|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กลุ่มทรูเร่งขยายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย หลังเชื่อ ว่าแนวโน้มการใช้บรอดแบนด์จะเหมือนกับการโตของโทรศัพท์มือถือ ด้วยทุนที่วางไว้แล้วกว่า 700 ล้านบาท จนขณะนี้ครอบคลุมการให้บริการในกรุงเทพฯแล้ว 2,000 จุด และจะเป็น 2,500 จุดในปีหน้า ส่วนต่างจังหวัดยังเดินไปพร้อมกับพาร์ตเนอร์
นายธิติฎฐ์ นันทพัฒน์สิริ ผู้อำนวยการบริหาร Home/Consumer Solution & High Speed Access บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านเทคโนโลยีไว-ไฟหรือฮอตสปอตว่า ไว-ไฟเป็นแนวโน้มใหม่ของไลฟ์-สไตล์คนเมืองในหลายๆ ประเทศที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนเมืองได้ทุกที่ ทุกเวลา
ทรูได้มีการขยายบริการดังกล่าว อย่างต่อเนื่องจากเริ่มแรกเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาเพียง 80 จุด จนปัจจุบันขยายจนถึง 2,000 จุด และมีแผนจะขยายให้ครอบคลุมในพื้นที่กรุงเทพฯแบบ 100% ด้วยเครือข่าย 2,500 จุด จากงบประมาณที่เตรียมไว้สำหรับบริการไว-ไฟทั้งหมดประมาณ 600-700 ล้านบาท
การที่กลุ่มทรูเร่งขยายบริการเน็ตไร้สาย เพราะเชื่อว่าแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริการจะมีการใช้งาน เหมือนมือถือ ที่มีอัตราการโตอย่างต่อ เนื่องและรวดเร็ว เพราะขณะนี้อุปกรณ์สื่อสารที่รองรับไว-ไฟมีมากขึ้น ราคาถูกลง รวมถึงค่าบริการที่เริ่มถูกลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปีหน้าคาดว่าจะมีผู้ใช้ไว-ไฟเป็นหลักแสนรายขึ้นไป จากปัจจุบันที่มีอยู่ทั้งบรอดแบนด์และพรีเพดการ์ดประมาณ 1 หมื่นราย
แต่ที่สำคัญเป็นการต่อยอดบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ของกลุ่มทรูที่ปัจจุบันมีผู้ใช้ประมาณ 3 แสนกว่าราย ซึ่งจะทำ ให้ลูกค้าของทรูสามารถใช้งานได้ทั้งแบบมีสายและไร้สาย จนทำให้กลุ่ม ทรูมีรายได้จากบริการบรอดแบนด์ในปีนี้ประมาณ 2,500 ล้านบาท
"6 เดือนที่ผ่านมาเรามีลูกค้า บรอดแบนด์ต่อเดือนเพิ่มสูงมาก ซึ่งตรงนี้จะคล้ายกลับฟิกซ์ไลน์กับมือถือ เพราะขณะนี้โน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะรองรับไว-ไฟ และส่วนนี้จะเป็น การเสริมบรอดแบนด์ที่คนเคยใช้ในบ้านหรือที่ทำงานแล้วต้องการนำไปใช้ นอกบ้านด้วย" นายนพปฎล เดชอุดม ผู้อำนวยการและผู้จัดการทั่วไป ด้าน Mail-line ของทรูกล่าวเสริม
ส่วนการให้บริการไว-ไฟในพื้นที่ ต่างจังหวัด กลุ่มทรูจะไปพร้อมกับพาร์ตเนอร์ เช่น ห้างเดอะมอลล์ ก็จะมีทุกสาขา หรือเซ็นทรัลก็จะมีทุกสาขา เป็นต้น
ในโอกาสขยายเครือข่ายไว-ไฟครบ 2,000 จุด กลุ่มทรูได้มีการจัดรายการพิเศษที่เรียกว่า Wi-Fi be Wirefree Campaign เพื่อสร้างการรับรู้และให้ประชาชนเข้ามาทดลองใช้งานเครือข่ายอิสระไร้สายให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยให้สิทธิพิเศษกับกลุ่มลูกค้าปัจจุบันที่ใช้บรอดแบนด์ ของทรูและผู้ใช้มือถือออเร้นจ์แบบราย เดือน ใช้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายฟรี 10 ชั่วโมงและยังได้รับสิทธิค่าบริการ รายเดือนแบบไม่จำกัดชั่วโมงเพียง 250 บาท ส่วนลูกค้าใหม่จะได้รับสิทธิ ทดลองใช้ฟรีนาน 30 นาที และสามารถใช้บริการแบบเหมาจ่ายรายเดือนในราคา 500 บาท นอกจากนี้ ยังมีแคมเปญไว-ไฟ พาสปอร์ต ที่ให้ลูกค้าที่ใช้บริการมากสุดลุ้นรับรางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 แสนบาท
นอกจากไว-ไฟแล้วกลุ่มทรูยังยืนขอคลื่นไวแมกซ์ จากคณะกรรม-การกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพื่อเสริมศักยภาพการให้บริการเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไวแมกซ์จะมีการส่งต่อสัญญาณเหมือนกับคลื่นมือถือ และมีรัศมีการส่งสัญญาณ เป็นระดับกิโลเมตร ซึ่งต่างจากไว-ไฟที่ส่งสัญญาณได้ไม่กี่เมตร สำหรับไว-แมกซ์ขณะนี้กลุ่มทรูได้ทดลองอยู่กับอินเทล ที่มีชิปเซ็นทริโนในโน้ตบุ๊กซึ่งรองรับการใช้งานแบบไร้สายโดยตรง
นายธิติฎฐ์กล่าวถึงอัตราการโตของอินเทอร์เน็ตว่า ตลาดโดยรวมยังโตต่อเนื่อง แต่ขณะนี้ยังติดปัญหาเรื่องของแบนด์วิดท์ ซึ่งเป็นวงจรเช่าที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ถ้าจะทำให้ตลาดอินเทอร์เน็ตโตมากขึ้น ภาครัฐต้องแก้ปัญหาเรื่องของเกตเวย์ได้ที่วงจรเช่าไม่เพียงพอก่อน เพราะหากมีการแก้ไขปัญหาตรงนี้จะทำให้มีการดาวน์โหลดข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น เพราะสิ่งที่จะทำให้อินเทอร์เน็ตโตคือการเข้าถึงข้อมูล
รอไลเซนส์เกตเวย์
นายนพปฎล เดชอุดม ผู้อำนวยการและผู้จัดการทั่วไป ด้านMain-Line บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ ทรู กล่าวว่า หากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ไม่สามารถออกใบอนุญาต(ไลเซนส์) สำหรับวงจรเชื่อมต่อต่างประเทศ(เกตเวย์) กับ ทรู ได้ตามระยะเวลาหรือมีเงื่อนไขที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จะส่งผลกระทบ ต่อการทำตลาดธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง(บรอดแบนด์) ที่ทรูอาจจะ มีการชะลอตัวการแข่งขันในการสร้างลูกค้าใหม่ เนื่องจากวงจรเกตเวย์ที่ ทรู เชื่อมต่อผ่าน บริษัท กสท โทรคม-นาคม จำกัด(มหาชน) หรือ กสท ไม่สามารถเพิ่มวงจรได้อีกและไม่สามารถ รองรับการขยายตัวได้ทัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาเกือบ 3 เดือน นับจากเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ในปัจจุบัน ทรูมีอัตราการ ขยายตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในสิ้นปี 48 คาดว่าจะมีกลุ่มลูกค้าใช้บรอดแบนด์เป็นจำนวน 4 แสนราย ซึ่งหาก กทช. ออกไลเซนส์ดังกล่าวได้จะช่วยลดปัญหาได้
"ถึงแม้ กทช. จะออกให้ได้ ก็จะช่วยรองรับสถานการณ์ได้เพียง 5 ถึง 6 เดือน กว่าที่ทรูจะมีเกตเวย์เป็นของตัวเอง ซึ่งในส่วนนี้มีผลต่อการทำตลาดมากหรือความต้องการของผู้ใช้ ที่ปัจจุบันเริ่มให้ความสนใจใช้งานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง"
ขณะเดียวกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นนอกจากจะเป็นการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้แล้ว อีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ การใช้บริการคอนเทนต์จากต่างประเทศมากกว่าของไทย จึงทำ ให้วงจรที่ ทรู เช่าอยู่ไม่สามารถรอง รับได้ทัน การที่ ทรู ได้ดำเนินการยื่นขอไลเซนส์จะเป็นการช่วยลดปัญหาในการต่อวงจรออกต่างประเทศและการช่วยลดต้นทุนการให้บริการ ที่จะส่งผลให้อัตราค่าบริการจะถูกลง ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวทางที่ กทช. ต้องการให้เกิดบริการที่สอดคล้องกับความเป็นจริง มีอัตราราคาที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้
สำหรับแนวทางการลงทุนในส่วนนี้ยังไม่สามารถชี้แจงได้ ซึ่งจะต้องรอผลจาก กทช. ว่าจะกำหนดแนวทางการออกไลเซนส์ไปในลักษณะ ใด แต่ในด้านการเชื่อมต่อนั้นมีหลายโมเดล ทั้งในการเชื่อมต่อวงจรเองตรงผ่านทางมาเลเซีย หรือสิงคโปร์หรือการดำเนินการร่วมกับพันธมิตร ส่วนการแก้ปัญหาเบื้องต้นในช่วงเวลา 1 ปี ก่อนที่จะดำเนินการลงทุนแล้วเสร็จ ทรู อาจจะมีการเช่าเกตเวย์ ของ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เนื่องจากเป็นคู่สัญญาสัมปทานและ ทีโอที มีไลเซนส์เกตเวย์ เชื่อมต่อวงจรต่าง-ประเทศของตัวเอง ที่ได้รับจาก กทช. เมื่อ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา
|
|
|
|
|