Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 ธันวาคม 2548
บลจ.เดินหน้าจัดเรตติ้งกองทุน!แผนการตลาดเรียกความเชื่อมั่น             
 


   
www resources

โฮมเพจ ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)

   
search resources

ฟิทช์ เรตติ้งส์
Funds




ฟิทช์ฯคาดธุรกิจกองทุนรวมหันมาจัดเรตติ้งกองทุนตราสารหนี้มากขึ้น หวังเป็นแผนการตลาดเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุน เนื่องจากมีตัวกลางที่ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพตราสาร และการบริหารจัดการของบลจ. หลังแนวโน้มลูกค้าเงินฝากเริ่มโยกเงินลงทุนผ่านกองทุนตราสารหนี้ ชี้หลังสถาบันประกันเงินฝากเกิดจะทำให้คนเริ่มตื่นตัวในการวางแผนการลงทุน

นายวินเซนต์ มิลตัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิทช์ เรตติ้งส์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า แนวโน้มหลังการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากจะทำให้มีเงินฝากไหลเข้าสู่ธุรกิจกองทุนรวมมากขึ้น เพราะการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มีการค้ำประกันเงินฝากบางส่วน ซึ่งทำให้กองทุนที่มี นโยบายลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับการตอบรับจากนักลงทุน
นายเลิศชัย กอเจริญรัตนกุล Associate Director Corporates บริษัท ฟิทช์ เรตติ้งส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า การจัดเรตติ้งกองทุนตราสารหนี้ของบริษัทในขณะนี้มี 2 บลจ.ที่ให้ฟิทช์ฯจัดเรตติ้งกองทุนตราสารหนี้ให้คือ บลจ. ทหารไทย และบลจ.อยุธยาเจเอฟ และในช่วงที่ผ่านมามีการเจรจากับบลจ.หลายแห่ง เพื่อเข้าไปทำหน้าที่จัดเรตติ้งกองทุนตราสารหนี้ให้

"การจัดเรตติ้งกองทุนรวม ฟิทช์ฯได้ทำมานานแล้วในต่างประเทศ ซึ่งได้รับตอบรับมาก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ในยุโรปเริ่มมีมากขึ้น ขณะที่ตลาดเอเชียเริ่มมีความต้องการให้จัดเรตติ้ง กองทุนรวมเช่นเดียวกัน เช่น เกาหลี จีน และ ในประเทศไทย เริ่มมีการจัดเรตติ้งกองทุนตราสารหนี้ในปีนี้เป็นครั้งแรก" นายเลิศชัยกล่าว

สำหรับกองทุนรวมตราสารหนี้กองแรกของประเทศไทยที่มีการจัดเรตติ้ง โดยฟิทช์ฯ คือ กองทุนเปิดอยุธยาตราสารเงิน (AJFCASH) ของบลจ.อยุธยาเจเอฟ ได้รับการจัดอันดับ ที่ระดับ "AA(tha)" / "V1(tha)" ส่วนกองที่สองคือ กองทุนเปิดทหารไทยธนรัฐ ของ บลจ.ทหารไทย ได้ประกาศให้เครดิตกองทุนดังกล่าวที่ระดับ AAA (tha)/V1+(tha)

นายเลิศชัย กล่าวว่า การจัดเรตติ้งกองทุนจะส่งผลดีทั้งกับกองทุนรวม และนักลงทุนที่ลงทุนผ่านกองทุน เนื่องจากมีตัวกลางที่มีอิสระเข้ามาทำหน้าที่วิเคราะห์กองทุนให้แก่นักลงทุน ซึ่งทำให้ผลการวิเคราะห์ออกมามีความโปร่งใส และเป็นธรรม ขณะเดียวกัน ยังทำให้กองทุน มีการเปิดเผยข้อมูลการลงทุน การบริหารจัดการมากขึ้น เนื่องจากการจัดอันดับเครดิตต้องมีการติดตามข้อมูลเป็นรายเดือน รายสัปดาห์ ว่า นโยบายการลงทุนของผู้จัดการกองทุนมีการปรับเปลี่ยนอย่างไรบ้าง หรือมีการควบคุมความเสี่ยงอย่างไร ซึ่งหากพบความผิดปกติ

นอกจากนี้ บลจ.ที่จัดเรตติ้งกองทุนยังสามารถที่จะนำเรตติ้งที่ได้รับการจัดอันดับเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ถึงความโปร่งใสในการดำเนินงานของกองทุน ซึ่งจุดนี้ในแง่ของการตลาดถือว่าดีสำหรับบลจ.ที่ชี้ให้เห็นถึงความโปร่งใสในการทำงาน และเชื่อว่าหากกองทุนมีความตื่นตัวในเรื่องของการจัดเรตติ้ง จะทำให้ตลาดกองทุนรวมในอนาคตขยายตัวได้อีกมาก

"ในช่วงที่ผ่านมา เราได้มีการนำเสนอข้อมูลกับบลจ.หลายแห่ง และเริ่มเห็นการตื่นตัวของบลจ. ซึ่งเริ่มหันมาให้ความสำคัญต่อการจัดเรตติ้งกองทุนมากขึ้น โดยเชื่อว่าในปีหน้าจะมีบลจ.หลายแห่งที่จัดเรตติ้งกองทุน"

นายเลิศชัยกล่าวอีกว่า ในปีนี้มีเงินฝากไหลเข้ากองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ และกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตลาดเงินเป็นจำนวนมาก มูลค่าประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยส่วนใหญ่นักลงทุนต้องการโยกเงินฝาก เพื่อหาโอกาสการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ในช่วงที่แนวโน้ม อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น และบางกลุ่มมีการพักเงินฝากไว้ในกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตลาดเงิน เพื่อรอจังหวะดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ก่อนที่จะนำเงินไปลงทุนในระยะยาวซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us