Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 ธันวาคม 2548
อุ๋ยเบรกเมกะโปรเจกต์หวั่นขาดดุลบัญชี             
 


   
search resources

ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
Economics




ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติห่วงประเทศประสบปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดยาว เตือนรัฐบาลอย่ามือเติบทุ่มเงินลงเมกะโปรเจกต์ซ้ำเติมปัญหาขาดดุลที่ถูกปัจจัยน้ำมันแพงรุมเร้า เสนอเลื่อนการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เลิกกู้เงินจากต่างประเทศ แต่ควรให้ความสำคัญกับการออมเพื่อการลงทุนในอนาคต เผยอันตรายรายย่อยมีพฤติกรรมมุ่งเป็นหนี้แทนการออม

วานนี้ (8 ธ.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาคใต้ จัดสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2548 เรื่อง "ความท้าทายในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจยุคน้ำมันแพง" ณ โรงแรมเจบี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีนักธุรกิจและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมาก

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าวว่า ปัจจัยความผันผวนทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 48 ทั้งผลกระทบภัยสึนามิ ราคาน้ำมัน ภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตการเกษตรตกต่ำ แต่มีปัจจัยบวกหนุน คือ ราคาผลผลิตทางการเกษตร ส่วนไตรมาส 2 ยอดส่งออกวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่อเนื่องไตรมาส 3 เฉลี่ยเดือนละ 25% หลังจากชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลกมาก่อน ทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ไม่ได้ตกต่ำมากนักและคาดว่าปี 49 จะโตไม่น้อยกว่า 5% แม้จะไม่พุ่งสูง แต่ถือว่ามีความเชื่อมั่นในสัญญาณของความมั่นคงในเสถียรภาพของเศรษฐกิจที่ไม่ดิ่งลงและผกผัน

แม้ว่าเมื่อคำนวณแล้วราคาน้ำมันจะฉุดอัตราการเติบโตของ GDP เพียง 1% เท่านั้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต้องนำเข้าน้ำมันเป็นเม็ดเงินมหาศาล เนื่องจากยังไม่มีมาตรการประหยัดอย่างจริงจัง กลายเป็นผู้บริโภคน้ำมันที่สูงที่สุดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเทียบกับหน่วยที่ผลิตได้จาก GDP ที่สูงขึ้น

"สาเหตุที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นนั้นเนื่องจากเมื่อ 2 ปีก่อน มีราคาต่ำประมาณ 25 เหรียญต่อบาเรลล์ ไม่คุ้มทุนกับการสร้างโรงกลั่นและขุดเจาะใหม่ แต่เมื่อราคาสูงกว่า 50 เหรียญต่อบาเรลล์ ทำให้มีการสำรวจและขุดเจาะอย่างเต็มที่ อีก 5 ปีข้างหน้าคาดว่าจะมีโรงกลั่นและหลุมเจาะน้ำมันเพิ่มขึ้น 20% พร้อมๆ กับพลังงานทางเลือกทดแทนน้ำมันอีก 30% และเชื่อว่าราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับปัจจุบันต่อไป 3-4 ปี แล้วค่อยๆ แนวโน้มจะลดลงแต่ต้องใช้เวลา"

เตือนรัฐบาลอย่ามือเติบเมกะโปรเจกต์

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวอีกว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ไทยจะประสบภาวะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อไปจนกว่าราคาน้ำมันจะอ่อนตัวลง ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ คือการลงทุนของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องสั่งซื้อเครื่องจักรกล เทคโนโลยี และการลงทุนเมกกะโปรเจกต์ของภาครัฐที่ทับถมปัจจัยราคาน้ำมัน

"ขณะนี้มีสัญญาณการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดยังไม่เกิน 2% ของ GDP หากอยู่ในระดับปีละ 5,000 ล้านเหรียญ ก็ยังคงรับได้ แต่รัฐควรทบทวนเมกะโปรเจกต์อีกครั้งเพื่อความไม่ประมาท เช่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้าว่ามีความคุ้มทุนหรือไม่ หรือจะชะลอจนกว่าจะถึงเวลาอันเหมาะสมเพื่อไม่ซ้ำเติมตัวเอง และหันมาเพิ่มการออมสำหรับลงทุนในอนาคตโดยไม่ต้องกู้เงินจากต่างประเทศ"

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาล เป็นเรื่องที่อยู่ในระดับน่าพอใจ เพราะมีวินัยทางการคลังที่ดี ตามมาตรการสร้างหนี้ประชาชาติไม่เกิน 50% และยอดการชำระหนี้ไม่เกิน 16% ของรายได้ทั้งหมด"

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวอีกว่า หากช่วงแรกรัฐบาลไม่ปล่อยให้เกิดหนี้กองทุนน้ำมันสูงสะสมตั้งแต่ปี 47 ภาวะเงินเฟ้อก็จะค่อยๆ ปรับตัว ซึ่งปัจจุบันธนาคารกลางทุกแห่งมีความกังวลถึงมาตรการดูแลเงินเฟ้อ จะบั่นทอนการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ มีผลกระทบทั้งการส่งออก ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และความเป็นอยู่ของคนไทยที่ได้รับความเดือดร้อน จึงต้องมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเริ่มปรับตั้งแต่ ส.ค.47 รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง พร้อมกับมีมาตรการเสริมอื่นๆ เพื่อสร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจ

"สิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกเรื่องหนึ่ง คือ พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนจากการออมก่อนเป็นหนี้ได้เปลี่ยนไปหลังพิษเศรษฐกิจ 2540 ซึ่งคนกลุ่มนี้อุ้มภาคธุรกิจที่ล้มไม่ให้เจ็บหนัก แต่ยุคนี้มีสินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิตกว่า 8 ล้านใบทั่วประเทศ แม้จะแก้โดยเพิ่มอัตราดอกเบี้ยก็ไม่สามารถลดความฟุ้งเฟ้อได้ หากมีหนี้คงค้างสูงจะเป็นอันตรายถึงระดับรากหญ้า จึงต้องมีมาตรการอื่นมาเสริมการแก้ไขความไม่สมดุลทั้งการกำหนดเงินได้ไม่ต่ำว่า 1.5 หมื่นต่อเดือนสำหรับการใช้บัตรเครดิต และออกกฎชำระสินเชื่อเร็วขึ้นภายใน 10 เดือน หวังให้ผู้บริโภคคิดก่อนเป็นหนี้ และมีศักยภาพในการผ่อนชำระ" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว

สภาพัฒน์ห่วงลอจิสติกส์

นายธานินทร์ ผะเอม ผอ.สำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า การดำเนินนโยบายรัฐในด้านยุทธศาสตร์ลอจิสติกส์ของรัฐบาล แม้จะมีการเตรียมความพร้อมหลายด้าน แต่ติดขัดที่การบริหารแบบราชการที่ใช้เวลานาน จึงควรปรับการจ่ายงบประมาณโดยพิจารณาที่ความพร้อมและความชัดเจนของโครงการ

ด้านภาพรวมของเศรษฐกิจปีนี้จะเจอกับปัญหาที่เป็นปัจจัยลบหลายด้าน มีความเสี่ยงปัจจัยเงินเฟ้อ และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอันเป็นข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการขยายตัวด้านการลงทุนทั้งในภาครัฐและเอกชน แต่ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้น่าจะมี GDP 5% อย่างแน่นอน และมีแนวโน้มเศรษฐกิจคลี่คลายคลี่คลายในทางที่สดใสในปี 49 คาดว่าจะสามารถส่งออกสินค้าเพิ่มอีก 15% ตามเป้าที่วางไว้

"กลไกของผลกระทบการปรับเพิ่มในราคาน้ำมันที่ต้องเฝ้าจับตา คือ ป้องกันการเก็งกำไรราคาน้ำมัน ซึ่งจะส่งผลต่อการบริโภค การลงทุน ส่งออก นำเข้า แม้เชื่อว่าราคาน้ำมันในปีหน้าไม่ผันผวนมากนัก เฉลี่ยประมาณ 52 ดอลล่าห์สหรัฐ เนื่องจากมีการตื่นตัวในการเพิ่มบ่อขุดเจาะน้ำมันใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความผันผวนราคาขายปลีกในประเทศรายวันน้อยลง"

จับตาจีนมหาอำนาจไทยรับอานิสงส์

นายวิรไทย สันติประภพ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์ลูกค้าธุรกิจ บริษัท ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในปี 49 จะเป็นช่วงของการลงทุน หลังมีการสะสมทุนอย่างพอเพียงแล้วในปีที่ผ่านมา ทั้งการขยายตัวด้านสินเชื่อ บัตรเครดิต ซึ่งเป็นไปตามเศรษฐกิจที่มีการขยายตัว ทำให้สินเชื่อประเภทอัตราดอกเบี้ยคงตัวระยะยาวอาจจุถูกยกเลิก เนื่องจากอยู่ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นที่ต้องการแก้ภาวะเงินเฟ้อ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงเป็นบวกทำให้มีการออมเงินมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการออกลดเหลือ 4% จากที่มีระดับการออมถึง 15% ของ GDP

วัฎจักรของเศรษฐกิจโลกในปีหน้ายังถูกกระทบจากปัจจัยเสี่ยงมากมาย มีการขยายตัวแต่ไม่สดใสเหมือน 2 ปีที่ผ่านมา เพราะส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐอเมริกา ทำให้การแลกเปลี่ยนเงินมีความผันผวน การชะลอตัวของราคาอสังหาริมทรัพย์ การกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะการทำ FTA กับประเทศออสเตรเลีย ที่ไทยได้รับผลประโยชน์ในช่วงแรก แต่เสียเปรียบในระยะยาวและความเสี่ยงของแหล่งสำรองน้ำมันที่มีการผูกขาดใน 6 ประเทศมากถึง 90% ทำให้ต้องมีความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจ

"เป็นที่น่าจับตามองว่าในอนาคตที่จีนกำลังก้าวสู่บทบาทผู้นำทางการแข่งขันด้านและเป็นเครื่องยนต์ที่สำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจโลก ด้วยการเป็นผู้ส่งออกสูงกว่าการนำเข้า ซึ่งไทยได้รับอานิสงส์จากการหลั่งไหลของนักธุรกิจของจีนมาเป็นพันธมิตรกับนักธุรกิจไทย เพื่อหวังขยายการผลิตสินค้า และนำเข้าสินค้าบางตัวจากไทยเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ทำให้จีนกลายเป็นคู่แข่งและตลาดสินค้าของไทยในขณะเดียวกัน" นายวิรไทกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us