|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เปิดผลตอบแทนย้อนหลังกองทุนตราสารหนี้-ตราสารเงิน ค่าย "เอเจเอฟ" ณ 30 พ.ย. ย้อนหลัง 3 เดือน เฉือนดอกเบี้ยเงินฝาก-เกณฑ์มาตรฐานเปรียบเทียบ ขณะที่บลจ.ทิสโก้เดินหน้าปรับพอร์ตการลงทุนตราสารหนี้ รับแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยาเจเอฟ จำกัด (AJF) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุน ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารเงิน และตราสารหนี้ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 พบว่า กองทุน ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของเอเจเอฟทั้ง 3 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนเปิดอยุธยาตราสารเงิน กองทุนเปิดอยุธยาตราสารปันผล และกองทุนเปิดอยุธยาตราสารเพิ่มทรัพย์ ผลตอบแทนย้อนหลังให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเกณฑ์มาตรฐาน
โดยกองทุนอยุธยาตราสารเงิน ณ วันที่ 30 พ.ย. มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 2,226.22 ล้านบาท ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ที่ 2.22% ย้อนหลัง 6 เดือน 2.16% ตั้งแต่ต้นปี 2.00% กองทุนเปิดอยุธยาตราสารปันผล มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1,077.13 ล้านบาท ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน 3.32% ย้อนหลัง 6 เดือน 0.30% ตั้งแต่ต้นปีให้ผลตอบแทน 0.84%
ส่วนกองทุนอยุธยาตราสารเพิ่มทรัพย์ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 474.56 ล้านบาท ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ที่ 3.33% ย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ -1.50% ตั้งแต่ต้นปีผลตอบแทน 0.12%
สำหรับผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี สำหรับ 3 กองทุนให้ผลตอบแทนดังนี้คือ กองทุนเปิดอยุธยาตราสารเงิน ย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 1.96% กองทุนเปิดตราสารปันผล 0.89% และกองทุนเปิดอยุธยาตราสารเพิ่มทรัพย์ ย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 0.23%
ขณะที่รายงานข่าวจากบลจ.ทิสโก้ ระบุว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 ตลาดตราสารหนี้ไทยได้เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ลดลงอย่างชัดเจน โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงถึง 5.6% มาอยู่ที่ 146.79 จุด จากระดับ 155.53 จุด ณ สิ้นไตรมาส ที่ 2 โดยมีพันธบัตรกลุ่มอายุ 10 ปีขึ้นไป เป็น กลุ่มที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดถึง 10.5% ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลกลุ่มอายุ 7-10 ปี, 3-7 ปี และ 1-3 ปี ก็ปรับตัวลดลงเช่นกันที่ 6.9,4.4 และ 1.3 ตามลำดับ
ทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมได้ทยอยปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแนวโน้มการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตรา ดอกเบี้ยทั้งภายในและต่างประเทศ โดยทางธนาคารกลางสหรัฐฯได้ปรับอัตราดอกเบี้ย Fed Fund ขึ้น 0.50% สำหรับการประชุมสองครั้งในไตรมาสนี้ ส่วนคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรประเภท 14 วัน ถึง 0.75% สำหรับการประชุมสองครั้งในไตรมาสนี้ ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ 0.25%
นอกจากนี้ การประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝาก และเงินกู้อย่างต่อเนื่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ โดยเฉลี่ยที่อัตรา 0.25-0.50% การประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของเดือนสิงหาคม ซึ่งสูงถึง 5.6% และการที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขขาดดุลการค้าของเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) ซึ่งกลับมาเกินดุลอีกครั้ง 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศก็มีส่วนช่วยผลักดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับสูงขึ้นน้อยกว่าพันธบัตรรัฐบาลกลุ่มช่วงอายุอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกันสาเหตุหลักมาจากความต้องการพักเงินในตราสารอายุสั้นๆ ที่มีสูงขึ้น จากนักลงทุนส่วนใหญ่ที่เริ่มวิตกกังวลกับทิศทางขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจนมากขึ้น
นอกจากนี้ จากการที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนต่างๆ แข่งขันกันออกกองทุนรวมระยะสั้นที่เน้นลงทุนในพันธบัตรออกมาเป็นจำนวนมาก ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลช่วงอายุสั้น ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างน้อย
สำหรับแนวโน้มในช่วงไตรมาส 4 คาดว่าตลาดตราสารหนี้โดยรวมจะยังคงทยอยปรับตัวลดลงต่อไปจากแรงกดดันของทิศทางของอัตราดอกเบี้ยทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นไปอีกเป็นระยะๆ จนถึงสิ้นปี อย่างไรก็ดี การประกาศตารางการประมูลพันธบัตรในตลาดแรกสำหรับไตรมาสที่ 4 และทิศทางของราคาน้ำมันคงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนกำหนดทิศทางของตลาดตราสารหนี้ในไตรมาสที่ 4 ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะราคาน้ำมันเนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงกับการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อ
รายงานข่าวจากบลจ.ทิสโก้ กล่าวว่า บริษัทได้วางแผนการลงทุนในไตรมาสที่ 4 โดยเน้นลงทุนในตราสารระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนเพื่อลดความเสี่ยงจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นรวมถึงทยอยปรับพอร์ตการลงทุนให้มีอัตรา ผลตอบแทนสูงขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของ ธปท. และหาโอกาสลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวมากขึ้น เมื่อระดับผลตอบแทนปรับขึ้นมาในระดับที่น่าพอใจ
|
|
 |
|
|