Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540
"ล็อกซเล่ย์จัดกระบวนทัพ "ยอมพลาดโอกาสดีกว่าเสี่ยง"             
 

 
Charts & Figures

บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)


   
www resources

โฮมเพจ ล็อกซเล่ย์

   
search resources

ล็อกซเล่ย์, บมจ.
ธงชัย ล่ำซำ




ดูเหมือนจะเป็นธรรมเนียมของแทบทุกองค์กรพอถึงต้นปีก็ต้องมีการปรับโครงสร้างอค์กรใหม่ให้มีความกระฉับเกระเฉงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะเศรษฐกิจซบเซาเช่นนี้ ทำเอาหลายองค์กรต้องหันมา "รีสตรัคเจอร์" องค์กรให้มีความกระชับและลดค่าใช้จ่ายลงทุกทาง

เช่นเดียวกับล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) บริษัทเทรดดิ้งเก่าแก่ของเมืองไทย ที่มีนักธุรกิจมากมายจนได้ชื่อว่าค้าขายตั้งแต่ "ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ" ก็ถึงคราวต้องปรับองค์กรกันอีกครั้งเพื่อรับมือกับภาวะที่เกิดขึ้น

ปีนี้ล็อกซเล่ย์ใช้วิธีจัดทัพใหม่ด้วยการนำธุรกิจที่มีทั้งหมดที่กระจุกรวมอยู่กลุ่มเดียวกันนำมาแบ่งกลุ่มใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 12 กลุ่ม ภายใต้ชื่อกลุ่มเทรดดิ้ง และมีกลุ่มสนับสนุนอีก 6 กลุ่ม (ดูตารางประกอบ) ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีผู้บริหารที่มารับผิดชอบงานอย่างชัดเจน

เป้าหมายของการปรับโครงสร้างของล็อกซเล่ย์ครั้งนี้ ไม่ได้อยู่ที่รายได้หรือผลกำไร เพราะแน่นอนว่าการหวังเม็ดเงินก้อนโต หรือการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ในภาวะเศรษฐกิจซบเซาแบบนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ ดีไม่ดีอาจเพลี่ยงพล้ำยิ่งกว่าเดิม เพียงแค่บริหารธุรกิจที่มีอยู่รอดปลอดภัยก็เพียงพอ

"เป้าหมายของเราไม่ได้อยู่ที่รายได้หรือผลกำไรเลยในภาวะแบบนี้ ผมบอกได้เลยว่าทำยอดขายไม่ยาก ทำกำไรก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ขายแล้วเก็บเงินได้หรือเปล่าเป็นสิ่งสำคัญและจะจัดการอย่างไรให้องค์กรอยู่รอดได้ และจะช่วยคู่ค่าได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่เราต้องทำ" ธงชัย ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด ชี้แจง

ในจำนวน 12 กลุ่มธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นจะมีทั้งธุรกิจดั้งเดิมที่ล็อกซเล่ย์ลงหลักปักฐานมานานแล้ว รวมทั้งธุรกิจใหม่ที่ถูกจัดตั้งขึ้นให้อยู่ในจำนวน 12 กลุ่มนี้ คือ กลุ่มสิ่งแวดล้อม กลุ่มจาโก้ กลุ่มมีเดียและบันเทิง กลุ่มบริการ

ธงชัย เล่าว่าการจัดองค์กรในลักษณะนี้จะส่งผลเกิดการกระจายอำนาจและทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจมากกว่าเดิม เนื่องจากล็อกซเล่ย์มีธุรกิจในมือหลากหลายย่อมมีทางเลือกและมีโอกาสกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจได้มากขึ้น

เขายกตัวอย่างให้ฟังว่า ในช่วง 3-4 ปีที่แล้วเป็นยุคที่ธุรกิจโทรคมนาคมบูม ธุรกิจคอมพิวเตอร์ อสังหาริมทรัพย์ และคอนซูมเมอร์โปรดักส์เติบโต ทั้ง 4 กลุ่มนี้จึงเป็นที่มาของรายได้ 70% ของรายได้รวม แต่เมื่อมาถึงช่วงเศรษฐกิจซบเซาและอาจส่งผลให้ธุรกิจเหล่านี้ไม่เติบโตหวือหวาเช่นแต่ก่อน ล็อกซเล่ย์ก็ยังมีโอกาสไปแสวงหารายได้จากธุรกิจในกลุ่มอื่นๆ ที่มีอยู่ได้

ดังเช่น ธุรกิจสิ่งแวดล้อมที่ธงชัยจะลงมารับผิดชอบเอง เขาเชื่อว่าธุรกิจนี้จะมีอนาคตที่ดีมากในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า จากนโยบายของรัฐและเอกชนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะจากโครงการบำบัดขยะของกทม. ซึ่งหากล็อกซเล่ย์คว้าโครงการนี้ได้จะเป็นธุรกิจอนาคตของล็อกซเล่ย์

เช่นเดียวกับกลุ่มจาโก้ เป็นการร่วมลงทุนระหว่างล็อกซเล่ย์ และบริษัทจีเทค จากสหรัฐอเมริกา เพิ่งรับสัมปทานในการจัดทำสลากกินแบ่งอัตโนมัติมาหมาดๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของตรีจักร ตัณฑ์ศุภศิริ ที่โยกมาจากบริษัทโปรเฟสชั่นแนล คอมพิวเตอร์ คอมปานี หรือพีซีซี หนึ่งในกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่ทำธุรกิจประมูลงานคอมพิวเตอร์มาเป็นผู้รับผิดชอบธุรกิจนี้ ธงชัยหวังว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจอนาคตอีกกลุ่มของล็อกซเล่ย์ แต่ยังไม่แน่ว่าความหวังของล็อกซเล่ย์จะเป็นจริงหรือไม่ เพราะเมื่อเร็วๆ นี้มีคำสั่งจากกระทรวงการคลังให้มีการวิจัยผลกระทบของโครงการนี้ใหม่อีกครั้ง

ทางด้านกลุ่มสนับสนุน แม้ไม่ใช่ธงนำของล็อกซเล่ย์ในเวลานี้ แต่ก็เป็นกิจกรรมของล็อกซเล่ย์ที่ไม่อาจมองข้ามได้ ดังเช่น การลงทุนในธุรกิจต่างประเทศ ที่ล็อกซเล่ย์ไม่ได้ลงทุนมากหรือหวังเม็ดเงินก้อนโต เพราะยังยึดคติลงทุนแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เกิน 100 ล้านบาท ไม่ตูมตามเหมือนกลุ่มทุนอื่นๆ แต่ก็นับเป็นความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของล็อกซเล่ย์ ที่ผ่านมาล็อกซเล่ย์ได้เข้าไปลงทุนทางด้านโทรคมนาคม ในหลายประเทศ ทั้งในอินโดจีน อินเดียว ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ พม่า ลาว บังกลาเทศ และขยายไปถึงออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และเกาหลีเหนือ

รวมทั้งการที่ล็อกซเล่ย์เริ่มหันมามองตลาดต่างจังหวัดก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่น่าจับตามอง เพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีมานี้ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายออกสู่ภูมิภาคของกลุ่มทุนหลายกลุ่มในเวลานี้

ธงชัย เล่าว่า ล็อกซเล่ย์จะเริ่มต้นด้วยการจัดตั้งสำนักงานสาขาที่เชียงใหม่และระยอง ซึ่งเขาเรียกสำนักงานเหล่านี้ว่า "มินิล็อกซเล่ย์" เพื่อทำหน้าที่กระจายสินค้าและบริการของล็อกซเล่ย์ไปยังจังหวัดต่างๆ ซึ่งปัจจุบันล็อกซเล่ย์ได้มีการลงทุนในธุรกิจหลายด้านไปแล้วในหลายจังหวัด

นอกจากนี้การจัดทัพใหม่ของล็อกซเล่ย์ ยังให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจเพื่อเน้นความคล่องตัวมากที่สุด ซึ่งก็อาจเรียกได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ล็อกซเล่ย์หันมาให้ความสำคัญในเรื่องนี้

"ผู้บริหารเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นเสมือนซีอีโอที่ต้องรับผิดชอบธุรกิจในกลุ่มของตัวเอง อาจจะเรียกว่าเป็นครั้งแรกของล็อกซเล่ย์ก็ว่าได้" ผู้บริหารของล็อกซเล่ย์สะท้อนแนวคิด

ผลพวงจากนโยบายนี้จึงมีการจัดตั้งกลุ่มโทรคมนาคมที่แยกตัวมาจากกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งในกลุ่มโทรคมนาคมได้โปรโมตให้ชิตชัย นันทภัทร์ ลูกหม้อเก่าแก่ของล็อกซเล่ย์ แต่เดิมรับผิดชอบธุรกิจวิทยุติดตามตัวฮัทชิสันเป็นผู้ดูแล ส่วนธุรกิจส่วนกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานมีสุจินต์ สุวรรณชีพ ที่หันมาเน้นโครงการใหญ่ เช่น โทรศัพท์ 1.5 ล้านเลขหมาย และโรงงานสวิทชิ่งจะต้องรับผิดชอบธุรกิจทางด้านพลังงานด้วย

เมื่อเป้าหมายของการจัดกระบวนทัพใหม่ไม่ได้เกิดจากปัจจัยของการเพิ่มรายได้ แต่เพื่อความอยู่รอดแน่นอนว่าการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ล็อกซเล่ย์จำเป็นต้องชะลอไปก่อน เพราะเพียงแค่ทำอย่างไรให้ธุรกิจที่มีอยู่ทั้งหมดเดินหน้าต่อไปได้

วสันต์ จาติกวณิช กรรมการบริหาร บริษัทล็อกซเล่ย์ กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า ช่วงปีสองปีนี้จะเป็นช่วง "CONSERVATIVE" ของล็อกซเล่ย์ ซึ่งจะต้องระมัดระวังเรื่องการลงทุนธุรกิจใหม่ๆ เป็นพิเศษ

"ในช่วงเศรษฐกิจไม่แน่นอนเรายอมพลาดโอกาสดีกว่าเสี่ยง" วสันต์ตอกย้ำ

ด้วยสาเหตุนี้เอง นับจากนี้เป็นต้นไป "ล็อกซเล่ย์" ที่ยึดนโยบายช้าๆ ได้พร้าเล่มงามก็คงต้องช้าลงไปอีก!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us