ตอน ที่แล้วผมได้แนะนำเกี่ยวกับกล้องถ่ายวิดีโออย่างกว้างๆ โดยเน้น ที่ชนิดของระบบบันทึกเทป และรูปลักษณ์ของตัวกล้องชนิดต่างๆ
มาฉบับนี้ ผมจะกล่าวถึงการเลือกซื้อกล้องถ่ายวิดีโอสักกล้องหนึ่ง เพื่อให้การเสียสตางค์ของท่านมีความสมบูรณ์เท่า ที่เป็นไปได้
เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นเจ้าแห่งผู้รังสรรค์ผลงานวิดีโอประจำบ้านหรือประจำสำนักงานของท่านเอง
หรือจะ พัฒนาเป็นนักสร้างผลงานระดับโลกก็แล้วแต่
ข้อพิจารณาอย่างกว้างๆ เพื่อ ที่จะเลือกซื้อกล้องถ่ายวิดีโอคือ ถ้าท่านเป็นผู้ที่ไม่ต้องการสิ้นเปลืองทรัพย์มาก
หรือยังไม่ต้องการที่จะทุ่มเทแรงกาย และใจให้กิจกรรมนี้ตั้งแต่ต้น หรือยังไม่มีเหตุผลสนับสนุน
มากกว่าการลองเล่นดู ท่านอาจเลือกซื้อกล้องระบบ 8 mm หรือ Compact VHS ซึ่งมีราคาถูกทั้งค่ากล้อง
และค่าเทป กล้องรุ่นประหยัดราคาหมื่นต้นๆ ถึงสองหมื่นบาท และราคาเทปความยาว
60 นาที ประมาณม้วนละ 200 บาท แต่ถ้าท่านใช้กล้อง Leica หรือ Hasselblad
ถ่ายภาพเล่นอยู่แล้ว หรือท่าน เป็นผู้มีนิสัยจริงจัง (ดังมืออาชีพ) และสนุกกับการทุ่มเทในงานอดิเรก
หรือ ท่านมีไอเดียโลดแล่น ที่จะนำกล้องถ่าย วิดีโอมาประยุกต์ใช้งานอย่างจริงจัง
ผมขอแนะนำให้ท่านกระโจนเข้าสู่วงการดิจิตอลวิดีโอ ในทันที ส่วนระบบ Hi 8
หรือ Super VHS (Compact) นั้น ไม่น่าสนใจเพราะมีราคาใกล้เคียงกับระบบดิจิตอล
ในขณะที่ คุณสมบัติ และคุณภาพของภาพด้อยกว่าจะคุ้ม
มาดู ที่ตัวกล้อง กล้องวิดีโอมีหลายยี่ห้อหลายขนาดหลายดีไซน์ ถ้าท่านรักความสะดวกสบายเป็นที่สุด
ผมขอแนะนำกล้องระบบ Mini DV ขนาดเล็ก ซึ่งดีไซน์ออกมารูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยม
มีขนาดใหญ่กว่ากล่องนม UHT เล็กน้อยเหมาะอย่างยิ่งในการพกพา เพื่อเดินทาง
นอกจากนั้น แล้วยังมีกล้องวิดีโออีกสองดีไซน์ คือ กล้องชนิดถือถ่ายได้ด้วยมือเดียว ที่มีช่องมองภาพ
(Viewfinder) ซึ่งเวลาถ่ายต้องเอาตาไปส่องดูกล้องแบบนี้เป็นรูปลักษณ์ส่วนใหญ่ของกล้องถ่ายวิดีโอ
ซึ่งผลิตมาตั้งแต่ระบบ 8 mm หรือ VHS-C เป็นการดีไซน์ในลักษณะคล้ายกับกล้องถ่ายภาพยนตร์
8 mm (ม.ม. หรือ มิลลิเมตร) อีกรูปลักษณ์หนึ่ง ซึ่งผู้บุกเบิกคือ บริษัท ชาร์ป
แห่งประเทศญี่ปุ่น ในนามว่า View Cam คือ เป็นกล้อง ที่มีรูปร่างเหมือน กล่องข้าว
(ใหญ่กว่ากล่องนม) ที่มีจอภาพขนาดใหญ่ (ประ มาณ 4 ถึง 5 นิ้ว) และไม่มีช่องมองภาพ
เวลาถ่ายภาพจะดู ที่จอภาพ และเมื่อถ่ายเสร็จก็ สามารถดูได้ทันทีเหมือนดูทีวีขนาดเล็ก
ไอเดียนี้เป็นที่ถูกใจของ ผู้ใช้เพราะการถ่ายวิดีโอด้วยวิธีนี้จะสะดวกกว่าการถ่าย ที่ต้องเอาตาไปส่องผ่านช่องมองภาพในหลายกรณี
ปัจจุบันกล้องวิดีโอรุ่นกล่องนม และแบบถือถ่ายหลายรุ่น จะมีจอภาพสีขนาดเล็กแถมมาให้ ซึ่งสามารถกางออก เพื่อดูหรือพับเก็บได้
โดยส่วนตัวส่วนใหญ่ผมจะถ่ายวิดีโอโดยมองผ่านช่องมองภาพ แต่การมีจอ ภาพขนาดเล็กด้วยก็จะเป็นประโยชน์ทีเดียว
ลองมาดูลูกเล่นของกล้องบ้าง คุณสมบัติ ที่สำคัญของกล้องคือ ความคมชัดของภาพ ซึ่งกล้องถ่ายวิดีโอก็ใช้เทคโนโลยีเดียวกับกล้องถ่ายภาพนิ่งระบบดิจิตอล
("ผู้จั ดการ" ฉบับกุมภาพันธ์) ความคมชัดขึ้นอยู่กับความละเอียด ของอุปกรณ์รับภาพ ที่เรียกว่า
CCD (Charge-Coupled device) ซึ่งระบุด้วยตัวเลขจำนวนของจุดรับภาพ หรือ Pixel
จำนวน Pixel ยิ่งสูงยิ่งละเอียด ในกรณีของกล้องวิดีโอระดับอาชีพหรือกึ่งอาชีพจะใช้อุปกรณ์
CCD ถึง 3 ตัว ซึ่งจะได้ภาพ ที่คมชัดมาก และได้สีสัน ที่สดใสเหมือนจริง ส่วนประกอบ ที่สำคัญอีกอย่างที่มีผลต่อคุณภาพของภาพโดยตรงคือ เลนส์
แม้คุณภาพของเลนส์กล้องถ่ายวิดีโอจะไม่ซีเรียสเท่ากล้องถ่ายภาพนิ่ง (ใช้ฟิล์ม)
แต่เลนส์ ของกล้องวิดีโอจะต้องมีความสามารถปรับขนาดได้หรือ ที่เรียกว่าซูม
คือ สามารถถ่ายภาพมุมกว้าง (Wide Angle) หรือดึงภาพเข้ามาใกล้เหมือน กล้องส่องทางไกล
(Tele-Photo) เลนส์ที่ดีจะมีความสามารถขยายภาพจาก Wide Angle ถึงTele-Photo
ได้มาก ซึ่งระบุด้วยตัวเลขเป็นจำนวนเท่าเช่น 8 เท่า หรือ 10 เท่า (8X หรือ
10X Optical Zoom) และเลนส ์ที่ดีจะต้องได้ ภาพ ที่คมชัดทุกขนาดของการซูม
ตรงนี้ท่านจะต้องดูให้ดีเพราะคำโฆษณาของกล้องมักจะนำระบบดิจิตอลซูม (Digital
Zoom) มารวมกับการซูมภาพ ด้วยเลนส์ (Optical Zoom) เพื่อให้ดูตัวเลขมีค่าน่าป
ระทับใจ ส่วนตัวไม่นิยมระบบดิจิตอลซูมเพราะทำให้คุณภาพของภาพลดลงอย่างไม่น่าให้อภัย
เมื่อประมาณสิบกว่าปีมานี้ ตอนนั้น เทคโนโลยี CCD ยังเป็นสิ่งหรู กล้องถ่ายวิดีโอจะแข่งกัน ที่ความสามารถด้านความไวแสง
คือ สามารถถ่ายภาพได้ในที่ ที่มีแสงสว่างน้อย ในทางเทคนิคระบุด้วยตัวเลขค่าความสว่างหรือ
Lux ตัวเลขยิ่งน้อยยิ่งดี แต่สมัยนี้กล้องยี่ห้อใดๆ ต่างก็มีความไวในการรับแสงพอๆ
กัน แต่มีบางรุ่นบางยี่ห้อ ระบุว่า 0 Lux ซึ่งมีความหมายว่า สามารถถ่ายภาพได้แม้ในที่มืดสนิท
(อะไรจะขนาดนั้น ) ความจริง ที่ว่ามืดสนิทนั้น ไม่ได้แปลว่าปราศจากแสง เพราะกล้องจะมีความสามารถรับแสง ที่มีความถี่ต่ำกว่า
แสง ที่ตามองเห็น ที่เรียกว่าแสง Infra-red และด้านหน้าของกล้อง จะมีไฟฉายแสง
Infra-red เล็กๆ ส่องอยู่ จึงทำให้สามารถบันทึกภาพในที่มืดสนิทได้ (เป็นภาพขาวดำ)
ความสามารถนี้ไม่ได้มีสาระสำคัญอะไรนอกจากมีไว้เล่นสนุก
เพื่อความสะดวกในการใช้งานกล้องถ่ายวิดีโอ จะทำการปรับหน้ากล้องตามแสงสว่าง
ปรับสีของภาพ และปรับโฟกัสของภาพโดยอัตโนมัติ ซึ่งถ้าท่านเป็นผู้ที่ชอบประดิดประดอยถ่ายภาพท่านอาจไม่พอใจในสิ่งที่กล้องคิดแทนให้
กรณีนี้ควรเลือกกล้อง ที่สามารถควบคุมการทำงานแบบ Manual ในทุกหน้าที่ แต่แน่นอนท่านจะต้องมีความรู้ และทักษะในการถ่ายวิดีโอ ที่
เพียงพอ
ลูกเล่นอย่างหนึ่ง ที่เป็นที่สนใจของนักถ่ายทำวิดีโอตามบ้านคือ การสร้างเอฟเฟกต์กับภาพวิดีโอ
ซึ่งสามารถตกแต่งภาพวิดีโอ ที่ท่านถ่ายให้ดูน่าสนใจได้ (ทั้งนี้ขึ้นกับรสนิยมของท่านด้วย)
ตัวอย่าง เอฟเฟกต์ เช่น Fade-in และ Fade-out ซึ่งเป็นเทคนิคสำคัญของ การถ่ายวิดีโอถ่ายเป็นสีขาวดำหรือสีซีเปีย
(สีออกน้ำตาลเหมือนรูปถ่ายเก่าเก็บ) ระบายสีเป็นรูปโปสเตอร์ ทำภาพให้สะดุดเป็นช่วงๆ
ผสมภาพวิดีโอกับภาพนิ่ง ทำให้ภาพปรากฏเป็นภาพเล็กๆ หลายๆ ภาพต่อกัน ฯลฯ กล้องถ่ายวิดีโอใช้ตามบ้านรุ่นใหม่ๆ
โดยเฉพาะระบบดิจิตอลจะมีความสามารถสร้างเอฟเฟกต์ ได้หลากหลายน่าอัศจรรย์ใจ
ส่วนกล้องรุ่นประหยัด (ขอให้ถ่ายภาพได้ก็ดีแล้ว) กับกล้องระดับกึ่งอาชีพ
(ต้องให้ได้ภาพดีที่สุด อย่างอื่นไม่สน) จะไม่สามารถสร้างเอฟเฟกต์พิเศษได้นอกจาก
Fade-In และ Fade-out
สำหรับกล้องวิดีโอระบบดิจิตอลแทบทุกรุ่นจะสามารถถ่ายภาพนิ่งได้ ซึ่งท่านสามารถนำไปใช้งานแทนกล้องถ่ายภาพนิ่งได้แต่
คุณภาพของภาพยังไม่สูงนัก เหมาะสำหรับชมภาพผ่านจอโทรทัศน์ กล้องบางรุ่นมีความสามารถในการตัดต่อวิดีโอในตัวกล้อง ซึ่งสามารถทำให้ผลงานของท่านดูเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น
กล้องบางรุ่นสามารถบันทึกภาพจากเครื่องเล่นวิดีโอเทปหรือ กล้องอีกกล้องหนึ่งได้ผ่านสายสัญญาณ
A-V input ที่กล่าวมาเป็นคุณสมบัติ ที่สำคัญของกล้องถ่ายวิดีโอ เพื่อให้ท่านได้ศึกษา เพื่อเลือกซื้อ
หลังจาก ที่ท่านเสียสตางค์ซื้อกล้องถ่ายวิดีโอ ที่ถูกใจแล้ว อย่าเพิ่งวางใจ
ท่านยังต้องเสียสตางค์เพิ่มขึ้นอีกพอสมควรสำหรับอุปกรณ์ประกอบ อุปกรณ์ประกอบ ที่สำคัญได้แก่
ฟิลเตอร์ติดหน้าเลนส์สำหรับป้องกันเลนส์ กระเป๋ากล้องแบตเตอรี่ สำรองเตรี
ยมพร้อมในกรณี ที่ต้องถ่ายวิดีโอติดต่อกันเป็นเวลานาน ขาตั้งกล้องวิดีโอในกรณี ที่ต้องถ่ายวิดีโอในที่ ที่เดียวกัน และติดต่อกันเป็นเวลานาน
เช่น งานประชุมสัมมนาหรือการแสดงบนเวที เป็นต้น การเลือกขาตั้งกล้องถ่ายวิดีโอจะต้องใช้หัวติดกล้องชนิดน้ำมันหรือ
Fluid Head ซึ่งจะสามารถทำการกวาดกล้องในแนวนอน (Pan) หรือแนวตั้ง (Tilt)
ได้อย่างนิ่มนวล ซึ่งจุดนี้จะต่างกับขาตั้งกล้องถ่ายรูป ซึ่งหัวติดกล้องจะต้องล็อกแน่นหรือปลดให้หลวม ซึ่งทำให้ไม่สามารถกวาดกล้องได้อย่างนิ่มนวล
เลนส์ถอยภาพ (Wide Angle Converter) เป็นอุปกรณ์ ที่มีประโยชน์ในกรณี ที่เลนส์ ที่ติดมากับกล้องมีมุมรับภาพไม่กว้างพอ
จะใช้ประโยชน์ได้ดี ในการถ่ายภาพในที่แคบ และต้องการเก็บภาพมุมกว้าง นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ ที่สำคัญได้แก่
อุปกรณ์ทำความสะอาดเลนส์ และตัวกล้องตลับเทปทำความ สะอาดหัวเทป เครื่องกรอเทปใช้ในกรณี ที่ท่านต้องกรอเทปกลับไปกลับมาจากต้นม้วนไปท้ายม้วน
เครื่องกรอเทปจะช่วยรักษาหัวเทปของกล้อง และยังลดเวลาการกรอเทปได้มาก
ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นข้อมูลพอ ที่จะให้ท่านได้ตัดสินใจเลือกซื้อกล้องถ่ายวิดีโอให้เป็นที่ถูกใจอย่างไรก็ตามการได้มา ซึ่งอุปกรณ์นานาชนิดเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักสร้างผลงานวิดีโอ
สิ่งที่เป็นสาระไม่ใช่การเลือกสรรอุปกรณ์อย่างตั้งใจ เพื่อหาซื้อมาเก็บไว้ในตู้
แต่เป็นการที่ได้ลงมือจับอุปกรณ์แล้วเปลี่ยนม้วนเทปเปล่าให้กลายเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ที่เปี่ยมค่า
ถึงตรงนั้น ท่านจะพบกับความเป็นไปได้ ที่ไม่มี ที่สิ้นสุด เหมือนดังกระดาษ กับดินสอ ที่ได้ร่วมสร้างโลกมาจนถึงทุกวันนี้