Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540
"เหตุเกิดที่คลื่น FM 95"             
 


   
search resources

องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (MCOT)
อรสา คุณวัฒน์
Radio




ดูเหมือนว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนหน้าปัดวิทยุดูจะเป็นเรื่องปกติไปแล้วสำหรับสื่อวิทยุในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นการล้มหายตายจากของคลื่นข่าว 24 ชั่วโมงที่มีเหลืออยู่ไม่กี่คลื่น และกลายมาเป็นคลื่นลูกผสมที่มีเพลงฝรั่งและข่าว หรือแม้แต่หน้าเก่าในวงการวิทยุถูกแทนที่ด้วยหน้าใหม่นอกวงการแต่เงินหนา

ปรากฏการณ์ที่ว่านี้ยังรวมไปถึงคลื่นคลาสสิก 95 FM ขององค์การสื่อสารมวลชนฯ (อ.ส.ม.ท.) ที่คุ้นหูคอเพลงคลาสสิกมาเป็นเวลานานสิบกว่าปี ก็ต้องถูกเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่กลายเป็นคลื่นลูกผสมตามแบบฉบับนิยม ผสมผสานระหว่างเพลงคลาสสิก เพลงสากล-ไทย และข่าว

เดิมที อ.ส.ม.ท. ต้องการอนุรักษ์คลื่นนี้ไว้เป็นคลื่นเพลงคลาสสิก 24 ชั่วโมง เพราะคลื่นเพลงส่วนใหญ่จะไม่มีแนวเพลงในลักษณะนี้เลย ส่วนใหญ่หากไม่เป็นเลงไทยวัยรุ่นที่เหมือนกันแทบทุกช่องก็เป็นเพลงสากล จะหาแนวเพลงคลาสสิกแบบดั้งเดิม เช่น โมสาร์ท บีโธเฟ่น ฯลฯ แทบไม่มีเลย แต่ในที่สุดเจตนารมณ์ของ อ.ส.ม.ท. ก็ต้องสิ้นสุดลงตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคลื่นวิทยุ

อย่างที่รู้ๆ ว่ากลุ่มคนฟังที่นี่ชื่นชอบเพลงคลาสสิกมีอยู่ในวงจำกัด เมื่อคนฟังน้อยโฆษณาก็หาลำบาก แม้ว่า อ.ส.ม.ท. จะมอบหมายให้เอกชนรับเหมาไปทำการตลาดและโฆษณาให้ก็ตาม แต่ใช่ว่าจะหาโฆษณาได้มากขึ้นตลอดเวลาที่ผ่านมา อ.ส.ม.ท. จึงไม่สามารถหวังรายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยจากคลื่น 95 นี้ได้เลย เพียงแต่ประคับประคองให้พออยู่ได้เท่านั้น

เหตุผลที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ อย่างที่รู้ว่าคลื่นวิทยุ FM นั้นมีจำกัดอยู่แค่ 40 กว่าคลื่น แต่ความต้องการของผู้ประกอบการมีมากกว่านั้น ดังจะเห็นได้จากอัตราค่าเช่าเวลาจากไม่กี่แสนบาทถูกปั่นขึ้นไปถึง 15-25 ล้านบาทต่อสถานีในปัจจุบัน ตกเฉลี่ยชั่วโมงละ 4-5 แสนบาทซึ่งสามารถสะท้อนภาพของธุรกิจวิทยุในเวลานี้ได้เป็นอย่างดี

สำหรับ อ.ส.ม.ท.นั้นคลื่นวิทยุที่อยู่ภายใต้การครอบครองมีทั้งหมด 6 คลื่นซึ่งได้ให้เอกชนเหมาเวลาไปดำเนินการ 4 คลื่นและกว่าจะหมดสัญญาก็ปลายปี 2541 ส่วนที่เหลืออีก 2 คลื่น คือ คลื่น 100.5 ซึ่งเป็นคลื่นข่าวที่ อ.ส.ม.ท.เป็นผู้ดำเนินการเอง จะมีก็แต่คลื่น 95 เท่านั้น อ.ส.ม.ท. จัดรายการเองแต่ให้เอกชนขายโฆษณาให้ ซึ่งสัญญาที่ทำไว้กับสยามทีวีแอนด์ คอมมิวนิเคชั่นได้หมดลงในเดือนกุมภาพันธ์

ด้วยเหตุนี้คลื่น 95 จึงหนีไม่พ้นที่จะต้องนำมาปฏิวัติเสียใหม่ ด้วยการเปิดทางให้เอกชนเข้ามาเช่าเวลาไปดำเนินรายการเพื่อแลกกับประโยชน์ตอบแทนจำนวนมากขึ้น แต่มีเงื่อนไขว่า อ.ส.ม.ท. จะต้องเป็นผู้กำหนดผังรายการ ซึ่งกำหนดให้มีเพลงคลาสสิกเหลืออยู่ 8 ชั่วโมง

"เป็นวิธีการใหม่ของการให้เอกชนมาเช่าเวลา คือ อ.ส.ม.ท จะเป็นผู้กำหนดรูปแบบรายการ ไม่ได้ให้เอกชนเหมาเวลาและนำไปจัดรายการเองเช่นที่ผ่านมา" อรสา คุณวัฒน์ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. เปิดเผย

แน่นอนว่า ในภาวะที่คลื่นวิทยุกลายเป็นสมรภูมิที่ร้อนแรง เอกชนที่ยื่นข้อเสนอเข้ามาจึงมีนับสิบรายทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ แต่ที่เหลืออยู่ในข่ายการตัดสินใจขั้นสุดท้ายมีเพียง 3-4 ราย คือ สยามเรดิโอ, มีเดียพลัส, ทราฟฟิกคอร์นเนอร์

ปรากฎว่า บริษัท ทราฟฟิกคอนเนอร์ ม้ามืดกลับคว้าคลื่นไปครอง แลกกับเงินที่ต้องจ่ายให้กับ อ.ส.ม.ท. จำนวน 2.5 ล้านบาทสำหรับเริ่ม และจะต้องจัดหาเทปซีดีที่มีคุณภาพให้กับ อ.ส.ม.ท.ในวงเงิน 1 ล้านบาท รวม 3.5 ล้านบาท และทุกเดือนจะต้องจ่ายอีก 1.9 ล้านบาท และจะต้องเพิ่มอีก 10% ตลอด 3 ปี

รูปแบบรายการที่บริษัททราฟฟิกคอร์นเนอร์เสนอจะเป็นลักษณะของคลื่นเพลงแบบลูกผสม คือมีเพลงสากลและไทยเบา ๆ ผสมกับข่าวสารในช่วงเช้า และเพลงคลาสสิก 8 ชั่วโมง

"คนฟังก็จะได้ฟังเพลงคลาสสิก และมีเพลงเบา ๆ ขณะเดียวกันก็มีข่าวไปด้วย วิธีนี้เราเชื่อว่าได้ทั้งคุณภาพรายการและได้ทั้งเงินและกล่องไม่ใช่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง" อรสา ชี้แจงถึงสาเหตุที่เลือก

ด้วยเหตุนี้ทราฟฟิกคอร์เนอร์จึงกลายเป็นหน้าใหม่บนหน้าปัดวิทยุอีกรายที่เข้ามาสู่กระแสเชี่ยวกรากของการแข่งขันธุรกิจ

จะว่าไปแล้วทราฟฟิกคอร์นเนอร์นี้ไม่ใช่หน้าใหม่ในแวดวง "สื่อ" และสำหรับช่อง 9 เลย เพราะทราฟฟิกคอร์นเนอร์นั้นก็เติบโตมาจากการเป็น "มีเดีย เอเจนซี" คลุกคลีกับแวดวงสื่อโฆษณามาหลายปีแล้ว โดยเป็นทั้งผู้จัดและถ่ายทอดรายการโทรทัศน์จากในและต่างประเทศ เช่น การแข่งขันอเมริกันฟุตบอล เปิดโลกมังกร และโลกการ์ตูน ตลอดจนการ์ตูนอุลต้าแมนเอ ทางช่อง 9 ฟุตบอลอิตาลีทางช่อง 9 ซึ่งเวลาที่ได้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นของช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

นอกจากนี้ยังมีการร่วมทุนกับบริษัทเทโร เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จัดตั้งบริษัทเทโรทราฟฟิกคอร์นเนอร์ ถ่ายทอดสดกีฬา และรายการบันเทิง รวมทั้งเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และวิทยุ ในนามบริษัทพับลิก บรอดคาสติ้ง เช่น รายการโลกการ์ตูน

ลึกลงไปกว่านั้นในช่วงปลายปีที่แล้ว ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ยังได้สหมงคลฟิล์ม ของสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ เจ้าของฉายา"เสี่ยเจียง" คนดังของแวดวงธุรกิจบันเทิงเข้ามาถือหุ้นจำนวน 30%

การได้คลื่น FM 95 มาไว้ในมือ จึงเป็นการต่อ "จิ๊กซอว์" ทางธุรกิจของทั้งทราฟฟิกคอร์นเนอร์ และเสี่ยเจียง

สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย กรรมการผู้จัดการ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งทราฟฟิกคอร์นเนอร์ กล่าวว่า หลังจากเข้าสู่สื่อทีวีได้แล้วก็ถึงเวลาที่ต้องมองหาสื่ออื่น ๆ เพื่อให้ครบวงจรมากที่สุด ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบธุรกิจวิทยุในเวลานี้จะต้องเป็นผู้ที่มีสื่ออื่น ๆ อยู่เพื่อเสริมซึ่งกันและกัน เพราะการทำธุรกิจวิทยุแต่เพียงอย่างเดียวไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป

เช่นเดียวกับ "เสี่ยเจียง" ซึ่งผ่านร้อนผ่านหนาวกับธุรกิจบันเทิงมานาน และก็มาถึงคราวที่เสียเจียงจะต้อง "บุก" อีกครั้ง เมื่อธุรกิจบันเทิงไม่สามารถอยู่ลำพังได้อีกต่อไป ปัจจุบันสหมงคลฟิล์มไม่ได้มีเพียงแต่โรงภาพยนตร์ หรือเป็นผู้ซื้อลิขสิทธ์หนังจากต่างประเทศ และผลิตภาพยนต์ไทยเท่านั้น

ไม่เพียงแค่ซื้อหุ้นในไรท์พิกเจอร์ทำธุรกิจให้เช่า วีดีโอ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจนำเข้าหนังให้มากที่สุด หรือ แม้แต่การร่วมหุ้นกับกลุ่มยูคอม โกลเด้น ฮาเวสท์ กลุ่มเซ็นทรัลและออนป้าในการทำโรงหนังมัลติเพล็กซ์ แต่เสี่ยเจียงยังมองไปถึงสื่ออื่น ๆ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจหนังของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหุ้นในทราฟฟิกคอร์นเนอร์ ที่มีเป้าหมายในการเข้าสู่ธุรกิจทีวีและขยับขยายมายังธุรกิจทีวี และขยับมายังธุรกิจวิทยุในคลื่น 95

"แกนใหญ่ของเราก็คือ โรงหนังกับภาพยนต์ หลังจากนั้นจะเข้าไปในทีวี คือเมื่อเราทำหนังก็ต้องมีทีวีเพื่อประโยชน์ในเรื่องของโฆษณาและเมื่อเราจะทำค่ายเทปเพลงเราก็ต้องมีวิทยุไว้รองรับ" สมศักดิ์ หรือเสี่ยเจียงชี้แจง

โกลด์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คือค่ายเทปเพลงในสังกัดสหมงคลฟิล์ม ที่จะเริ่มเดินเครื่องเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีแนวเพลงเดียวกับแกรมมี่ และอาร์เอสเท่านั้น และแน่นอนว่าค่ายเพลงกับคลื่นวิทยุย่อมหนีกันไม่พ้น

คลื่น FM95 จึงเป็นจุดรวมของการเปลี่ยนแปลงและพลิกผันของทั้ง อ.ส.ท.ม. และเอกชนอย่างแท้จริง!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us