Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 ธันวาคม 2548
ทุนการเมืองฮุบบทด. นโยบาย"รมต.อ้วน"             
 

 
Charts & Figures

โครงสร้างกลุ่มบริษัทร่วมทุนก่อนและหลังเพิ่มทุน


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด

   
search resources

ไทยเดินเรือทะเล, บจก.
Transportation




แฉทุนการเมืองจ้องฮุบ บทด. ใช้วิธีสุดพิสดาร บอนไซ บทด.จากรัฐวิสาหกิจที่มีรัฐถือหุ้น 100% สุดท้ายเหลือหุ้นแค่ 9.54% หมดอำนาจบริหาร-ยกลูกค้าให้กับบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ แฉเอาเปรียบทุกอย่าง ไม่ใส่เงินแต่ส่งเรือเก่าปลดระวาง มาให้ เผยเส้นทางฮุบไม่สนคำท้วงติง แถมยังเดินหน้าโอนธุรกรรม และสิทธิประโยชน์แม้ ครม.ไม่ได้มีมติอนุมัติ เผย "คุณนที" ที่จะกลายมาเป็นผู้บริหารรายใหญ่หลังเพิ่มทุนที่แท้ก็คนใกล้ชิดนักการเมือง ส่วน 23 รายที่เหลือก็คนกันเอง

แหล่งข่าวจากบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด (บทด.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มทุนนักการเมืองจ้องฮุบกิจการของ บทด.ไปเป็นของตัวเอง เพราะล่าสุดผลักดันให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2548 อนุมัติให้ บทด.ร่วมกับกลุ่มเจ้าของบริษัทเรือไทย 23 ราย จัดตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมา โดยบทด.ถือหุ้นในสัดส่วน 30% ใช้เงินลงทุน 200 ล้านบาท และกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทย 23 บริษัท 70% ใช้เงินลงทุน 466 ล้านบาท รวมมีทุนจดทะเบียนทั้งหมด 666 ล้านบาท และในเบื้องต้นทั้ง 23 รายได้ลงเงินจำนวนเท่าๆ กันเป็นเงิน 95 ล้านบาทหรือ 20% ของเงินลงทุนทั้งหมด

ทั้งนี้ ผลจากการที่ บทด.ถือหุ้นเหลือเพียง 30% ทำให้ บทด.ไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการในบริษัท ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่ากลุ่มทุนจะหยุดเพียงแค่นี้ เพราะในระยะต่อไปจะมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 666 ล้านบาท เป็น 2,096 ล้านบาท โดยดึงบริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด (TOM) ลงทุนด้วยเรือ 5 ลำ มูลค่า 570 ล้านบาท หรือคิดเป็น 27.19% ของจำนวน หุ้นทั้งหมด บริษัท คุณนที จำกัด ลงทุนเป็นเรือเช่นเดียวกัน 2 ลำ มูลค่า 860 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนหุ้น 41.03% ซึ่งจะทำให้สัดส่วนหุ้นของ บทด.ลดลงเหลือ 9.54% และของกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทยเหลือ 22.23% ทำให้ผู้เริ่มก่อตั้งเหลือหุ้นทั้งหมดแค่ 31.77%

ในส่วนของเรือของ TOM นั้นเป็นเรือบรรทุก น้ำมัน 3 ลำ อายุ 15-17 ปี เรือขนส่งปิโตรเคมี 2 ลำ อายุ 21 ปี ส่วนบริษัทคุณนที 2 ลำ ได้แก่ เรือ Aframax อายุ 25 ปี และเรือ MR อายุ 13 ปี ซึ่งตาม ระบบการใช้งานปกติ ต้องถือว่าเป็นเรือที่เสื่อมสภาพไปแล้ว
นอกจากนี้ ไม่เพียงแต่จะทำให้ บทด.เล็กลง แต่ในอนาคต บทด.กำลังถูกบีบให้ยกธุรกรรมและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของ บทด.จะต้องถูกโอนไปที่บริษัทร่วมทุน ทำให้ บทด.จากเดิมที่ถูกตั้งเป้าหมาย ไว้ว่าจะเป็นสายการเดินเรือแห่งชาติ จะไม่เหลืออะไรเลย ขณะเดียวกัน ยังไม่มีความชัดเจนว่าพนักงานของ บทด. จะมีอนาคตอย่างไร

"เขาทำกันอย่างเป็นระบบ วางแผนเป็นขั้นเป็น ตอน เริ่มจากทำให้ บทด.เล็กลง ไม่มีอำนาจบริหารจัดการ และให้ บทด.ยกลูกค้าไปให้แก่บริษัทที่จะตั้งขึ้นใหม่ สรุปว่าเป็นกระบวนการที่จะยึดเอากิจการ ของรัฐไปเป็นของเอกชน และเอกชนก็เป็นคนใกล้ชิดนักการเมือง" แหล่งข่าวกล่าว เผยเส้นทางฮุบ บทด.

แหล่งข่าวกล่าวว่า แผนการฮุบ บทด. เกิดขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐมนตรีใหม่ เมื่อเดือนก.ค.2548 ซึ่งในครั้งนั้น นายภูมิธรรม เวชยชัย รมช.คมนาคม ได้ให้นโยบาย บทด.ไปจัดตั้งโฮลดิ้ง โดยดึงบริษัทเจ้า ของเรือมาร่วมทุน ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน โดยให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องพัฒนากองเรือแห่งชาติของไทยให้มีศักยภาพมากขึ้น

จากนั้น เมื่อวันที่ 26 ต.ค.2548 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.คมนาคม ได้เสนอเรื่องการตั้งบริษัทร่วมทุนเข้าครม. โดยขอให้ ครม.อนุมัติใน 3 เรื่อง คือ 1. อนุมัติการร่วมทุนในสัดส่วน 30/70 ระหว่าง บทด.กับกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทย 23 ราย 2. อนุมัติให้ บทด.ลงเงิน 200 ล้านบาท และ 3. อนุมัติให้ บทด.ส่งมอบธุรกรรมและสิทธิประโยชน์ในการขนส่งต่างๆ ให้บริษัทร่วมทุน
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2548 นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้เสนอเรื่องการตั้งบริษัทร่วมทุน ให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีพิจารณา โดยมีข้อสังเกตว่า การตั้งบริษัทร่วมทุนมีผลกระทบต่อการดำเนินการของ บทด.และพนักงาน อีกทั้งการที่กำหนดให้บทด.ส่งมอบธุรกรรมและสิทธิประโยชน์ให้บริษัทร่วมทุน แม้ในระยะแรกจะมีเงินทุน 666 ล้านบาท แต่อนาคตจะเพิ่มทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จึงควรพิจารณาว่าบริษัทร่วมทุนจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมทุนหรือไม่ และเสนอว่าควรให้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาก่อน นำเสนอ ครม. แต่นายสุริยะกลับเซ็นเสนอให้ ครม.พิจารณาเลย

ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2548 ประธานสภากรรมการ บทด. โดย พล.ร.ท. นิพนธ์ จักษุดุลย์ ได้ทำหนังสือถึงนายภูมิธรรม ขอให้ถอดเรื่องเสนอ ครม.ในข้อที่ 3 ออก โดยระบุว่าในชั้นนี้ บริษัทร่วมทุนยังไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิประ-โยชน์ของ บทด. จึงขอให้ถอนออก และระบุว่าได้มีการประชุมวาระพิเศษ (วาระเวียน) เมื่อวันที่ 11 พ.ย.วันเดียวกัน ทั้งๆ ที่วันนั้น ไม่ได้มีการประชุมเกิดขึ้น โดยกรรมการ บทด.ทุกคนได้ร่วมลงนาม ยก เว้นนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมขนส่งทางน้ำ กับนายสมภพ บัณฑรวิพากษ์ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เดินหน้าต่อทันที

แหล่งข่าวกล่าวว่า เมื่อ ครม.มีมติอนุมัติแผน การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเมื่อวันที่ 15 พ.ย. วันที่ 16 พ.ย. นายนิพนธ์ ได้ออกคำสั่งสภากรรมการ บทด. ที่ 2/2549 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานศึกษารายละเอียด การโอนธุรกรรมกรณี บทด. จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทย โดยมีนายเมธี เกียรติก้องขจร กรรมการ บทด.เป็นหัวหน้าคณะทำงาน มีหน้าที่ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับธุรกรรมของ บทด. และการโอนธุรกรรมให้บริษัทร่วมทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน ส่วนคำสั่งที่ 1/2549 เป็นเรื่องแต่งตั้งคณะทำงานบริหารจัดการเกี่ยวกับบุคลากร มีนาย สุวภัทร สุวรรณกิจบริหาร กรรมการรักษาการผู้อำนวยการ บทด. เป็นประธาน มีนายสมบูรณ์ สิมะแสงยาภรณ์ ที่ปรึกษา รมช.คมนาคม เป็นคณะทำงาน

ขณะเดียวกัน วันที่ 18 พ.ย.นายภูมิธรรม ได้ลงนามแต่งตั้งคณะที่ปรึกษา รมช.คมนาคม จำนวน 8 คน และ 2 ใน 8 นั้น มีนายเมธี เกียรติก้องขจร และนายสมบูรณ์ สิมะแสงยาภรณ์ เป็นที่ปรึกษาด้วย มีหน้าที่ติดตามเร่งรัดงานตามนโยบาย และภารกิจที่นายภูมิธรรมมอบหมาย

แหล่งข่าวกล่าวว่า เมื่อวันที่ 24 พ.ย. นายเมธี ได้เรียกประชุมคณะทำงานศึกษารายละเอียดการโอน ธุรกรรม ครั้งที่ 1/2549 โดยอ้างว่าครม.มีมติอนุมัติให้บริษัทร่วมทุนดำเนินกิจการ และให้บริการในลักษณะเช่นเดียวกับ บทด. โดยแนวทางนี้ ธุรกรรมและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของ บทด.จะต้องถูกโอนไปที่บริษัทร่วมทุน คณะทำงานฯ จึงต้องมาพิจารณา ในเรื่องนี้

โดยที่ประชุมได้มีมติให้นางสาวนงนารถ ม่วงน้อยเจริญ หัวหน้ากองควบคุมคุณภาพ บทด. ติดตามข้อมูลธุรกรรมของหน่วยงานต่างๆ เช่น สัญญา Agent/ASL สัญญาลูกค้า และลูกค้าทั่วไป สัญญาเช่า/ให้เช่า/บริการ ให้นายมานพ มณฑา ผู้จัดการฝ่ายจัดการขนส่ง บทด. ทำการรวบรวมและจัดทำสรุปธุรกรรมของลูกค้าที่เป็นสัญญาและลูกค้าทั่วไป ให้นายกิตติชัย ริมกีรติกุล ผู้จัดการฝ่ายวางแผนและพัฒนาธุรกิจ ไปจัดทำ Flow Chart ในการดำเนินการเกี่ยวกับการโอนย้ายธุรกรรมในด้านของตัวแทน และการโอนย้ายธุรกรรมในกรณีของลูกค้า ให้นายยรรยง ธรรมธัชอารี ผู้จัดทำบัญชีและการเงิน บทด. ไปจัดทำรูปแบบงบการเงิน

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าการประชุมของคณะทำงานฯ ดังกล่าว เป็นการดำเนินการที่ฝ่าฝืนมติของ ครม. เพราะกระทรวงคมนาคมได้เสนอขอตัดข้อ 3 ในส่วนของการโอนธุรกรรมและสิทธิประโยชน์ออกไปแล้ว และมติครม.เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ก็ไม่ได้มีมติในเรื่องนี้ จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่าสามารถทำได้หรือไม่ และจะทำไปเพื่ออะไร

ทำไมต้องเป็น "คุณนที"

แหล่งข่าวกล่าวว่า เหตุผลที่บริษัท คุณนที ได้เข้ามาเป็นผู้ร่วมทุนรายใหม่ ในการปรับโครงการการ ลงทุนครั้งใหม่ ก็เพราะว่า บริษัท คุณนที นั้น นายสมบูรณ์ ที่ปรึกษารมช.คมนาคม เคยเป็นกรรมการผู้จัดการอยู่ และปัจจุบันยังเป็นกรรมการผู้จัดการในบริษัท ยูไนเต็ด แทงเกอร์ จำกัด บริษัท เอเซีย ซีทราน จำกัด ซึ่งเป็น 1 ใน 23 รายอีกด้วย

ขณะเดียวกัน จากการตรวจสอบข้อมูลของผู้บริหารของบริษัท คุณนที ในปัจจุบัน ได้แก่ นายสุรพล มีเสถียร นายพร้อมพงษ์ ชัยศรีสวัสดิ์สุข นายชัยยะ ไผ่สุวัฒน์ นายเชิดชู ปานบุญห้อม นายไกรสีห์ หุตะสิงห์ และนายภูมินทร์ หะรินสุต ก็ล้วนแต่เป็นผู้บริหาร 1 ใน 23 บริษัทด้วย

"ที่รัฐบอกว่ามีความชอบธรรมในการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในบริษัทร่วมทุนที่ตั้งขึ้นใหม่ จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ เพราะกลุ่มบริษัทที่เข้ามาร่วมล้วนแต่เป็นคนกลุ่มเดียวกัน และบางรายก็ทำงานอยู่กับนักการเมือง"แหล่งข่าวกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us