Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540
"เกียรตินาคิน ไม่เงียบอย่างที่คิด"             
 


   
search resources

เกียรตินาคิน, บง.
วิเชียร เจียกเจิม




จากสภาพตลาดหุ้นในปัจจุบันซึ่งกำลังตกต่ำอย่างมาก ทำให้บริษัทในตลาดหลายบริษัทได้รับความเจ็บปวดไปตาม ๆ กัน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เรียกว่าขวัญใจของบรรดานักลงทุนทั้งหลายที่ขณะนี้ได้รับผลกระทบจากสภาวะดังกล่าวอย่างมาก ทำให้ข่าวที่ออกมาในแต่ละวันมีแต่ด้านลบทั้งนั้น โดยเฉพาะไฟแนนซ์ที่มีหนี้เสียกับการปล่อยกู้ให้กับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ แต่อีกด้านหนึ่งก็มีบางไฟแนนซ์ที่เงียบไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหว ราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับธุรกิจตัวเอง

อย่างเช่น บงล. เกียรตินาคิน หรือ KK ซึ่งดูเงียบ ๆ ไม่หวือหวาเหมือนบางไฟแนนซ์ ทั้ง ๆ ที่ KK เป็นไฟแนนซ์ที่มีปริมาณและมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในแต่ละวันสูงพอสมควร แต่ข่าวที่ออกมากลับไม่ค่อยมีเท่าไหร่ เรื่องนี้ วิเชียร เจียกเจิม กรรมการผู้จัดการกล่าวว่า

"จริง ๆ แล้วเราไม่เงียบ เรามีข่าวออกมาตลอดเวลาแต่ยอมรับว่าข่าวที่ออกมาถ้าเปรียบเทียบกับช่วงที่ตลาดหุ้นบูมจะมีน้อยกว่า"

แม้ว่าภายนอก KK จะไม่ค่อยมีข่าวออกมา แต่ภายในบริษัทนั้นกลับคึกคักพอสมควร โดยเฉพาะในปี 2540 นี้ วิเชียร มีแผนการดำเนินงานไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งจะเน้นไปยังธุรกิจที่ KK มีความถนัดและเป็นจุดแข็งของบริษัทที่จะสามารถรองรับกับภาวะการแข่งขันของสถาบันการเงินที่เข้มข้นขึ้นทุกขณะ

"แผนการดำเนินงานของเราในปีนี้ยังเน้นการดำเนินธุรกิจส่วนที่เราแข็งแกร่งอยู่ คือการปล่อยสินเชื่อรายย่อยเพราะธุรกิจเงินทุนยังสามารถทำได้ดี ส่วนธุรกิจหลักทรัพย์ก็เป็นไปตามภาวะของมัน อย่างไรก็ตามในช่วงนี้เราได้เตรียมตัวเพื่อรองรับการฟื้นตัวของตลาด เช่นการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบงาน ระบบพนักงาน" วิเชียรกล่าว

โดยการปล่อยสินเชื่อรายย่อยดังกล่าว วิเชียรจะเน้นการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 50% ของการปล่อยสินเชื่อทั้งหมด มีลูกค้าประมาณ 30,000-40,000 รายแล้วทั่วประเทศ โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์

วิเชียรได้กล่าวต่อไปว่าการที่มีนโยบายเน้นการปล่อยสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะการกระจายออกไปสู่ภูมิภาคเนื่องจากเป็นการรองรับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการกระจายความเจริญสู่ชนบท ดังนั้น ถ้า KK มีส่วนร่วมในการพัฒนาให้มีการเติบโตขึ้น ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้มีการลงทุนหรือการขยายตัวธุรกิจในภูมิภาคได้ KK ก็ยินดีจะสนับสนุน

"ปีนี้เราจะทำการเปิดสำนักงานอำนวยสินเชื่อออกไปอีก 3 แห่ง ได้แก่ที่สุราษฎร์ธานี อุดรธานี และนครสวรรค์ ซึ่งปัจจุบันเรามีแล้วจำนวน 9 แห่ง และคิดว่าสัดส่วนรายได้จากการขยายตัวของสินเชื่อปีนี้จะขยายตัวประมาณ 30%"

แนวทางการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวยังคงเป็นไปในรูปแบบเดิม คือมุ่งที่จะปล่อยสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่อประเภทเช่าซื้อ โดยจะเน้นการปล่อยสินเชื่ออย่างมีคุณภาพ มีการคัดเลือกลูกค้า ตลอดจนการติดต่อกับตัวแทนจำหน่ายก็เป็นตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจากบริษัทจำหน่ายรถยนต์ จึงทำให้ที่ผ่านมา KK ประสบปัญหาเรื่องหนี้เสียน้อยมาก

ส่วนใหญ่ที่เราปล่อยสินเชื่อจะมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ประมาณ 95% จะมีหลีกทรัพย์ค้ำ และที่มีหลักทรัพย์ค้ำบางส่วนอีกประมาณ 3% ที่เหลือจึงเป็นการปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการปล่อยให้กับสถาบันการเงิน" วิเชียร กล่าว

นอกจากแผนการดำเนินงานดังกล่าวแล้ว KK ยังมีแผนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือนโยบายการเปลี่ยนแปลงแหล่งเงินทุนโดยพยายามลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการบริหารแหล่งเงินใหม่ซึ่งจากเดิมเน้นการพึ่งพาฐานเงินฝากจากลูกค้า เปลี่ยนมาเป็นระดมเงินในรูปแบบใหม่ ๆ เพราะถ้าดูสัดส่วนโครงสร้างการกู้ยืมเงินในอดีตของ KK จะอาศัยเงินฝากจากประชาชนประมาณ 95% ของจำนวนเงินที่ใช้ในการดำเนินงานทั้งหมด แต่ในปัจจุบันจะเหลือเพียงแค่ประมาณ 65% เท่านั้น สาเหตุที่ KK ทำอย่างนี้เนื่องจากความต้องการลดความเสี่ยง ความผันผวนด้านอัตราดอกเบี้ย การบริหารสภาพคล่อง

"ที่เราเปลี่ยนโครงสร้างครั้งนี้จะทำให้เรามีเสถียรภาพในการบริหารเงินมากขึ้น และความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ลดลง รวมทั้งเงินฝากจากประชาชนส่วนใหญ่จะฝากแค่ 3-6 เดือน ในขณะที่เราปล่อยกู้ออกไปถ้าเป็นเช่าซื้อจะมีอายุประมาณ 3 ปี ซึ่งไม่มีความสมดุลกันในเรื่องของเงินฝากกับการปล่อยสินเชื่อ" วิเชียร เล่า

โครงสร้างแหล่งเงินทุนใหม่ของ KK นั้นได้เริ่มปรากฏเด่นชัดมาตั้งแต่ปี 2536 ช่วงนั้นบริษัทได้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวน 60 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1,500 ล้านบาท ต่อมาในปี 2538 ออกหุ้นกู้ 3,200 ล้านบาท และล่าสุดเมื่อปีที่แล้วได้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวน 2,000 ล้านบาท ส่วนปี 2540 นี้ KK มีแผนออกหุ้นกู้อีกจำนวน 6,000 ล้านบาท

"แต่เรายังไม่รู้ว่าจะออกมาในรูปไหน เพราะต้องดูตลาดด้วยว่าเขาต้องการแบบไหน คาดว่าไตรมาส 3 นี้เราระดมทุนแน่นอน แต่คนรอบข้างมองว่าภาวะอย่างนี้จะระดมทุนได้หรือไม่ ซึ่งก็แล้วแต่คุณภาพของบริษัทว่าจะออกได้หรือไม่ เพราะสภาพตลาดไม่ค่อยเอื้ออำนวยเท่าไหร่เพราะมีความเสี่ยงพอสมควร แต่เราก็เชื่อมั่นในบริษัทว่าเราจะสามารถระดมทุนรูปแบบนี้ได้"

นอกจากนี้แผนการด้านหลักทรัพย์ วิเชียรก็ยังไม่ทิ้ง แม้จะมีข่าวลือหนาหูว่าซับโบรกเกอร์ ได้แก่ Barclays de Zoete Wedd Limited (BZW) จะไม่ยอมต่อสัญญาในการส่งออเดอร์ลูกค้าจากต่างประเทศให้กับ KK หลังหมดสัญญาในไตรมาส 2 ปี 2540 นี้ เรื่องนี้วิเชียรให้คำยืนยันว่า "BZW จะต่อสัญญากับเราไปอีกอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าปริมาณการซื้อขายที่เขาเคยส่งมาให้เราเป็นส่วนใหญ่ประมาณ 70-80% และปัจจุบันเขาส่งเหลือเพียง 25% ในแง่ของรายได้ก็เป็นปัญหากับเราเหมือนกันแต่ในความจริงแล้วเมื่อภาวะตลาดเป็นอย่างนี้คงจะไม่กระทบต่อเรามากอย่างที่คิด แต่ก็พยายามหาลูกค้ารายอื่น ๆ คือหันไปหารายได้ที่มีความมั่นคงมากขึ้น นั่นก็คือรายได้ด้านเงินทุน"

ความตั้งใจของวิเชียรสำหรับรายได้ระหว่างที่มาจากเงินทุนกับหลักทรัพย์ สัดส่วนจะอยู่ที่ 90:10 โดยมีเป้าหมายการเติบโตของบริษัทเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วอยู่ที่ระดับ 20-25% โดยเฉพาะอัตราการเติบโตด้านสินเชื่อซึ่งเป็นรายได้หลัก KK คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 30 กว่าเปอร์เซ็นต์

"ด้านหลักทรัพย์นั้นปีนี้คงยากมากที่จะทำให้โตได้ ก็ได้แต่หวังว่าตลาดจะฟื้นขึ้นมาได้ถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง แต่จะลดลงอย่างไรก็มีหลายเรื่อง เช่น เงินเฟ้อ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ตัวเลขการส่งออก ค่าเงินบาท ถ้าตัวเลขเหล่านี้ดีขึ้นก็เชื่อมั่นว่าตลาดหุ้นจะกลับมาอีกครั้ง" วิเชียร กล่าว

อย่างไรก็ตามถ้าตลาดหุ้นฟื้นขึ้นมารายได้ด้านหลักทรัพย์ของ KK คงจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นไม่เท่ากับรายได้ด้านเงินทุนเพราะบริษัทจะเน้นการขยายตัวในเรื่องเงินทุนเป็นหลัก สังเกตได้จากผลการดำเนินงานปี 2539 บริษัทมีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล 2,801.34 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2538 ที่มีเพียง 2,055.73 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 36.26% ส่วนที่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยมีเพียง 475.88 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2538 สามารถทำได้ 479.71 ล้านบาท ลดลง 3.83 ล้านบาท และปี 2539 มีกำไรสุทธิ 216.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2538 ที่มีกำไรสุทธิ 155.64 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 39.12%

"รายได้จากค่านายหน้ายอมรับว่าลดลงเนื่องจากภาวะตลาดไม่ดี แต่รายได้อื่น ๆ ที่เข้ามาช่วยเสริมจะมาจากค่าธรรมเนียม รายได้จากการเป็นที่ปรึกษา ซึ่งรายได้ส่วนนี้เรามีมากขึ้น ทำให้รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยค่อนข้างคงที่" วิเชียร กล่าว

อย่างไรก็ตามเมื่อ KK มีการปรับเปลี่ยนแหล่งระดมทุนทำให้มีค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงินปี 2539 จำนวน 2,079.32 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2538 ที่มีเพียง 1,542.42 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 34.80% และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปี 2539 จำนวน 903.62 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2538 มีเพียง 788.87 ล้านบาท ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ KK จะต้องขบคิดต่อไปว่าหลังจากปรับวิธีหาแหล่งระดมทุนใหม่จะบริหารต้นทุนทางการเงินได้ดีแค่ไหน เนื่องจากการระดมทุนที่ KK ใช้ในปัจจุบันนี้คือวิธีการหาเงินที่ลำบากพอสมควร เพราะตลาดไม่เอื้ออำนวย

นอกจากปัญหาเรื่องการบริหารเงินแล้ว ปัญหาด้านธุรกิจก็ยังไม่ค่อยแจ่มใสมากนัก เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อของ KK ในปัจจุบันไม่ค่อยเอื้ออำนวยเท่าไหร่เพราะสภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในอาการโคม่าอยู่

ทีนี้เราต้องมาติดตามดูว่าในปีนี้ความตั้งใจของวิเชียรที่จะให้ธุรกิจไฟแนนซ์ของตัวเองสามารถฝ่าฟันไปได้โดยไร้บาดแผลได้หรือไม่ เพราะล่าสุดไฟแนนซ์บางแห่งเริ่มทนกับสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ต่อไปไม่ไหวแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us