Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540
"ก้นกระเป๋าเงินราศรี"             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 

   
related stories

"5 โครงการที่กำลังขาย ไม่ง่ายเลย"
"สายสัมพันธ์ของราศรี"

   
search resources

แชลเล้นจ์ กรุ๊ป
ราศรี บัวเลิศ




ในช่วง 2-3 ปีผ่านมา แชลเล้นจ์ กรุ๊ปต้องใช้เงินก้อนใหญ่เพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยจะมีรายได้ส่วนหนึ่งจากการวางเงินจอง และผ่อนดาวน์ในโครงการต่าง ๆ ที่กำลังขยาย

แต่ตัวบริษัทที่ทำกำไรเห็น ๆ ในขณะนี้ก็มีเพียงบริษัทยิ่งรวยเรียลเอสเตท ซึ่งเข้ามาทำโครงการยิ่งรวยนิเวศน์ตั้งแต่ปี 2535 และขณะนี้บ้านบางส่วนเพิ่งทยอยการโอน โดยตัวเลขเมื่อปี 2538 มีกำไร 13 ล้านบาท

ด้านธุรกิจประเภทอื่น ๆ ที่กลุมแชลเล้นจ์ กรุ๊ป ยอมเปิดเผยให้ปรากฏและน่าที่จะเป็นฐานทางการเงินให้กับราศรีได้นั้น ก็พบว่าส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทขนาดเล็ก และจะประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องมาตลอดแม้แต่บริษัทเจริญเลิศเอ็นเตอร์ไพรส์ซึ่งเป็นบริษัทดั้งเดิมของราศรี ก่อตั้งมาเมื่อปี 2527 มีกำไรเมื่อปี 2529 1 ล้านบาท และหลังจากนั้นก็มีตัวเลขขาดทุนมาตลอด (ดูตารางประกอบ)

ส่วนบริษัทแชลเล้นจ์อินดัสทรีส์ ปี 2538 ขาดทุนประมาณ 6 ล้านบาท บริษัทแชลเล้นจ์ เทคโนโลยี่ ขาดทุนเมื่อปี 2538 ประมาณ 7 แสนบาท

ยอดขาดทุนสะสมของบริษัทที่ไม่เกี่ยวกับเรียลเอสเตทไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท!

ในขณะที่ตัวโรงแรมที่นิวซีแลนด์และโครงการใหญ่บนถนนสีลมนั้น กว่าจะเห็นตัวเลขกำไร ก็ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8 ปี

อย่างไรก็ตามทางแชลเล้นจ์ กรุ๊ปก็มีโครงการที่กำลังสร้างรายได้ทยอยเข้ามาด้วยปีที่ผ่านมาอาจจะยังเห็นตัวเลขไม่ชัดเจน ยิ่งรวยนิเวศน์เองหลังจากที่หยุดขายไปนาน ก็เพิ่งมาเปิดขายใหม่เมื่อปลายปีนี้เอง รายได้หลักจะมาจากโครงการโรยัลปาร์ควิลล์ซึ่งมียอดขายประมาณ 1 พันล้านบาท

ส่วนปี 2540 ตัวโรยัลปาร์ควิลล์ ก็ยังเดินหน้าต่อ โรแยลสายไหมก็กำลังจะเปิดในเดือนมีนาคม นอกเหนือจากโรแยลกรีนพาร์คซึ่งเป็นเฟสใหม่ของยิ่งรวยนิเวศน์

โรยัลเจริญกรุงจะเริ่มโอนปลายปี 2541 เม็ดเงินก้อนใหญ่จะทยอยเข้ามาตอนนั้น ดังนั้นรายได้ทั้งหมดส่วนใหญ่ตอนนี้จะมาจากยอดจองโครงการเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเงินก้อนใหญ่ที่จะมาจากการโอนมีเพียงยิ่งรวยนิเวศน์เพียงแห่งเดียว ในขณะเดียวกันยังต้องใช้เงินจำนวนมากในการพัฒนาโครงการ ดังนั้นเงินส่วนใหญ่ในการทำธุรกิจของราศรีก็เป็นเงินกู้

แหล่งข่าวในแชลลเล้นจ์กรุ๊ปเล่าให้ "ผู้จัดการรายเดือน" ฟังว่า ราศรีมีสายสัมพันธ์ที่ดีมากกับธนาคารกรุงไทยที่ปล่อยเงินกู้ให้ตลอด ส่วนในการลงทุนที่นิวซีแลนด์นั้น ก็จะมีธนาคารท้องถิ่นของนิวซีแลนด์เป็นผู้สนับสนุนโครงการ

ในขณะที่มีภาระเงินกู้เต็มมือ แต่ทำไมราศรีจึงกล้าที่จะวางแผนเข้าไปสู่ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจโทรคมนาคม การวางแผนที่จะเข้าไปทำโรงแรมในต่างประเทศอีก 4-5 แห่ง รวมทั้งศึกษาที่จะเทกโอเวอร์โครงการอสังหาริมทรัพย์บางโครงการ

เธอน่าจะมีแหล่งเงินที่ดีกว่านี้ จริง ๆ!?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us