|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผมได้กล่าวถึงหลักการขอกู้เงินกับสถาบันการเงินมาพอสมควร เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ว่ากิจการธุรกิจประเภทใด เมื่อมีเงินทุนไม่เพียงพอในการดำเนินกิจการหรือการขยายการลงทุน ย่อมต้องการพึ่งพิงแหล่งเงินทุนซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ
โดยเฉพาะ ธนาคาร เพราะการกู้เงินจากธนาคารดอกเบี้ยเงินกู้จะต่ำกว่าดอกเบี้ยจากผู้ให้กู้ที่มิใช่ธนาคาร และผมได้สรุปวิธีการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการในการขอกู้เงินเพื่อประสบความสำเร็จมาฝากครับ
ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดคิดว่า เมื่อตนมีหลักทรัพย์เป็นโฉนดมูลค่าสูงนับร้อยล้านบาทจะขอกู้เงินจากธนาคารเพียงสิบล้านบาท โดยใช้โฉนดที่ดินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันน่าจะได้รับการอนุมัติแน่นอน แต่ในข้อเท็จจริงธนาคารจะพิจารณาการอนุมัติเงินกู้โดยใช้เกณฑ์วิเคราะห์ และประเมินผลผู้ประกอบการดังนี้
* ผู้กู้จะนำเงินกู้ไปใช้ทำอะไรตามวัตถุประสงค์ที่ขอกู้หรือไม่
* ผู้กู้มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ในธุรกิจที่จะทำเพียงใด
* ผู้กู้มีการวางแผนธุรกิจไว้ล่วงหน้าหรือไม่
* ประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจ ควบคู่กับการพิจารณาความเสี่ยง
* ลดทอนความเสี่ยงด้วยหลักประกันที่สำคัญคือ ความสามารถในการทำรายได้ กำไร จ่ายคืนชำระหนี้อัตราดอกเบี้ยเงินต้นได้
หลักเกณฑ์ที่ธนาคารใช้พิจารณาสินเชื่อจึงมีความแตกต่างจากโรงรับจำนำที่พิจารณา ราคาประเมิน สังหาริมทรัพย์เพื่อกำหนดราคารับจำนำ โดยมั่นใจว่ากรณีผู้จำนำไม่ไถ่คืนทรัพย์ที่จำนำไว้ ตามระยะเวลาที่กำหนด โรงรับจำนำก็จะขายทรัพย์นั้นเป็นของหลุดจำนำได้ใช้ราคาไม่ต่ำกว่าราคาที่รับจำนำ ในความเป็นจริงโรงรับจำนำจะมีกำไรจากการขายของหลุดจำนำ
ผู้ประกอบการอีกจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่มีคำถามว่า เมื่อตนต้องการเงินทุนเร็วขึ้นเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ ทำอย่างไรจึงจะกู้เงินจากธนาคารได้ ผมอยากเรียนท่านผู้ประกอบการว่า คำถามแรกที่ท่านพึงเตรียมตอบ คือ ธุรกิจที่จะทำให้มีความเป็นไปได้หรือไม่เพียงใดโดยผ่านการเตรียมและนำเสนอแผนธุรกิจให้กับธนาคาร และท่านพร้อมที่จะให้ผู้บริหารสินเชื่อของธนาคารเข้าเยี่ยมกิจการ โรงงานสำนักงาน ตอบข้อซักถามเพื่อให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจที่คิดไว้หรือไม่อย่างไร
ถ้าท่านมีความตั้งใจ เชื่อมั่นและมั่นใจที่จะเปิดเผยข้อมูลด้วยความโปร่งใส และเตรียมเอกสารที่จะใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอกู้ทุกอย่างมาแสดง ผมก็มั่นใจว่าโอกาสที่ท่านจะได้รับการพิจารณาเงินกู้ประสบความสำเร็จได้ไม่ยากนักครับ
ผู้ประกอบการที่กำลังวางแผนที่จะขอกู้เงินจากธนาคารควรตระหนักไว้เสมอว่าหัวใจสำคัญในการขอกู้เงิน คือ การเตรียมตัวของผู้ประกอบการและการสร้างความสัมพันธ์กับธนาคารให้เขารู้เรา ซึ่งผมมีเคล็ดลับการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับธนาคารมาฝากครับ
การสร้างความสัมพันธ์กับธนาคาร
1. ท่านมีคนที่รู้จักในธนาคารหรือไม่
2. แสดงให้ธนาคารรู้เราด้วยความสามารถ
3. จังหวะและเวลาที่ควรติดต่อ
4. ประวัติเครดิตติดต่อทางการค้า การเงินดี
5. ให้ข้อมูลที่จริงใจ เชื่อถือได้ และเพียงพอ
6. แผนธุรกิจที่นำเสนอเป็นไปได้ในภาคปฎิบัติ และอนุรักษ์นิยม
7. มีแผนการชำระหนี้ วัตถุประสงค์ที่ใช้เงินและแหล่งที่มาของเงิน
8. ก่อนเป็นหนี้ ให้ธนาคารเป็นหนี้ (ใจ) ก่อน
9. เตรียมพร้อมหลักประกัน เพื่อแสดงถึงการลดทอนความเสี่ยงที่เหมาะสม
10. แจ้งเงื่อนไข ข้อจำกัดปัญหา (ถ้ามี) ก่อน
ข้อคิด การสร้างความสัมพันธ์เป็นการเปิดประตู (ใจ) สร้างมิตรภาพ นำไปสู่ผลสำ
|
|
|
|
|