|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ในรอบปีที่ผ่านมาบริการขนส่งทางอากาศเป็นธุรกิจที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะประเทศไทยมียักษ์ใหญ่สองค่ายประกาศช่วงชิงความเป็นผู้นำถึงแม้ว่าดีเอชแอลจะเข้ามาทำตลาดแถบเอเชียก่อนใครเพื่อนก็ตาม ขณะที่เฟดเอ็กซ์ เอ๊กซ์เพรส(FedEx)เริ่มเปิดเกมรุกใช้กลยุทธ์ขยายฐานเพิ่มศูนย์บริการไปยังหัวเมืองต่างๆทั่วประเทศ
และการแข่งขันที่ดุดันโดยใช้ศักยภาพความพร้อมที่มีอยู่สูงของสองค่ายนี้ฟาดฟันกัน....ส่งผลทำให้คู่แข่งขันอย่าง ทีเอ็นที ถึงกับเลือดเข้าตาชนิดที่ต้องกัดฟันสู้เพื่อให้ตัวเองสามารถอยู่รอดพอที่จะยืนอยู่ในสังเวียนธุรกิจขนส่งด่วนทางอากาศต่อไปได้
ขนส่งด่วนทางอากาศจึงเป็นงานบริการที่ต้องใช้เวลาในการขนส่งที่เร็วที่สุดเป็นเครื่องการันตีในการสร้างจุดขายให้กับตัวเองเพียงเพื่อหวังให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาใช้บริการให้มากที่สุด ในขณะที่การขนส่งด่วนทางบกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามไปและนั่นคือเป้าหมายที่กลุ่ม ทีเอ็นที กำลังเริ่มสานต่อ
ความพยายามของ ‘ทีเอ็นที’ในการเปิดตัวเครือข่ายถนนเพื่อการขนส่งสายแรกของเอเชียขึ้นมานับว่าเป็นเครือข่ายถนนเพื่อการขนส่งในทวีปเอเชียสายแรก และสายเดียวที่สามารถกำหนดเวลาการขนส่งที่แน่นอนได้ผลที่ตามมาก็คือการเชื่อมต่อเส้นทางได้มากกว่า 120 เมือง ทั้งไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ พร้อมทั้งในอนาคตจะขยายเส้นทางไปจนถึงประเทศกัมพูชา ,เวียดนาม และจีน
“ทีเอ็นที ลงทุนมากกว่า 97 ล้านบาท (2 ล้านยูโร) ในการสร้างเครือข่ายถนนเพื่อการขนส่ง ส่วนในอนาคตทางทีเอ็นทีจะลงทุนอีก 500 ล้านบาทในการสร้างเครือข่ายเชื่อมต่อระหว่างประเทศกัมพูชา เวียดนาม และจีนด้วย เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้าที่เริ่มหันมานิยมบริการขนส่งทางบกมากขึ้นด้วย โดยเครือข่ายนี้จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น” มร. ไมเคิล เดรค กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวถึงแผนการลงทุนในอนาคต
เครือข่ายถนนเพื่อการขนส่งในทวีปเอเชียของทีเอ็นทีครั้งนี้ จะให้บริการครอบคลุมคนได้ถึง 174 ล้านคน รวมไปถึงการสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยเมื่อใช้บริการของทีเอ็นที ด้วยการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงานขับรถ และติดตั้งอุปกรณ์ติดตามตำแหน่ง (GPS) ในรถบรรทุกด้วย นอกจากนี้ยังการันตีบริการนี้ด้วยสามารถขนส่งสินค้าได้จุดหมายปลายทางได้ไม่เกิน 3 วัน ซึ่งการการันตีในลักษณะนี้ทางบริษัทเฟดเอ๊กซ์ เอ๊กซ์เพรส ได้การันตีมาตั้งแต่ปี 2526 แล้ว
จากผลสถิติของผู้บริโภคในแถบทวีปเอเชียที่ใช้บริการลอจิสติกส์นี้ โดยเฉพาะประเภทการขนส่งทางบก หรือโดยรถนั้นยังมีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับรูปแบบการใช้บริการอื่น ๆ คือ 22% เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอื่นๆ อย่าง ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ลูกค้านิยมใช้การขนส่งโดยรถมากถึง 78% ในขณะที่กลุ่มประเทศยุโรปมีสัดส่วนการขนส่งทางบกมากถึง 79 %
ด้วยสัดส่วนของการขนส่งทางบกที่น้อยอยู่นั้น ทำให้ทางทีเอ็นที เห็นโอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาเปิดตลาดนี้ให้มีศักยภาพและขยายตัวให้มากเหมือนในกลุ่มประเทศยุโรป และสหรัฐอเมริกา ด้วยการชูให้ลูกค้าเห็นประโยชน์ที่เหนือกว่าของการขนส่งทางบก ทั้งในเรื่องความคุ้มค่าในเรื่องของราคาการขนส่งที่ถูกกว่าการขนส่งทางอากาศ และมีความรวดเร็วกว่าขนส่งทางทะเลถึง 2 เท่า
นอกจากความต้องการสร้างตลาดการขนส่งทางบกให้โตขึ้นแล้ว ยังถือเป็นการเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดการขนส่งทางอากาศจากเฟดเอ๊กซ์ เอ๊กซ์เพรส และดีเอชแอล เอ๊กซเพรสอีกด้วย เพราะยักษ์ใหญ่ทั้ง 2 ค่ายนี้ต่างมีเครื่องบินขนส่งเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส มีสายการบิน ถึง 4 สายการบิน ได้แก่ ยูโรเปี้ยแอร์ ซึ่งจะประจำอยู่ที่บรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม โดยจะดูแลเครือข่ายฝั่งยุโรปทั้งหมด รวมไปถึงแอฟริกาและตะวันออกกลาง ในขณะที่ยูเค แอร์จะประจำที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้เครื่องบินขนส่งโบอิ้ง 757SF ถัดมากคือ มิดเดิ้ลอีส แอร์ไลน์ จะประจำอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติบาเรนห์ ที่จะให้บริการครอบคลุมทั้งตะวันออกกลาง และสายการบินสุดท้ายคือ ละตินอเมริกาแอร์ไลน์ อยู่ที่เมืองปานามา จะให้บริการครอบคลุมทั้งอเมริกาใต้และอเมริกากลางด้วยเครื่อบินโบอิ้ง 727 มาช่วยเสริมศักยภาพในการขนส่งทางอากาศ
ส่วนบริษัท เฟดเอ๊กซ์ เอ๊กซเพรส เองก็มีเครื่องบินเป็นของตนเองเพื่อให้บริการในการขนส่งพัสดุด้วย รวมไปถึงการปั้นสนามบินของฟิลิปปินส์ สนามบินของประเทศจีน และสนามบินสุวรรณภูมิของไทยให้เป็นฮับในการขนส่งสินค้าทางอากาศอีกด้วย การเดินหมากทาง
ธุรกิจลอจิสติกส์ของ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ที่หันมาเน้นการเปิดตลาดการขนส่งทางอากาศมากขึ้น ทำให้ทีเอ็นทีต้องเลี่ยงเข้าไปแข่งในตลาดนี้ เพราะการลงทุนในตลาดขนส่งทางอากาศมีต้นทุนสูง ทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายของยานพาหนะ การประกันภัย ฯลฯ อีกทั้งการสัประยุทธ์ของทั้ง 2 ยักษ์ใหญ่ก็รุนแรงมาก ดังนั้น การที่ทีเอ็นทีหันไปเปิดตลาดบนบกแทน ย่อมทำให้ลดการแข่งขันกับเจ้าตลาดได้ อีกทั้งถือเป็นการสร้างความแข็งแกร่งทางด้านการขนส่งทางบกด้วยให้แก่ตัวเองด้วย เพราะทีเอ็นทีได้ชื่อว่ามีเครือข่ายที่การขนส่งทางบกที่แข็งแกร่งมากในทวีปยุโรป และแถบตะวันออกกลางด้วย
ดังนั้นหากทางทีเอ็นทีสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้เกิดขึ้นกับ ‘เครือข่ายถนนเพื่อการขนส่งในทวีปเอเชีย’ ได้แล้ว ผนวกกับอีก 2 เครือข่ายในทวีปยุโรป และตะวันออกกลางจะทำให้ทีเอ็นทีขึ้นเป็นผู้นำในการขนส่งทางบก เพราะทุกเครือข่ายจะถูกเชื่อมโยงถึงกันหมดกลายเป็นเจ้าตลาดบนดินอย่างแท้จริง
สัดส่วนของรูแบบการขนส่ง แบ่งตามทวีปประเทศสหรัฐอเมริกา
* ทางบก 78%
* ทางทะเล 20%
* ทางอากาศ 2%
ทวีปยุโรป
* ทางบก 79%
* ทางทะเล 20%
* ทางอากาศ 1%
ทวีปเอเชีย
* ทางบก 22%
* ทางทะเล 77%
* ทางอากาศ 1%
ที่มา : สำนักงานสถิติการขนส่งสหรัฐอเมริกา DECD,US Bureau of Transportation Statistic & EU
|
|
 |
|
|