|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กลุ่มทรูย้ำชัดจะยืนหยัดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในแบบของคนไทย ไม่ยอมให้ต่างชาติกุมอำนาจบริหาร กระทุ้งรัฐหากไม่ปลดแอกสัญญาสัมปทานผู้ให้บริการอาจกัดฟันลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง 3 จี แม้จะกระทบเศรษฐกิจประเทศ ส่วนแผนการลงทุนปีหน้าอัดอีกหมื่นล้านบาทขยายเครือข่าย ล่าสุดเปิดสถานีฐานที่ประยุกต์เทคโนโลยีให้เข้ากับธรรมชาติในแบบต้นกระจาว
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ และกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงอนาคตอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยว่า กลุ่มทรูยังต้องการอยู่ในอุตสาหกรรม และต้องการเห็นองค์ความรู้หรือโนว์เลจเบสเป็นของคนไทย บริหารโดยคนไทย ซึ่งกลุ่มทรูมีศักยภาพที่สามารถทำได้อยู่แล้ว
"ในอนาคตยังลิขิตไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะบริษัทโทรคมนาคม ไม่แข็งแรงเท่าต่างชาติ แต่ในไทยต้อง มีบริษัทไทย แม้จะมีต่างชาติบ้างก็ไม่เป็นไร เพราะหากไทยจะเป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ต้องมีอาร์แอนด์ดีแนวลึกของไทย ไม่เช่นนั้นจะเสียเปรียบและรู้ไม่เท่าทันต่างชาติ"
ที่สำคัญรัฐต้องมีการแก้สัญญาสัมปทาน เพราะจะทำให้ต้นทุนของ ผู้ประกอบการจะสูงกว่าต่างชาติ และต้องสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม ไม่เช่นนั้นจะเป็นเป้าหมายในการถูกเทกโอเวอร์ได้ง่าย ขณะเดียวกันก็อาจจะเป็นการบีบให้ผู้ให้บริการต้องกัดฟันลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น 3 จี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ของประเทศ เนื่องจากต้องมีการนำเข้า อุปกรณ์ต้องลงทุนเพิ่ม ต้องใช้เครื่องลูกข่ายใหม่ ผู้บริโภคใช้เทคโนโลยีใหม่ เป็นต้น
แต่ในมุมมองของศุภชัยไม่ใช่ว่า กลุ่มทรูจะไม่ต้องการพันธมิตรหรือพาร์ตเนอร์ แต่พาร์ตเนอร์ในสายตาของผู้บริหารทรูคือต้องเป็นการผสมผสานหรือ Synergy ด้านเทคโนโลยี ไม่ใช่เข้ามากุมอำนาจในการบริหาร มั่นใจได้ 3 จี
สำหรับการให้บริการ 3 จี ทีเอ ออเร้นจ์ได้ยื่นขอใบอนุญาตหรือ ไลเซนส์ต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ไปได้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อนำอุปกรณ์มาทดสอบด้านเทคนิคก่อน โดยจะใช้สถานีฐานในการทดสอบประมาณ 2-3 สถานี ลงทุนประมาณ 10 ล้านบาท เน้นในเมืองที่มีชุมชนหนาแน่น เช่น สีลม ส่วนซัปพลายเออร์ขณะนี้มีผู้เสนอตัวเข้ามาหลายราย แต่ยังไม่มีการตัดสินใจต้องรอให้ได้รับอนุญาตจากกทช.ก่อน
"การทดสอบ 3 จีก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสปีด การส่งต่อสัญญาณระหว่างเครือข่ายหรือแฮนด์ ออฟ และอำนาจทะลุทะลวง เหมือนไวแมกซ์ก็ต้องมีการทดลองก่อน ว่าระบบเป็นอย่างไร ต้องลงทุนมากน้อยขนาดไหน" นายศุภชัยกล่าวและว่า กลุ่ม ทรูมั่นใจว่าจะได้สิทธิ์ในการให้บริการ 3 จีแน่ เนื่องจากความถี่ที่มีอยู่ขณะนี้ เหลือน้อยมาก แต่ยังคงสามารถให้บริการในปีหน้าได้ ทั้งนี้ หากไม่ได้ความถี่ 3 จี รัฐต้องหาความถี่ย่านอื่น มาทดแทน
สำหรับบริการ 3 จี นายศุภชัยเชื่อว่าจะไม่ใช่บริการที่เข้ามาแทนที่ 2 จี แต่จะเป็นการเข้ามาตอบสนองความต้องการด้านนอนวอยซ์กับการ บริโภคเท่านั้น และจะไม่ตอบโจทย์มัลติมีเดียเต็มรูปแบบ เพราะหากมีการให้บริการในลักษณะมัลติมีเดียเต็มรูปแบบต้องลงทุนสูง ไม่มี กสช.ไม่มีผลกระทบ
ส่วนกรณีที่คณะกรรมการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ยังไม่เกิดนั้น นายศุภชัยยืนยันว่าไม่มีผลกระทบกับกลุ่มทรู เนื่องจากการให้บริการทุกอย่างอยู่ใต้สัมปทานเดิม และเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วจะการกำกับดูแลตามไม่ทัน อย่างกรณีของไอพีทีวี มีการให้บริการไปแล้ว หรืออย่างการดูทีวีผ่านมือถือ หรือการดูทีวีผ่านคอมพิวเตอร์พีซีก็สามารถทำได้แล้ว และการที่นำยูบีซีไปทำบรอดแบนด์ทีวีเชื่อว่าก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะยังอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิม
ลงทุนด้านเครือข่ายปีหน้าหมื่นล้าน
นายศุภชัยกล่าวถึงการลงทุนด้านเครือข่ายของออเร้นจ์ว่า ปีนี้มีการลงทุนทั้งหมด 7,000 ล้านบาท และจะมีการลงทุนจนถึงเฟส 4 หรือประมาณกลางปี 2549 เป็นมูลค่ารวมแล้วประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท และจะลงทุนในส่วนที่เกี่ยวกับบริการ เสริมอีกประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาและอีก 6 เดือนข้างหน้า เครือข่ายของออเร้นจ์จะมีสถานีฐานเพิ่มอีก 1,000 สถานี
นอกจากนี้ ออเร้นจ์ยังได้มีการพัฒนาโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้เริ่มมีการเปิดใช้โครงข่ายอัจฉริยะหรืออินเทลิเจนซ์ เน็ตเวิร์ก หรือเน็กต์ เจเนอเรชัน เน็ตเวิร์ก (เอ็นจีเอ็น) ซึ่งเป็นไลฟ์สไตล์ เน็ตเวิร์ก ซึ่งกลุ่มทรูจะพัฒนาให้โครงข่ายให้ทั้งโมบายและฟิกซ์ไลน์ใช้งานร่วมกันได้ และในอนาคตต้องใช้งานร่วมกับอินเทอร์เน็ต และอินเตอร์แอ็กทีฟทีวีได้ด้วย
"ปีหน้าจะเริ่มเห็นอะไรใหม่ๆ ระหว่างโมบายกับฟิกซ์ไลน์มากขึ้นจาก กลุ่มทรูหลังมีการทดลองระบบเสร็จ พร้อมกันนี้ ออเร้นจ์ได้มีการเปิดสถานีฐานที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีการประยุกต์เรื่องของเทคโนโลยีให้มีความกลมกลืนธรรมชาติ ด้วยการทำสถานีฐานในรูปทรงของต้นกระจาว ซึ่งใช้รวมทั้งหมดสำหรับสถานีฐานประมาณ 5 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีสถานีฐานลักษณะเดียวกันนี้ที่เกาะสมุยที่เป็นรูปทรงของต้นปาล์ม ส่วนที่อื่นจะเป็นแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับพื้นที่เป็นหลัก เราจะพัฒนาสถานีฐานในลักษณะนี้ควบคู่ไปกับการขยาย เครือข่ายที่เราวางแผนไว้"
องค์กรยังเน้นเมทริก ออแกไนเซชัน
นายศุภชัยกล่าวถึงการปรับโครงสร้างองค์กรว่า ปีหน้าโครงสร้างของกลุ่มทรูยังจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง อะไรมาก แต่ยังจะยึดแนวทางที่เรียก ว่าเมทริก ออแกไนเซชัน หรือเน็ตเวิร์กกิ้ง ออแกไนเซชัน ที่มีการทำงานรวมกันแบบประสานงานข้ามหน่วยงานได้อยู่แล้ว ซึ่งปีหน้าก็จะ มียูบีซีมาผสมผสานเข้ากับกลุ่มทรูเต็มรูปแบบในลักษณะเดียวกับออเร้นจ์
|
|
|
|
|