Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 ธันวาคม 2548
เทรนด์ศูนย์การค้าไทยเปลี่ยนทิศ สินค้าหรู-กลางแข่งดุ-แนะซัปพลายเออร์ปรับตัว             
 


   
www resources

โฮมเพจ The Mall Group (เดอะมอลล์กรุ๊ป)

   
search resources

เดอะมอลล์กรุ๊ป
Shopping Centers and Department store




"เดอะมอลล์ กรุ๊ป" ชี้เทรนด์ศูนย์การค้าปรับทิศ ชูสินค้าแฟชั่นพรีเมียม-กลางแข่งเดือด เขี่ยตลาดล่างลงดิสเคานต์สโตร์แทน แนะซัปพลายเออร์ไทย ปรับตัวหนักเร่งสร้างแบรนด์ไลเซนเซอร์ รับมือสินค้าหรูเปิดศึกสงคราม ราคา "พารากอน" จ้วงตลาดผู้ชายขาขึ้นโตพรวด 10% ต่อปี พัฒนาแบรนด์รองเท้า และเครื่องหนังชายเอง พร้อมผุดแผนกเครื่องแต่งกายชายพื้นที่ 3 หมื่น ตร.ม. ปีหน้าตั้งเป้า 4 แผนกชายกวาดรายได้ 5,300 ล้านบาท โต 10%

นายสฤษดิพงษ์ รัตนาพต ผู้อำนวยการ ใหญ่สายบริหารสินค้า เอ1 บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่มีศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์เกิดขึ้นเป็นจำนวน มาก ทำให้มีแนวโน้มว่าสินค้าแฟชั่นกลุ่มเสื้อผ้าและเครื่องประดับทั้งหญิงและชายภายในศูนย์การค้า จะเหลือแต่เซกเมนต์ระดับบนและกลางเท่านั้น ส่วนระดับล่างจะ ลงไปสู้กันที่ช่องทางดิสเคานต์สโตร์เป็นหลัก โดยแนวโน้มดังกล่าวทำให้ซัปพลายเออร์ระดับพรีเมียมและกลางจะต้องมีการปรับตัว เพื่อรองรับกับการแข่งขันจากคู่แข่งในเซกเมนต์เดียวกันที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น
ในเบื้องต้นคาดว่าปีหน้านี้ ทิศทางการแข่งขันสินค้าระดับพรีเมียม จะเน้นการลดราคาหรือมีการทำโปรโมชันมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อรองรับการแข่งขันตลาดระดับกลาง และกระตุ้นกำลังซื้อเพื่อไม่ให้สินค้าล้น สต๊อกเพราะซัปพลายมีมากกว่าดีมานด์ ขณะที่การปรับตัวของตลาดสินค้าแฟชั่นระดับกลาง ซัปพลายเออร์จะต้องมีการบริหารงบการตลาดไว้อย่างดี ว่าจะต้องเสริมความแข็งแกร่งอย่างไรบ้างเพื่อสู้กับตลาดระดับบน นอกจากนี้ซัปพลายเออร์ไทย จะต้องหันมาเน้นสร้างแบรนด์ใหม่ หรือผลักดันให้สินค้าติดอันดับอินเตอร์แบรนด์ หรือการเป็นไลเซนเซอร์ เป็นต้น

นายสฤษดิพงษ์ กล่าวต่อถึง แนวโน้ม ของสินค้าแฟชั่นผู้ชายว่า มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง จะเห็นได้ในส่วนของเครื่องแต่งกาย ผู้ชายที่ปัจจุบันมีมูลค่า 10,000 ล้านบาทเติบโตปีละไม่ต่ำกว่า 10% ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเดอะ มอลล์เติบโต 30% โดยตัวเลขในปีที่ผ่านมาผู้ชายซื้อเสื้อผ้า 6 ครั้งต่อปี เฉลี่ย 3-5 ตัวต่อครั้ง หรือมียอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 40% ส่วนแนวโน้มปีหน้าคาดว่าเครื่องสำอางและเครื่องประดับผู้ชายจะเป็นกลุ่มที่มาแรง

สำหรับแผนการทำตลาดจากนี้ เดอะ มอลล์กรุ๊ปหันมาให้ความสำคัญกับแผนกเครื่องแต่งกาย เครื่องหนัง เครื่องกีฬาและรองเท้าสำหรับผู้ชายมากขึ้น โดยล่าสุดได้เปิด ตัวแผนกรองเท้าและเครื่องหนังชาย ที่ศูนย์ การค้าสยามพารากอน บริเวณชั้น 2 บน พื้นที่ 30,000 ตร.ม. ซึ่งถือเป็นแคปปิตอล ออฟ แฟชั่น ของสินค้าผู้ชาย หรือแหล่งรวมสินค้า แฟชั่นสำหรับผู้ชายหลากหลายชนิด ทั้งเครื่องแต่งกาย ยีนส์ เครื่องประดับผู้ชาย กีฬา ตลอดจนแผนกรองเท้าและเครื่องหนังชาย

ทั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกของเดอะมอลล์ ที่จะพัฒนาแบรนด์ของตนเองในแผนกรองเท้าและเครื่องหนังชาย ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ รูปแบบแรกเป็นแบรนด์เฉพาะของสยามพารากอน โดยจะนำเข้าสินค้าแบรนด์ดังที่ยังไม่เคยจำหน่ายในประเทศไทย อาทิ แบรนด์ VON DUTCH จากประเทศสหรัฐอเมริกา, LAXAL จากประเทศญี่ปุ่น และ SABELT จากประเทศอิตาลี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบสำหรับนักธุรกิจ และแบบลำลอง ส่วนรูปแบบสามเจาะตลาดตั้งแต่ลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นไปจนถึงวัยทำงาน

โดยช่วงเปิดตัว 9 วันแรกวางงบการตลาดไว้ที่ 14 ล้านบาท พร้อมกันนี้ยังได้วางแผนการตลาดอีโมชันนัลมาร์เกตติ้งเป็นหลัก เราคาดว่าจะมียอดขายของแผนกรองเท้าและเครื่องหนังเดือนละ 10 ล้านบาท หรือยอดขายปีแรก 120 ล้านบาท และตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาดสินค้าแฟชั่นผู้ชายของเดอะมอลล์กรุ๊ปจะเพิ่มจาก 18% เป็น 23% ในปีหน้านี้ จากมูลค่าตลาดสินค้าแฟชั่นผู้ชาย 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากสยามพารากอน 4% หรือ 400 ล้านบาท

สำหรับในปีหน้านี้ บริษัทตั้งเป้าหมายจะ มียอดขายจากแผนกสินค้าผู้ชายที่ประกอบด้วย เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องหนังและกีฬา ประมาณ 5,300 ล้านบาท เติบโต 10% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาโต 8% โดยเป็นรายได้จาก สยามพารากอน 1,200 ล้านบาท เดอะ มอลล์ และดิ เอ็มโพเรียม 4,100 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us