Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540
"โมเดิร์นฟอร์มโอเอ" ม้ามืดที่เลือกแล้วของเนทสเคป"             
 


   
search resources

โมเดิร์นฟอร์มโอเอ
อดิเรก ปฏิทัศน์
Networking and Internet




ทำไม เนทสเคปจึงแต่งตั้งให้เอ็มเฟคเป็นตัวแทนจำหน่ายในไทย…เอ็มเฟคเป็นใครมาจากไหน…?

เป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจของผู้คนในวงการไอทีในระยะนี้

อย่างที่รู้ว่าเนทสเคปนั้นมีบทบาทอย่างมากในโลกไซเบอร์สเปซในฐานะเจ้าของซอฟต์แวร์อินเตอร์เน็ตเบราเซอร์ "เนวิเกเตอร์" โปรแกรมค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตที่มีส่วนแบ่งตลาดทั่วโลก 80%

เนทสเคป ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาจากบริษัทเล็กๆ โดยนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพียงไม่กี่คน แต่หลังจากคิดค้นเนวิเกเตอร์ขึ้นมาและนำมาใส่ลงในอินเตอร์เน็ต เพื่อให้บรรดานักท่องอินเตอร์เน็ตดาวน์โหลดใช้ฟรีบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จนกลายเป็นเบราเซอร์ยอดฮิตของนักโต้คลื่นในโลกไซเบอร์สเปซ ซึ่งเนทสเคปใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปี เติบใหญ่กลายเป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา

ทำเอาไมโครซอฟท์ที่เคยคาดการณ์ผิดมองข้ามอินเตอร์เน็ตไปอย่างเฉยเมยก็ยังต้องเหลียงกลับมามองด้วยสายตาใหม่ด้วยนโยบายของบิล เกตต์ ที่ประกาศอย่างชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ทุกชนิดจะต้องผูกติดกับอินเตอร์เน็ต และจากนั้นไมโครซอฟท์ก็กลายเป็นคู่กัดแห่งปีกับเนทสเคปไปโดยปริยาย หลังจากที่ไมโครซอฟท์วางตลาดเบราเซอร์ "ไมโครซอฟท์ เอ็กซ์พลอเรอร์" ตั้งแต่เวอร์ชั่น 1 ไล่ดะมาจนถึงเวอร์ชั่น 4 เพื่อไล่กวดกับเนทสเคปที่ชิงตลาดไปแล้วหลายขุม

ขณะที่การไล่กวดทางเทคโนโลยีระหว่างไมโครซอฟท์และเนทสเคปไม่มีวันสิ้นสุด การขยายตลาดในต่างประเทศก็เป็นเรื่องจำเป็นไม่น้อย เมื่อที่มาของรายได้ไม่ได้อยู่ที่สหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียว

ในขณะที่ไมโครซอฟท์เข้ามาลงหลักปักฐานตั้งสำนักงานในไทยตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว แต่การเดินทางของเนทสเคปกลับเพิ่งเริ่มต้นขึ้นไม่นานนี้ ด้วยเหตุนี้ส่วนแบ่งตลาดของเบราเซอร์ในไทยจึงสวนทางกับตลาดโลก เพราะตกไปอยู่กับ "เอ็กซ์พลอเรอร์" ของไมโครซอฟท์ส่วนใหญ่

การเริ่มต้นของเนทสเคปในไทยนั้นไม่ได้เริ่มด้วยตัวเอง แต่เริ่มมาจากการที่บริษัท "เซมบาวัง มีเดีย คอร์ปอเรชั่น" ตัวแทนจำหน่ายของเนทสเคปในสิงคโปร์ มองเห็นลู่ทางการขยายตลาดในไทย จึงมอบหมายให้โอจีเอ ซินคอม-บริษัทค้าอุปกรณ์สำนักงานของไทยให้เป็นตัวแทนจำหน่ายในไทย เรียกว่าเป็นการซับคอนแทรกต์ (subcontract) และต่อมาทางสามารถอินโฟร์เน็ต หนึ่งในเครือสามารถกรุ๊ปก็ประกาศตัวเป็นตัวแทนของซัมบางวังอีกราย ทำให้โอจีเอฯ นั่งไม่ติด ต้องออกมาตอบโต้จนกลายเป็นศึกย่อยๆ ในการแย่งชิงเป็นตัวแทนเนทสเคปให้กับเซมบาวังไปโดยปริยาย

ไหนๆ ก็ถูกแย่งชิงกันเป็นตัวแทน ทั้งที่เนทสเคปเองไม่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของตัวแทนจำหน่ายเหล่านี้แม้แต่น้อย ประกอบกับตลาดอินเตอร์เน็ตของไทยเติบโตขึ้นทุกปี บรรดาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) ก็เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นเงาตามตัว ที่เปิดให้บริการไปแล้วก็มีเกือบสิบราย และที่จรดปากการับใบอนุญาตมาแล้วรอเปิดให้บริการก็อีกหลายราย ที่สำคัญลูกค้าองค์กรก็หันมาให้ความสำคัญกับตลาดทางด้านอินทราเน็ตกันมากขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วตลาดเมืองไทยก็ไม่อาจมองข้ามได้อีกต่อไป ถึงคราวที่เนทสเคปจะต้องลงมือควานหาตัวแทนจำหน่ายในไทยด้วยตัวเอง

แน่นอนว่าการประกาศหาตัวแทนจำหน่ายของเนทสเคปย่อมได้รับความสนใจจากผู้คนในวงการไอทีหลายราย ทั้งตัวแทนหน้าเก่าและกลุ่มทุนที่มีธุรกิจผูกพันกับอินเตอร์เน็ต ต่างก็เดินหน้าเข้าเจรจากับเนทสเคปกันคับคั่ง

แต่แล้วเนทสเคปก็สร้างความประหลาดใจให้กับวงการด้วยการมองข้ามบริษัทหน้าเก่าอย่างโอจีเอฯ หรือแม้แต่บริษัทสามารถฯ หนึ่งในกลุ่มทุนไอทีที่มีบทบาทของไทย แต่หันไปเลือกบริษัทหน้าใหม่อย่าง "เอ็มเฟค" ชื่อเต็มคือ โมเดอร์นฟอร์ม เอ็นเตอร์ไพรซ์ คอมพิวเตอร์ บริษัทน้องใหม่ในเครือของโมเดอร์นฟอร์มโอเอ ซึ่งเกิดจากการร่วมทุนกับบรรดานักพัฒนาซอฟท์แวร์จากแหล่งต่างๆ

"ที่เราได้รับเลือกจากเนทสเคปไม่ได้เป็นเพราะเราเก่ง แต่เป็นเพราะเราเป็นกลางมากที่สุด เนื่องจากเราไม่ได้เป็นไอเอสพี ไม่ได้เป็นเอสไอ (ซิสเต็มส์อินทริเกเตอร์ : ผู้ทำหน้าที่ขายเครื่องพร้อมกับวางระบบและเป็นที่ปรึกษา) ที่จะทำธุรกิจแข่งกับลูกค้าของเนทสเคป" อดิเรก ปฏิทัศน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทโมเดอร์นฟอร์มโอเอตอบคำถามที่อยู่ในใจของใครหลายคน

แม้โมเดอร์นฟอร์มจะไม่ใช่ TOP 10 ในตลาดคอมพิวเตอร์ แต่ก็มีฐานเงินทุนไม่น้อย เพราะมีบริษัทในเครือทำธุรกิจค้าเฟอร์นิเจอร์สำนักงานรายใหญ่ของไทยในนามโมเดอร์นฟอร์ม

ที่สำคัญ เป้าหมายในการเข้ามาเมืองไทยของเนทสเคปไม่ได้อยู่ที่ตลาดเบราเซอร์ แม้จะสร้างชื่อมาจากสินค้าตัวนี้แต่ไม่ใช่ตัวทำเงิน แต่เป็นตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่มีลูกค้าองค์กรเป็นเป้าหมายหลัก และนั่นก็คือตลาดทางด้านอินทราเน็ตนั่นเอง

โมเดอร์นฟอร์มโอเอนั้น เริ่มต้นและเติบโตมาจากธุรกิจค้าพีซีมาตลอด 4 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ปัจจุบันโมเดอร์นฟอร์มเป็นตัวแทนขายพีซี ไอบีเอ็ม คอมแพค แพคการ์ดเบลล์ และยังเข้าไปถือหุ้นในบริษัทคอมเวิลด์ ร้านค้าคอมพิวเตอร์ที่ขายปลีกไปยังผู้บริโภค

แต่ธุรกิจค้าพีซีไม่ได้หอมหวนอีกต่อไป เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สงครามราคาทำให้ราคาเครื่องลดต่ำลงตลอดเวลา ผลกำไรจากที่ได้หดลงเหลือไม่ถึง 10% กลายเป็นโจทย์หินของผู้ค้าพีซีที่หากเผลอไผลไปเพียงนิดเดียวก็อาจต้องถูกเขี่ยลงจากเวทีได้ทุกเมื่อ โมเดอร์นฟอร์มจึงต้องมองหาลู่ทางใหม่ๆ เพราะการหวังพึ่งธุรกิจค้าพีซีอย่างเดียวไม่ได้แล้ว

หลังจากศึกษาตลาดแล้ว อดิเรกพบว่า กลุ่มลูกค้าทางด้านองค์กรมีการเติบโตสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดเน็ทเวิร์คกิ้ง (เครือข่าย) จะมีบทบาทมากขึ้นทุกที โมเดอร์นฟอร์มจึงจับมือกับทีมเอ็นจิเนียในวงการร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัทเอ็มเฟคด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้าน เพื่อทำตลาดลูกค้าองค์กรโดยเฉพาะ

ก่อนหน้าที่จะคว้าสิทธิการเป็น COUNTRY DISTRIBUTOR ให้กับเนทสเคป เอ็มเฟคก็ได้รับสิทธิเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับซันไมโครซิสเต็มส์ มาก่อนหน้านี้

อดิเรกเล่าว่า การทำตลาดให้กับเนทสเคปจะเน้นไปที่การขายผ่านตัวแทนจำหน่าย คือ สามารถ อินโฟร์เน็ต และโอจีเอ ที่กลายสภาพมาเป็นคู่ค้าให้กับเอ็มเฟค และจะมีการแต่งตั้งเอสไออีก 10 รายให้เป็นตัวแทนขาย

"บทบาทของเอ็มเฟคจะไม่ได้มีหน้าที่ขายให้กับลูกค้า แต่เราจะมีหน้าที่สนับสนุนทั้งทางด้านเทคนิค และการฝึกอบรม ให้กับตัวแทนจำหน่าย" อดิเรกชี้แจง

ในฐานะม้ามืดในวงการ เอ็มเฟคจึงถูกจับตามองว่า การผลักดันเนทสเคปขึ้นสู่เป้าหมาย โดยที่มีไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เป็นคู่แข่งตัวฉกาจไล่กวดตามมาติดๆ ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักสำหรับเอ็มเฟค เพียงแค่สถานภาพของทั้ง 2 ก็ต่างกันแล้ว ไมโครซอฟท์นั้นสำนักงานเป็นของตัวเอง ในขณะที่เอ็มเฟคเป็นแค่ตัวแทนจำหน่าย ความยืดหยุ่นในการทำกิจกรรมทางการตลาด หรือในการทำตลาดย่อมแตกต่างกันไปด้วย

แต่สำหรับอดิเรกแล้ว เขามองว่าไม่ใช่ปัญหาสำคัญ เนทสเคปมีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดตลอดเวลา ซึ่งเอ็มเฟคก็จะทยอยนำเข้าสู่ตลาด ไม่ว่าจะเป็น เนทสเคป แมสเซนเจอร์ โปรแกรมทางด้านอีเมล เนทสเคป คอลลาบรา โปรแกรมที่ใช้แลกเปลี่ยนข่าวสารในองค์กร

ที่สำคัญความร่วมมือระหว่างเนทสเคปและเอ็มเฟค ไม่ได้มุ่งไปที่การผลักดันยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงการร่วมกันพัฒนาโปรแกรมให้เป็นภาษาไทย ซึ่งจะเริ่มจากเซิสเอ็นจิ้น-โปรแกรมในการค้นหาข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ

รวมทั้งเอ็มเฟคจะต้องจัดตั้ง "เนทสเคป เอ็ดดูเคชั่น เซ็นเตอร์" เพื่อใช้เป็นศูนย์ฝึกอบรมให้กับลูกค้าของเนทสเคป โดยจะเริ่มที่สำนักงานใหญ่ของโมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ปเป็นแห่งแรกก่อนจะทยอยจัดตั้งที่อื่น ซึ่งจะมีทั้งที่จัดตั้งเองและเลือกตัวแทนจำหน่ายให้เป็นผู้ดำเนินการ

ด้วยกลยุทธ์เหล่านี้ทำให้อดิเรกเชื่อว่า "ตลาดจะไม่เป็นของใครทั้ง 100%" อดิเรกยืนยัน

แต่ก็ไม่รู้ว่าเอ็มเฟคจะทำส่วนแบ่งให้กับเนทสเคปได้กี่เปอร์เซ็นต์เป็นเรื่องต้องติดตาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us