Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2540
"สคิบเข้าถือหุ้น บล. คาเธ่ย์ฯ งานนี้เฟรนด์ลีจริง             
 


   
search resources

คาเธ่ย์แคปปิตอล, บล.
สม จาตุศรีพิทักษ์




"Welcome to our group"

วลีต้อนรับปนเสียงหัวเราะอย่างยินดีและเป็นกันเองของ ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ. นครหลวงไทย ถูกกล่าวขึ้นหลังจากพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการเข้าร่วมทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ คาเธ่ย์ แคปิตอล

แน่นอนการร่วมทุนกันครั้งนี้เป็นเรื่องระหว่าง "พันธมิตรทางธุรกิจ" โดยแท้เพราะมิใช่เพียงคำกล่าวลอย ๆ เท่านั้น สิ่งที่ทำให้น่าเชื่ออีกประการคือบรรยากาศภายในงานเซ็นสัญญาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่เป็นไปอย่างชื่นมื่น รวมทั้งเป้าหมายที่วางไว้อย่างเด่นชัดของคาเธ่ย์ แคปปิตอลเองด้วย

การหาผู้ร่วมทุนจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศเป็นแผนงานที่คาเธ่ย์ แคปปิตอลวางไว้เป็นอันดับแรกสำหรับภารกิจในปี' 40 นี้ หลังจากที่แยกธุรกิจหลักทรัพย์ออกมาจาก บงล. คาเธ่ย์ ทรัสต์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา

ทั้งนี้ในการร่วมทุนกับ ธ. นครหลวงไทย จะมีผลบังคับจริงในเดือนกรกฎาคม เพราะตามกฎ ก.ล.ต. ระบุว่า หลังจากแยกกิจการแล้วต้องดำเนินงานไปแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนจึงจะหาผู้ร่วมทุนอื่นได้

ดร. สมกล่าวในช่วงเปิดงานว่า "การร่วมทุนครั้งนี้ค่อนข้าง simple" เพราะ บล. คาเธ่ย์ แคปปิตอล นั้นเป็นบริษัทลูกของ บงล. คาเธ่ย์ ทรัสต์ ซึ่งก็ไม่ใช่ใครอื่นไกล เนื่องจากผู้ถือหุ้นก็คือผู้ถือหุ้นของธนาคารนครหลวงไทยด้วยเช่นกัน และในด้านการดำเนินกิจการเอง ทั้งคาเธ่ย์ ทรัสต์และธนาคารฯ ก็ทำธุรกิจด้วยกันมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้กลุ่มผู้เป็นเจ้าของคือตระกูลศรีเฟื่องฟุ้ง พานิชชีวะ และเตชะสมบัติก็ได้รับความเคารพรักใคร่จากผู้บริหารของธนาคารฯ ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตามการที่มีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างนี้ ดร. สม กล่าวว่าเป็นการกระชับความสัมพันธ์ที่รักใคร่แนบแน่นนั้นให้กระชับแนบแน่นขึ้นไปอีก เพราะเขาเชื่อเหลือเกินว่า "ด้วยความรักและความเป็นกันเองของเรา คงจะเป็นสิ่งยืนยันได้ว่า บล. คาเธ่ย์ แคปปิตอลจะมีอนาคตที่สดใสแน่นอน"

ธ. นครหลวงไทยจะเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 9% ของทุนจดทะเบียน ซึ่ง ดร. สมได้ให้เหตุผลง่าย ๆ ว่า "เพื่อไม่ต้องไปทำเรื่องขอจากทางแบงก์ชาติ" เพราะเป็นอัตราที่ยังไม่ถึง 10% ตามกฎที่แบงก์ชาติกำหนดไว้

แม้ว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่มากนักแต่สมบัติ พานิชชีวะในฐานะตัวแทนของ บล. คาเธ่ย์ กล่าวว่า "ความหมายนั้นยิ่งใหญ่กว่าสัดส่วนที่ถือมากมายนัก" และดูเหมือนการร่วมทุนกันครั้งนี้จะเป็นความหวังของชาวคาเธ่ย์ แคปปิตอลอยู่มากทีเดียว ดังคำที่สมบัติกล่าวกับผู้บริหารของธนาคารฯ "ผมขอฝากคาเธ่ย์ แคปปิตอลไว้กับท่านทั้งหลายด้วย ยังไงก็ช่วยอุ้มชูชี้แนะ และช่วยทำให้สถาบันนี้แข็งแกร่งและมั่นคง"

สิ่งหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายตระหนักดีคือ ธ. นครหลวงไทยนั้น มีบริษัทในเครือที่ทำธุรกิจด้านนี้อยู่แล้ว ได้แก่ บงล. นครหลวงเครดิต ซึ่งในเรื่องนี้ ดร. สมกล่าวอย่างมั่นใจว่าการทำงานปกติอาจจะมีการแข่งขันกันบ้างโดยไม่รู้ตัว แต่ในเชิงกรอบใหญ่แล้วจะร่วมมือกันหรือแม้กระทั่งแบ่งงานทำด้วยกัน เช่น ไปได้ดีลด้วยกัน หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลงานวิจัยต่าง ๆ

"ไปด้วยกันได้ไม่ยาก ถ้าเรามองทุก ๆ อย่างในเชิง Healthy และอยู่ที่ว่าผู้ใหญ่เราเวลาประสานกัน อย่าให้มีความลำเอียงหรือไปยุให้คนแตกกัน" ดร. สมกล่าว

สำหรับ บล. คาเธ่ย์ แคปปิตอลนั้นถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแยกธุรกิจหลักทรัพย์มาจาก บงล. คาเธ่ย์ ทรัสต์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2540 โดยทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 600 ล้านบาท มีศิริมา พานิชชีวะ ที่ได้รับความไว้วางใจให้มาดูแลกิจการของตระกูล มานั่งเป็นกรรมการผู้จัดการ และต่อไปคงได้เห็นหน้าค่าตาของเธอมากขึ้น เพราะปกติเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัวชอบทำงานอย่างเดียว

ศิริมาไม่ได้มาคนเดียว เพราะได้มือดีมาร่วมงานถึงสองคนคือ ธนาธิป วิทยะสิรินันท์ มาเป็นรองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจฯ และคนที่สองคือ กอบเกียรติ บุญธีรวร เป็นรองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกิจการนายหน้าค้าหลักทรัพย์ ซึ่งช่วงต้นดูทั้งกิจการในประเทศและรักษาการกิจการต่างประเทศด้วย เพราะกำลังหาคนมาเสริมทีมอยู่

สำหรับแผนงานปี' 40 นอกเหนือจากงานหาผู้ร่วมทุนแล้ว หน้าที่หลักอีกประการคือการขยายฐานลูกค้าและสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ซึ่งธุรกิจใหม่ที่ทางบริษัทสนใจในขณะนี้เป็นธุรกิจเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์ วาณิชธนกิจ และธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งอย่างหลังนี้เตรียมยื่นขอใบอนุญาตให้ทันภายในไตรมาสแรก

หลังจากกรณีร่วมทุนกับ ธ. นครหลวงไทยซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวระลอกแรกที่เข้ามาแล้ว ขณะนี้ บล. คาเธ่ย์ฯ ก็กำลังอยู่ระหว่างการพูดคุยกับสถาบันการเงินต่างชาติที่สนใจเข้ามาถือหุ้นด้วยเหมือนกัน คาดว่าในชั้นแรกอาจจะเปิดให้เข้ามาถือหุ้นได้ถึง 30% ทั้งนี้ขึ้นกับการตกลงกัน

ดังนั้นในปีนี้การเพิ่มทุนหรือเปิดให้สถาบันการเงินเข้ามาถือหุ้นของบริษัทจะมีให้เห็นอีกแน่เพื่อเป็นการรองรับงานที่จะเข้ามาในอนาคต

อย่างไรก็ตาม การจะมองว่าบริษัทอยู่ตรงไหนในอนาคตนั้น ธนาธิปมองว่าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยประกอบกัน อาทิ ทางด้านมาร์จิน รวมทั้งขนาดของพอร์ตหุ้นกู้

"เอาง่าย ๆ อย่าง covered warrant ร่างกฎระเบียบที่ทางการกำลังดูอยู่ กำหนดส่วนของผู้ถือหุ้นมูลค่าขั้นต่ำพันล้านบาท ถ้าจะทำธุรกิจตราสารอนุพันธ์ซึ่งเราก็ทำแน่นอนเพียงแต่ว่าเวลาไหนเท่านั้นเอง แต่คิดว่าสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ถ้าจะเป็นผู้เล่นรายใหญ่อย่างที่เราอยากจะเป็น ผมว่าต้องมีขนาด 1,500 ล้านบาทขึ้นไป" ธนาธิปกล่าว

แต่ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้การจะทำอะไรก็ตามทีมงานยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ยากกว่าตอนที่เศรษฐกิจดี ซึ่งในมุมมองของศิริมาเองก็ยอมรับว่าเป็นความยากในการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในการดำเนินงาน

"เพราะเราหยุดอยู่กับที่ไม่ได้ นี่คือธรรมชาติของธุรกิจ เราจะต้องขยายแต่จะขยายอย่างไรให้ผลประกอบการออกมาดีด้วย เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นศิลปะในการที่เราจะสร้างสมดุลให้เกิดตรงนี้ให้ได้" สิริมากล่าว

"แต่ธุรกิจที่เราขยายไปนี้เราพยายามไปในทิศทางที่ไม่ขึ้นตรงกับตลาดหุ้น คือส่วนหนึ่งธุรกิจขึ้นกับตลาดหุ้นอยู่แล้วและกระทบแน่นอน แต่อย่างพอร์ตหุ้นนี้เดิมเรามีอยู่เหมือนกัน แต่ขนาดไม่ใหญ่นัก เมื่อเห็นว่าภาวะไม่ดีและทุกคนก็เจ็บหมด ปีที่แล้วประมาณกลางปีเราก็มีนโยบายขายทิ้ง และตั้งแต่นั้นมาเราก็ไม่เล่นอีก" ธนาธิปกล่าวเสริม

คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ คาเธ่ย์ แคปปิตอลน่าจะมีกำไรออกมาให้เห็นได้ไม่ยาก เพราะการปรับตัวที่ทำมาพอสมควรจนเกือบจะเรียบร้อยแล้วในเรื่องการแยกธุรกิจ "อีกอย่างภาระในสาขาต่างจังหวัดเราก็ไม่มีเพราะเราเป็นบริษัทตั้งใหม่ ภาระเก่าที่ยกมาก็ไม่มี แต่อย่างไรก็ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจด้วย" ศิริมากล่าวอย่างรอบคอบ

จะเห็นว่านโยบายของ บล. คาเธ่ย์ แคปปิตอล ค่อนข้างจะระมัดระวังเป็นนพิเศษ ส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี อีกส่วนหนึ่งเนื่องจากเห็นว่าตัวเองยังเล็กอยู่ไม่ควรทำอะไรที่เสี่ยงมากนัก เพื่อประคับประคองให้บริษัทโตขึ้นตามที่ตั้งเป้าไว้

วิธีหนึ่งที่เดินไปได้ถูกทางแล้วคือการร่วมทุนอย่างเป็นทางการกับ ธ. นครหลวงไทย ถือเป็นแนวโน้มที่ดีของบริษัทในภาวะเศรษฐกิจและการแข่งขันปัจจุบัน ถ้าสถาบันการเงินรายอื่นจะเอาอย่างก็ไม่เลวทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us