื้นฟูกิจการอย่างแท้จริงก็มีอยู่บ้าง ในขณะที่การเทกฯ เพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ทางอ้อมก็มีไม่น้อย และจากภาพลักษณ์ของหมอบุญกับ ร.พ. ธนบุรีซึ่งดูว่าจะแยกกันไม่ออกนั้น ทำให้เกิดการเข้าใจว่า การที่หมอบุญเข้าไปลงทุนในบริษัทใดก็ตามในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นการทำ BACK DOOR LISTING เพื่อเอาธนบุรีเข้าตลาดฯ นั่นเอง อย่างไรก็ดีหมอบุญก็ได้ประกาศอย่างแน่วแน่ว่า

"ผมจะไม่เอา ร.พ. ธนบุรีเข้าตลาดฯ อย่างแน่นอน และการที่ธนบุรีเข้าไปถือหุ้นในโรงพยาบาลลานนา และวิทยาคมก็เป็นลักษณะ HOLDING COMPANY โดยเข้าไปถือหุ้นใหญ่ เพื่อเป็นการขยายกิจการ และผมมองว่าเป็นธุรกิจที่จะสร้างกำไรให้กับธนบุรีได้ในอนาคต โดยที่ตัวผู้ถือหุ้นของธนบุรีไม่ได้เข้าไปถือหุ้นเองโดยตรง ฉะนั้นจึงไม่ใช่การทำ BACK DOOR LISTING"

หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า เป็นไปได้หรือที่หมอบุญจะยอมเสียโอกาสที่เข้ามาสู่มือไปอย่างง่าย ๆ …เขาในฐานะประธานกรรมการบริหารของวิทยาคมคนปัจจุบันยอมเปิดอกกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า

"ร.พ. ธนบุรีไม่มีความจำเป็นต้องเข้าตลาดฯ เนื่องจากธนบุรีสามารถใช้ช่องทางในการระดมทุนจากบริษัทลูกที่มีอยู่หลายบริษัท และที่สำคัญการที่ธนบุรีเป็นธุรกิจ HEALTH CARE ซึ่งเป็นหมวดที่ไม่น่าสนใจในการลงทุน เนื่องจากเป็นหมวดที่ไม่มีสภาพคล่องและราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงไปมาก แต่สิ่งที่ผมอยากทำก็คือ การให้ธนบุรีเข้าไปซื้อบริษัทที่จะทะเบียนอยู่ในหมวดนี้ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มี GOOD ASSET และ GOOD RETURN ซึ่งเราสามารถดำเนินธุรกิจที่เราถนัดอยู่แล้วให้มีกำไรขึ้นมาได้" ดังเช่นโรงพยาบาลลานนาที่ธนบุรีเข้าไปซื้อกิจการเมื่อปี' 39 ที่ผ่านมา

และเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. ปีเดียวกัน บริษัทเชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ได้เพิ่มทุนจำนวน 170 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวน 140 ล้านบาท บริษัทได้แบ่งการใช้เงินออกเป็น 2 โครงการคือ โครงการปรับปรุงอาคารเดิม ซึ่งประกอบด้วย การปรับปรุงตกแต่งห้องเก่าที่มีอยู่ และโครงการอาคารใหม่รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของอาคารใหม่ทั้งหมด

"ที่ผ่านมาธนบุรีลงทุนใน ร.พ. 30 กว่าแห่ง และในปีนี้ 3 แห่ง เริ่มกำไร ซึ่งในปีนี้เป็นปีแรกที่เงินที่เราลงทุนไปประมาณ 600-700 ล้านบาท จะเริ่มกลับมาหาผู้ถือหุ้น เช่น ร.พ. ลานนาปีนี้ก็กำไรให้เราประมาณ 10-20 ล้านบาทได้" เป็นการย้ำของหมอบุญว่า ธนบุรีไม่จำเป็นต้องเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอง เนื่องจาก CAPITAL GAIN ที่อยากได้จากหมวดนี้ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก ส่วนในเรื่องของเงินปันผลก็อาจจะน้อยกว่าที่ธนบุรีทำธุรกิจเช่นนี้ และที่สำคัญ การเข้าตลาดฯ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ทั้งหมด ซึ่งหากธนบุรีทำธุรกิจในลักษณะที่เป็น HOLDING COMPANY การทำงานจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า

นอกจากนี้เขายังมองว่า ปัจจุบันในตลาดหลักทรัพย์ยังมีบริษัทที่มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงเป็นจำนวนมาก

"มีบริษัทกว่าครึ่งในตลาดตอนนี้เขายินดีให้เราเข้าไปร่วมกิจการอยู่แล้ว แต่ต้องอาศัยพาร์ตเนอร์ที่แข็งแกร่งเข้าไปด้วย เหมือนกับ ร.พ. ลานนาที่ธนบุรีอัดฉีดเงินเข้าไปครั้งแรกประมาณ 200 ล้านบาท และขณะนี้เราได้ชวนชาวต่างชาติเข้ามาร่วมทุนด้วย และกำลังจะเพิ่มทุนอีกเท่าตัว เท่ากับมีเงินทุนเข้ามาเป็น 400 ล้านบาท และที่ผ่านมาลานนาไม่เคยกู้เงินเลย แต่ตอนนี้เวิลด์แบงก์ได้อนุมัติเงินกู้ให้ลานนาแล้วประมาณ 400-500 ล้านบาท ฉะนั้นจากเราเริ่มต้นเพียง 200 ล้านบาทก็จะกลายเป็นเกือบ 1,000 ล้านบาท เพื่อนำไปลงทุนในการขยายกิจการอีก 10 กว่าแห่ง" หมอบุญเล่าถึงแผนที่วาดไว้ พร้อมทั้งพยายามจะพิสูจน์ให้เห็นว่า ถ้าเป็นบริษัทที่มี ASSET ดี แต่ EARNING ไม่ดี ซึ่งถ้าสามารถ GENERATE CASH FLOW เข้าไปได้ ธนบุรีก็เข้าไปซื้อแน่ ซึ่งเท่ากับเป็นการเข้าไปทำของที่ไม่มีค่าให้มีค่าขึ้นมา

โรงพยาบาลลานนาเป็นตัวอย่างของหุ้นที่ไม่เน่า และเป็นหุ้นที่หมอบุญมองเห็นช่องทางในการเข้าไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ แต่การเข้าไปซื้อหุ้นโรงพยาบาลลานนาของหมอบุญก็เป็นการเกี่ยวข้องชนิดที่เลี่ยงไม่ได้กับหุ้นเน่าอย่าง VK, BPT และ PA ซึ่งบริษัทเหล่านี้ล้วนมีโครงการสร้างผู้ถือหุ้นที่เกี่ยวพันกันทั้งสิ้น

หลังจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำมากในช่วงปี 2532-2534 ทำให้ตระกูลวสุรัตน์ ผู้ก่อตั้ง VK จำเป็นต้องขายหุ้นให้กับบีพีทีอุตสาหกรรมของกลุ่มพงศธร และกลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จากนั้นในปลายปี' 37 เส้นทางของหมอบุญกับหุ้นเน่าเหล่านี้ก็ได้เริ่มขึ้นจากการเข้าไปถือหุ้นในวิทยาคมร่วมกับ "ภัทรประสิทธิ์" ของวินัย พงศธร เจ้าของ "เฟิร์ส แปซิฟิคแลนด์" หรือ PA ในปัจจุบัน ในสัดส่วนประมาณ 35% และวิทยาคมก็มีหุ้นในแปซิฟิคฯ ประมาณ 20%

วิทยาคมจากเดิมที่มีทีท่าว่าจะไปได้สวย เพราะได้มือดีอย่างหมอบุญที่อยู่ในวงการการแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของวิทยาคมคือ การจำหน่ายเครื่องมือทางการแพทย์รวมถึงการขยายธุรกิจไปในด้านอื่นที่เกี่ยวกับสุขภาพด้วยนั้นเป็นอันล่มสลายลง เมื่อวิทยาคมได้เข้าไปลงทุนในธุรกิจที่ไม่เคยมีความชำนาญมาก่อน คือการเข้าไปลงทุนในบริษัทรีเทล ซินดิเคท ซึ่งดำเนินกิจการห้างสรรพสินค้าแพรงตองส์ ณ ศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์ และต่อมาเมื่อ 6 ธ.ค. 38 ห้างสรรพสินค้าแพรงตองส์ได้ปิดกิจการลง เนื่องจากไม่สามารถบริหารงานต่อไปได้ เป็นผลให้วิทยาคมแบกรับภาระหนี้สินในทันที จากเงินที่นำไปลงทุนจำนวน 71.4 ล้านบาท และเงินที่ให้บริษัทรีเทลกู้อีก 240.3 ล้านบาท รวมถึงการค้ำประกันเงินกู้ 3 รายการแก่บริษัทรีเทลและบริษัทในเครืออีก 2 รายการ รวมทั้งสิ้น 78.33 ล้านบาท หรือรวมทั้งสิ้นประมาณ 400 ล้านบาท

สิ่งที่วิทยาคมได้ในเบื้องต้นก็คือ การพยายามเจรจากับเจ้าหนี้ทั้งหลายทำให้วิทยาคมต้องตัดขายหุ้นในบริษัทต่าง ๆ ที่เข้าไปลงทุนได้แก่ เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ หรือโรงพยาบาลลานนาที่โรงพยาบาลธนบุรีของหมอบุญเป็นผู้รับซื้อเอง จำนวน 2,815,500 หุ้น มูลค่า 75.6 ล้านบาท นอกจากนั้นยังขายหุ้นของบริษัทไทยวีโก้ จำนวน 9,930 หุ้น และบริษัทวิทยาคม เอ็น. ที. จำนวน 20,396 หุ้น ซึ่ง 2 บริษัทหลังนี้ยอมขายขาดทุน และการขาดทุนสะสมของวิทยาคมยังส่งผลกระทบต่อการขาดทุนของแปซิฟิค แอสเซทและบีพีทีด้วย

ปัจจุบันบีพีทีถือหุ้นอยู่ในวิทยาคมประมาณ 20% และวิทยาคมก็คงเหลือหุ้นในแปซิฟิค แอสเซทไม่มากนัก แต่อย่างไรทั้ง 3 บริษัทก็ยังคงมีความโยงใยกันอยู่แม้ว่าหมอบุญจะกล่าวว่า

"ทั้งวิทยาคม บีพีทีและพีเอจะแยกกันฟื้นฟูธุรกิจของตัวเอง จนกว่าต่างคนต่างจะฟื้นแล้วเราจึงค่อยมาพิจารณาใหม่ ตอนนี้ PA คงแย่ไปอีก 2-3 ปี เพราะเป็นธุรกิจเรียลเอสเตทกับโรงแรม แต่ก็ยังพอมีรายได้เข้ามาไม่น่าห่วง สิ่งที่ทำได้ตอนนี้ก็คือพยายามจ่ายดอกเบี้ยไปก่อน การฟื้นฟูธุรกิจอสังหาฯ ตอนนี้ก็ลำบาก พยายามประคองตัวให้ได้ก็แล้วกัน อย่าให้ถูกเขาเอาออก ที่น่าห่วงก็คือบีพีท ีและวิทยาคม ซึ่งการที่บีพีทีใส่ธุรกิจอสังหาฯ เข้าไป ผมมองว่าตอนนี้ไปทำตรงนี้ก็ไม่ถูก แก้ไม่ออก ผมก็ช่วยดู ๆ เขาอยู่"

ภายในสิ้นเดือนนี้ วิทยาคมถึงกำหนดเส้นตายที่จะต้องยื่นแผนฟื้นฟูที่ผ่านการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้วให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ จากมูลค่าหนี้ที่บริษัทมีอยู่เกือบ 1,000 ล้านบาท บงล. นวธนกิจผู้ถูกมอบหมายให้เป็นที่ปรึกษาในการจัดทำแผนฟื้นฟ ูต้องสวมวิญญาณนักเจรจาที่ดีในการไปเจรจากับบรรดาเจ้าหนี้ของวิทยาคมที่มีกว่า 20 ราย ซึ่งก็ไม่ราบรื่นอย่างที่คิด มีเจ้าหนี้ประมาณ 3 รายไม่ยินยอมต่อเงือนไขที่ทางวิทยาคมเสนอให้ จึงทำให้เกิดความล่าช้า และขณะนี้การเจรจาก็ยังคงดำเนินต่อไป

หากการเจรจากับเจ้าหนี้ประสบความสำเร็จแล้ว สิ่งที่วิทยาคมต้องทำเป็นอันดับแรกก็คือเพิ่มทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการชำระหนี้และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการของบริษัท

"เป้าที่เราวางไว้คือ เราจะล้างหนี้ให้หมดภายในปีครึ่ง และล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่ประมาณ 700-800 ล้านบาทให้หมดภายใน 2 ปี หลังจากที่เราเพิ่มทุนเราก็มีเงินทุนที่จะทำธุรกิจต่อไป การจะทำอะไรต้องมีการวางแผนให้ดีและชัดเจน" หมอบุญกล่าว และย้ำว่าการฟื้นฟูวิทยาคม เงินไม่ใช่สิ่งสำคัญมากนัก แต่ธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามาสร้างรายได้ให้กับวิทยาคมต่างหากที่สำคัญ

"เงินนะพอหาได้แต่ธุรกิจที่จะใส่เข้าไปสำคัญกว่า ผมให้ความสำคัญกับตรงนี้มาก คือเงินผมหาที่ไหนก็ได้ แต่ ธุรกิจใหม่คืออะไร เวลาเราเลือกพาร์ตเนอร์ เราต้องดูธุรกิจที่มันมีความก้าวหน้า เพื่อจะสร้างความแข็งแกร่งให้บริษัท"

ปัจจุบันหมอบุญได้มีการทาบทามนักธุรกิจใหญ่ชาวต่างชาติไว้เรียบร้อยแล้ว รอเพียงการอนุมัติจากแผนผู้ถือหุ้นและส่งไปยังตลาดหลักทรัพย์ฯ ทุกอย่างก็จะสามารถดำเนินการและประกาศอย่างเป็นทางการกับสาธารณชนได้

ซึ่งธุรกิจใหม่ที่หมอบุญนำมาสู่วิทยาคมจะสามารถสร้างกำไรได้ภายใน 1-2 ปี และถือเป็นรายได้หลักของบริษัท ในขณะเดียวกันก็ยังคงธุรกิจเดิมของวิทยาคมไว้คือ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ไฮเทค ธุรกิจสาธารณูปโภค ธุรกิจเทรดดิ้ง โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจขายเครื่องมือการแพทย์ที่หมอบุญต้องการให้คงสัดส่วนไว้ที่ 25%

การที่วิทยาคมจดทะเบียนอยู่ในหมวด COMMERCE ถือเป็นความโชคดีอย่างมาก เนื่องจากหมวดนี้สามารถทำธุรกิจได้หลากหลายทั้งเป็นผู้ผลิตเอง หรือเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือแม้กระทั่งไปลงทุนในบริษัทอื่นก็ทำได้ ดังนั้น จึงเป็นการง่ายที่จะเสริมธุรกิจใหม่เข้าไป แต่ที่สำคัญจะต้องไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสียเปรียบ ต่อไปนี้ภารกิจหนักของหมอบุญตงไม่ได้อยู่แค่เพียงการพยายามขยายฐานธุรกิจเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับธุรกิจที่เขาได้เข้าไปครอบครองแล้ว โดยเฉพาะวิทยาคมซึ่งถือเป็นผู้ป่วยหนักขั้นโคม่าที่มีโรคแทรกซ้อน กระทั่งหมอบุญถึงขั้นเอ่ยปากว่า

"ผมยอมรับว่า วิทยาคมเป็นบริษัทที่แย่มาก นี่คือความผิดพลาดที่เราซื้อมา แต่หลังจากที่ซื้อมาแล้วก็ต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ เพราะเราตกกระไดมาแล้ว"

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง" นับประสาอะไรกับหมอที่รักษาคนไข้อยู่ดี ๆ กลับต้องมารักษาหุ้นเน่า ๆ ค่อย ๆ รักษาไปก็แล้วกันคุณหมอ….

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us