Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 ธันวาคม 2548
หุ้นฟืนคลายกังวลการเมือง             
 


   
search resources

Economics
Stock Exchange




ตลาดหุ้นไทยพุ่งเกือบ 3% หลังอุณหภูมิการเมืองลดลง ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 3/48 ออกมาดูดีช่วย หุ้นน้ำมันรับอานิสงส์น้ำมันราคายังสูง ดันดัชนี "ภัทร" ชี้เงินลงทุนตรงในตลาดหุ้นมีเพียง 6 แสนล้านบาท ถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับฐานเงินฝาก คนไทยต้องเก็บออมมากขึ้น แนะลงทุนหุ้น "แบงก์-อาหาร-ก่อสร้าง" "ก้องเกียรติ" เผยตลาดหุ้นไทยยังแข่งขันกับใครยาก เหตุนักลงทุนต่างชาติน้อย ความน่าสนใจน้อยทำให้ดึงยักษ์ใหญ่ นอกมาจดทะเบียนยาก ประเมินอัตราการทำกำไรของ บจ.ในปีหน้าอาจจะติดลบ

ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (6 ธ.ค.) ดัชนีเปิดตัวในแดนบวกก่อนจะปรับขึ้น อย่างต่อเนื่องหลังได้แรงซื้อเข้ามาในหุ้นพลังงาน ธนาคาร ไฟแนนซ์ สื่อสาร ส่งผลให้ดัชนีปิดที่จุดสูงสุดของวันที่ระดับ 679.16 จุด เพิ่มขึ้น 19.25 จุด หรือ 2.92% ขณะที่จุดต่ำสุดอยู่ที่ 662.04 จุด มูลค่าการซื้อขาย 18,865 ล้านบาท

นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 935.28 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 420.47 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 1,355.75 ล้านบาท กลุ่มพลังงานกลับมาคึกคัก ดัชนีปิดที่ 13,893.25 จุด เพิ่มขึ้น 573.44 จุด หรือ 4.31% มูลค่าการซื้อขาย 5,348.73 ล้านบาท หุ้น บมจ.ปตท. ปิดที่ 222 บาท เพิ่มขึ้น 10 บาท หรือ 4.72%, บมจ.ไทยออยล์ ปิดที่ 63 บาท เพิ่มขึ้น 3.50 บาท หรือ 5.88%, บมจ.สำรวจและผลิตปิโตรเคมี ปิดที่ 460 บาท เพิ่มขึ้น 20 บาท หรือ 4.55%

นางสาวปองรัตน์ รัตนะตวณานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตลาดฯรับข่าวที่นายกรัฐมนตรีได้ถอนฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุลในทุกข้อกล่าวหา ส่งผลให้นักลงทุนคลายความกังวลในเรื่องประเด็นของการเมือง ซึ่งถือว่าคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นข่าวเรื่องของตัวเลขเศรษฐกิจ โดยเฉพาะตัวเลขของผลิต-ภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ที่ออกมาเกินคาด ทำให้นักลงทุนหันกลับมาและก่อนหน้าหุ้นขนาดใหญ่ได้ปรับตัวลดลงถึงจุดหนึ่งทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามา

"กลุ่มพลังงานที่ปรับตัวขึ้นแรง ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งมองว่าอากาศเริ่มที่จะหนาว และความต้องการใช้น้ำมันจึงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะไม่สูงเหมือนในช่วงที่ผ่านมาแต่มีแนวโน้มว่าการใช้จะสูงขึ้น"

สำหรับดัชนีในวันนี้ (7 ธ.ค.) คาดว่าตลาดหุ้นยังปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีหุ้นกลุ่มหลัก อย่างกลุ่มพลังงาน สื่อสาร และแบงก์ ยังคงเป็นตัวนำตลาด ประเมินแนวรับที่ 670 จุด แนวต้านที่ 685 จุด

นายวีรวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์ กรรมการบริหาร บล.ภัทร จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ค่าพี/อีเรโช ของตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับต่ำ 8.5 เท่า จึงจำเป็นจะต้องเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันให้มากขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้ประชาชนเพิ่มการออมเงินมากขึ้น ทั้งการออมเงินที่ผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) หรือแม้แต่บริษัทประกันภัย ประกันชีวิตเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ หากพิจารณาสัดส่วนเงินลงทุนตรงในตลาดหุ้นมีเพียง 6 แสนล้านบาท ถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับฐานเงินฝากที่มีประมาณ 5 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของฐานเงินฝาก ขณะที่ลงทุนผ่านกองทุนรวมอีก 4 แสนล้านบาท คิดเป็น 8% ของเงินฝาก และแม้ว่าจะรวมเงินลงทุน ทั้ง 2 ส่วนที่ลงทุนในตลาดหุ้นแล้วจะมีราว 1 ล้านล้านบาท นับว่าเป็น อัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่มีถึง 1.2 ล้านล้านบาท ทำให้นักลงทุนต่างประเทศกลายเป็นผู้ลงทุนหลักในตลาดหุ้นไทย และมีอิทธิพลต่อการขึ้นลงของดัชนีหุ้นไทย

นอกจากนี้ การเพิ่มจำนวนนักลงทุนสถาบันจะทำให้มีความต้องการลงทุนมากขึ้น จะสอดคล้องกับแก้ปัญหาในภาวะการขยายฐานนักลงทุนหน้าใหม่ไม่ทันกับการเติบโตของจำนวนบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ราคาหุ้นไอพีโอต่ำกว่าราคาจอง และพี/อีอยู่ในระดับต่ำ

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนในระดับ 12% เมื่อรวมกับผลตอบแทนเงินปันผลโดยเฉลี่ยซึ่งจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวของจีดีพี 4-5% จะได้ระดับสูงถึง 16% ซึ่งสูงกว่าเงินฝากอย่างมาก แต่นักลงทุนต้องเลือกลงทุนในบริษัทที่มีความมั่นคงของรายได้ที่สม่ำเสมอ ผู้บริหารมีธรรมาภิบาล และราคาหุ้นยังไม่แพง ตามบทวิจัยของบล.ภัทรหุ้นกลุ่มที่อยู่ในขอบเขตนี้มีเพียง 2-3 กลุ่ม คือธนาคารพาณิชย์ อุตสาหกรรมอาหาร และก่อสร้าง

นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อพิจารณาจากค่าพี/อี เรโช ที่อยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศยังเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง แต่ที่ผ่านมานักลงทุนรายย่อยยังไม่มีความเชื่อมั่นในการลงทุนตลาดหุ้นเท่าที่ควร ดังนั้นถ้าปัจจัยลบต่างๆ คลี่คลาย จะทำให้นักลงทุนรายย่อยเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น ชี้ตลาดหุ้นไทยแข่งยาก

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บล. เอเชียพลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัญหาของตลาดหุ้นไทยยังคงเป็นปัญหาเดิมที่นักลงทุนต่างชาติมีการตั้งข้อสังเกตเอาไว้ คือ จำนวนนักลงทุนที่ซื้อขายในตลาดเป็นนักลงทุนรายย่อยในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนสถาบัน

ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนยังพบว่าเริ่มปรับตัวลดลง โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิในปีนี้จะอยู่ที่ 9% ขณะที่กำไรสุทธิในปีหน้าจะเติบโตไม่ถึง 5% ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค เนื่องจากหุ้นในกลุ่มต่างๆ ไม่สามารถปรับตัวขึ้น สะท้อนภาพเศรษฐกิจได้ เช่น การเติบโตของกลุ่ม พลังงานอยู่ที่ 30% เกินกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะที่ชิ้นส่วนรถยนต์มีอัตราการเติบโตประมาณ 1% ต่ำกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ

"หากปีหน้าราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ผลกำไรของกลุ่มพลังงานก็ต้องลดลงตาม ก็ถือว่ามี โอกาสที่อัตราการทำกำไรของ บจ.ในปีหน้าจะติดลบ ความสามารถในการแข่งขันลดลง เพราะต้นทุนของ บจ.แพงขึ้น" นายก้องเกียรติกล่าว

สำหรับปัจจัยบวกที่ตลาดหุ้นไทยรอคอย เรื่องการเข้ามาจดทะเบียนของบริษัทขนาดใหญ่ข้ามชาติ ซึ่งหากตลาดหุ้นไทยยังมีระดับความน่าสนใจในเรื่องพีอีเรโชในระดับต่ำ ความสนใจจะกลับไปสู่ประเทศที่มีระดับพีอีเรโชในระดับที่สูงกว่า ประกอบกับหลายบริษัทมีความคุ้นเคยและเข้าใจกับกฎหมายของประเทศอังกฤษ ซึ่งสิงคโปร์ ฮ่องกง ซึ่งเป็นประเทศที่เข้าจดทะเบียนได้ง่าย ดังนั้น ประเทศไทยจึงเสียเปรียบ ประกอบกับกฎเกณฑ์ที่ซับซ้อนรวมถึงมีกระแสการต่อต้านในบางเรื่อง ดังนั้นคิดว่าคงเป็นเรื่องที่ยากที่จะดึงบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่มาไทย

"ในส่วนมาตรการจูงใจด้านภาษี หากเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นในสิงคโปร์ที่เก็บภาษีนิติบุคคล 22% ฮ่องกงที่ 15% และ ไทยที่ 30% ประเทศไทยก็ยังเก็บภาษีสูงกว่า ผู้จัดการกองทุนเค้ามองว่าเราไม่ค่อยต้อนรับนักลงทุน นักลงทุนต่างชาติไม่ได้สร้างความเสียหายให้ตลาดหุ้นไทย หรือจะมีบ้างก็เป็นเพียงส่วนน้อย" นายก้องเกียรติกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us