Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540
"ม.ร.ว. สุชาติจันทร์ยันเสียงแข็งจีเอฟไม่คิดควบกิจการในเครือ"             
 


   
search resources

จี เอฟ ไพแนนซ์
สุชาติจันทร์ ประวิตร
อัจนา ไวความดี
Financing




ภายหลัง บมจ. เงินทุนเอกธนกิจ ไฟแนนซ์ขนาดใหญ่อันดับ 1 ของเมืองไทยต้องซวนเซเนื่องจากปัญหาสภาพคล่อง จนถึงขั้นต้องให้ บมจ. ธนาคารไทยทนุเข้าควบกิจการ กระแสข่าวลือเกี่ยวกับไฟแนนซ์มากมายเริ่มทยอยกันออกมาป่วนตลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ 10 สถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบังคับให้เพิ่มทุนอย่างเร่งด่วน เรื่อง บงล. ศรีมิตรเตรียมควบกิจการเช่นกัน บงล. ซิทก้าและพันธมิตรทั้ง 7 เตรียมรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสนองนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย หวังได้ใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์

ล่าสุด บงล. จีเอฟ (GF) ไฟแนนซ์อันดับ 8 ของไทยก็ตกเป็นข่าวอีกเช่นกันว่าจะจับมือกับ บง. จีซีเอ็น บริษัทในเครือเพื่อผนวกกิจการกับธนาคารจีเอฟ ซึ่ง GF ถือหุ้นอยู่ 5% ของทุนจดทะเบียน 7,500 ล้านบาท และเป็นแกนนำในการจัดตั้ง เนื่องจากปัญหาเรื่องการขาดสภาพคล่อง และหนี้เสียจากการปล่อยกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก

งานนี้เล่นเอาผู้บริหารของ GF เรียงหน้าออกมาปฏิเสธข่าวลือกันยกใหญ่ โดย ม.ร.ว. สุชาติจันทร์ ประวิตร กรรมการผู้อำนวยการนำทีมเปิดแถลงข่าวด่วนว่า "ฐานะทางการเงินของจีเอฟในขณะนี้ยังแข็งแรงดีไม่มีปัญหา และขณะนี้ก็ยังไม่มีการยื่นหนังสือต่อทางการในเรื่องควบกิจการดังที่เป็นข่าว ทั้งยังไม่เคยมีแนวคิดที่จะดำเนินการด้วย"

ม.ร.ว. สุชาติจันทร์ ให้เหตุผลว่า จีเอฟเป็นไฟแนนซ์ขนาดใหญ่ จึงไม่จำเป็นต้องควบกิจการกับจีซีเอ็นซึ่งเป็นไฟแนนซ์ขนาดเล็ก เพราะหากจีเอฟมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องจริงจีซีเอ็นก็ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้

ดร. อัจนา ไวความดี กรรมการผู้จัดการกลุ่มวิจัยและวางแผนของจีเอฟยังมีสุขภาพดี จากผลประกอบการประจำปี 2539 จีเอฟมีการปล่อยกู้ทั้งสิ้น 55,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 22,000 ล้านบาท หรือประมาณ 40% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด สินเชื่อเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin loans) 13-14% สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 1% ที่เหลือเป็นสินเชื่อในภาคพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม


เหตุที่สินเชื่อเช้าซื้อรถยนต์มีสัดส่วนเพียง 1% เนื่องจากบริษัทได้มีการโอนพอร์ตเช่าซื้อรถยนต์ทั้งหมดไปให้บริษัทจีเอสซีซี ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับบริษัท จีอี แคปปิตอล โดยจีเอฟถือหุ้นอยู่ 10% ของทุนจดทะเบียน

อย่างไรก็ดีสินเชื่อที่ปล่อยให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 22,000 ล้านบาทนั้น ดูจะเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากมีบริษัททางด้านอสังหาฯ หลายแห่งไม่สามารถชำระดอกเบี้ยแก่จีเอฟได้ตามกำหนด

ณ สิ้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาจีเอฟมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing loans) ถึง 3,400 ล้านบาท หรือคิดเป็น 7% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด 55,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นสินเชื่อต่ำกว่ามาตรฐาน 1,600 ล้านบาท และเป็นหนี้สงสัยจะสูญอีก 1,700 ล้านบาท ซึ่งในส่วนหนี้มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอยู่ประมาณ 1,200 ล้านบาท

"บริษัทต้องทำการตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 600 ล้านบาท แต่ขณะนี้บริษัทตั้งสำรองไว้ถึง 925 ล้านบาท หรือคิดเป็น 125% ซึ่งเป็นการตั้งสำรองสูงกว่าเกณฑ์ที่แบงก์ชาติกำหนด" ดร. อัจนา กล่าว

สำหรับเรื่องที่จีเอฟจะมีการควบกิจการกับบริษัทในเครือและธนาคารจีเอฟนั้น เธอกล่าวปฏิเสธว่า ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็น และกลุ่มจีเอฟก็มีนโยบายที่จะทำธุรกิจการเงินให้ครบวงจร เพื่อเอื้อประโยชน์กันภายในกลุ่มมากกว่าการควบกิจการกันตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย

ปัจจุบันกลุ่มจีเอฟมีธุรกิจในเครือมากมายทั้งส่วนที่เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทลิสซิ่ง ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัย ส่วนบริษัทประกันชีวิตกำลังอยู่ระหว่างการรออนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์

ปัญหาเรื่องสภาพคล่องอันสืบเนื่องมาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และเช่าซื้อรถยนต์นั้นส่งผลกระทบต่อไฟแนนซ์หลายแห่ง จีเอฟอาจจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมากในฐานะที่เป็นไฟแนนซ์ขนาดใหญ่ และมีการปล่อยกู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างสูง

อย่างไรก็ดีในปี 2540 นี้ บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนของสินเชื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมให้มากขึ้น พร้อมทั้งปรับลดสัดส่วนขนาดของสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์ลง และพยายามลดดอกเบี้ยค้างรับ โดยการส่งทีมงานเข้าไปช่วยนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเรื่องการขายโครงการ

นอกจากนี้สิ่งที่ ม.ร.ว. สุชาติจันทร์ ให้ความสำคัญมากก็คือเรื่องของการปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลง โดยจะมีการเกลี่ยพนักงานของจีเอฟไปยังธนาคารจีเอฟและบริษัทในกลุ่มจีเอฟ

"คนของเรามีเยอะเพราะเตรียมไว้เพื่อแยก บง. บล. แต่ตอนนี้นโยบายของเราคือไม่แยกเพราะไม่ได้ประโยชน์นัก เราก็เลยจะพิจารณาเกลี่ยพนักงานไปให้เหมาะสม ฝ่ายไหนอ้วนไปผอมไป ก็เกลี่ยให้เหมาะสม และเปิดโอกาสให้เขาไปสมัครงานในธนาคารจีเอฟได้ หากคุณสมบัติไม่ตรงกับที่ธนาคารต้องการ เช่น ไม่ตรงกับสายงานที่ธนาคารต้องการ เขาก็อยู่กับเราต่อไปได้โดยไม่ตะขิดตะขวงใจ" ม.ร.ว. สุชาติจันทร์ยกตัวอย่าง

แผนการลดพนักงานอย่างค่อยเป็นค่อยไปนี้จีเอฟกำลังดำเนินการอยู่ภายใต้การดูแลของ ดร. อัจนา รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จีเอฟมีการจูงใจให้พนักงานช่วยกันหาเงินฝากเข้ามา โดยมีการให้รางวัล และนำผลงานนี้ไปประกอบการพิจารณาขึ้นเงินเดือนประจำปี

จากผลประกอบการในปี 2539 เมื่อเทียบกับปี 2538 พบว่าจีเอฟมีกำไรสุทธิลดลงประมาณ 14% กล่าวคือลดลงจาก 641.3 ล้านบาทในปี 2538 เหลือ 548 ล้านบาทในปี 2539 นับว่าผลประกอบการตกต่ำลงบ้าง แต่ไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับทั้งอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดีสำหรับปีนี้ ม.ร.ว. สุชาติจันทร์ตั้งเป้าเพียงว่า ขอแค่รักษาระดับกำไรสุทธิให้ได้เท่ากับปีที่ผ่านมาก็พอ

ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ธุรกิจย่ำแย่อย่างนี้ขอแค่นี้ก็พอ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us