Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2540
ตั้งบริษัทร่วมทุนเอกชนคัมภีร์ธุรกิจทีวียุคนี้ของช่อง 5 และ 9             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล 'ผมบริหารงานไม่เป็น ผมเป็นสื่อสารมวลชน'

   
search resources

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
สถานีโทรทัศน์ช่อง 9




ภายใต้ภาวะการเติบโตของธุรกิจทีวีที่มีมูลค่าถึง 2 หมื่นล้านบาทในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของธุรกิจมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ทำให้สถานีโทรทัศน์ทั้ง 6 ช่องต้องมีการปรับเปลี่ยน ทั้งในแง่ของรูปแบบรายการและตัวองค์กร เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นเงาตามตัว

จะเห็นได้ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เป็นสถานีโทรทัศน์ที่ครองส่วนแบ่งผู้ชมสูง ตามมาด้วยช่อง 3 ของตระกูลมาลีนนท์เป็นอันดับ 2 และตามด้วยช่อง 5 ช่อง 9 ซึ่งทั้งช่อง 5 และช่อง 9 ยังไม่เคยแซงหน้าขึ้นมาเป็นอันดับ 1 หรือ 2 เลย

แม้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งช่อง 5 และช่อง 9 จะมีการปรับปรุงผังรายการ ตลอดจนรูปแบบรายการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ชมมากขึ้นก็ตาม เช่น ในปีที่แล้ว ช่อง 5 ได้มีการขยายช่วงเวลาไพรม์ไทม์มาเป็นในช่วงเย็น ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับกลับมาเป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองช่องก็ยังไม่สามารถตีตื้นขึ้นไปแซงหน้าช่อง 7 และช่อง 3 ได้ สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากความคล่องตัวในการบริหารของสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และช่อง 9 ที่ยังอยู่ภายใต้การบริหารงานของภาครัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการปรับตัวเพื่อรับมือกับการแข่งขัน ในขณะที่ช่อง 7 และช่อง 3 นั้นเป็นการบริหารงานของภาคเอกชนที่ได้สัมปทานเหมาเวลาจากหน่วยงานรัฐมาดำเนินงานเอง

ทั้งช่อง 5 และช่อง 9 ก็ตระหนักในปัญหาเหล่านี้ จึงเร่งให้มีการปรับองค์กร โดยทั้งสองช่องล้วนแต่มุ่งความเป็นอิสระขององค์กรทั้งสิ้น

"ที่ผ่านมา ช่อง 9 ต้องสูญเสียรายได้ไปเปล่าประโยชน์เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกควบคุมของหน่วยงานรัฐ ตลอดจนการใช้จ่ายจากกระทรวงการคลัง ซึ่งผลจากการเข้ามาตรวจสอบของหน่วยงานรัฐนี้เอง ส่งผลให้เอเยนซี่ไม่มั่นใจ และถอนโฆษณาออกไป" อรสา คุณวัฒน์ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. สะท้อนถึงปัญหาความเป็นหน่วยงานรัฐ

ช่อง 9 ภายใต้การกำกับดูแลของ อ.ส.ม.ท. ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในหน่วยงานของกรมประชาสัมพันธ์นั้น เลือกใช้วิธีการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาในลักษณะขององค์กรเอกชน เพื่อมาทำหน้าที่บริหารงานทางด้านการตลาดให้กับรายการต่าง ๆ ที่ อ.ส.ม.ท.เป็นผู้ผลิตเอง ไม่ว่าจะเป็นรายการโทรทัศน์ หรือ รายการวิทยุ

บริษัทที่ทำการตลาดนี้ จะถือหุ้น 41% และที่เหลือ 51% จะเปิดโอกาสให้เอกชนไม่ต่ำกว่า 2 รายเข้ามาร่วมมือ ซึ่งเท่ากับว่า อ.ส.ม.ท.จะถือหุ้นส่วนใหญ่ และอาศัยความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์จากภาคเอกชนมาช่วยในการบริหารกิจการให้มีความคล่องตัว

ที่ผ่านมา อ.ส.ม.ท. ต้องสูญเสียรายได้จากการโฆษณา อันเนื่องมาจากขั้นตอนของหน่วยงานรัฐ

"รายได้ที่ได้จากการโฆษณาน้อยกว่าเวลาของการโฆษณาจริง เพราะต้องผ่านขั้นตอนยุ่งยาก ต้องผ่านสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ผ่านสำนักงานป้องกันและปราบปรามความประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.) ทำให้เอเยนซี่หนีไปลงช่องอื่น" อรสา สะท้อนปัญหา

การจัดตั้งบริษัทการตลาดให้กับรายการผลิตของ อ.ส.ม.ท. จึงเป็นทางออกอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหาของช่อง 9 ซึ่ง อรสา กล่าวว่า ในอนาคต ช่อง 9 ก็อาจจะมีบริษัทร่วมทุนกับเอกชนเกิดขึ้นอีก เช่น ผลิตรายการ เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ทางด้านสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 สังกัดกองทัพบก ภายใต้การนำของ พล.อ.แป้ง มาลากุล ณ อยุธยา ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับช่อง 5 อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเปิดศึกไพรม์ไทม์ นำละครมาแทนที่เวลาข่าวของช่องอื่น ๆ และการหันมามุ่งเน้นข่าวเศรษฐกิจ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายแยกองค์กรเป็นอิสระ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ด้วยการแยกโครงสร้างองค์กรอิสระใหม่ออกเป็นสายธุรกิจ 9 สายงาน และดึงเอกชนที่มีความชำนาญเฉพาะด้านให้เข้ามาร่วมทุน

วิธีนี้จะทำให้ช่อง 5 มีบริษัทลูกที่จะทำหน้าที่บริหารงาน ตั้งแต่การผลิตรายการ ซึ่งที่ผ่านมา ช่อง 5 ก็เริ่มหันมาเน้นการผลิตมากขึ้น อาทิ การผลิตคอนเสิร์ตทีวี 5 แทนโลกดนตรีที่ถอนออกไป และนิทานก่อนนอน ข่าวทุกต้นชั่วโมง และข่าวภาคค่ำ

นอกจากนี้ ช่อง 5 จะมีบริษัทลูกที่ทำทางด้านการตลาด เพื่อทำหน้าที่ขายโฆษณาให้กับรายการที่ผลิตขึ้นเอง ซึ่งเวลานี้รายการข่าวของช่อง 5 จะเป็นบริษัท มีเดียออฟมีเดียส์เป็นผู้ทำตลาดให้ นอกจากนี้ จะมีบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะเริ่มจากบริษัทผลิตโทรทัศน์ที่มีการผลิตภายใต้ชื่อ "RTA" รวมทั้งบริษัททำธุรกิจทางด้านสิ่งพิมพ์ บริษัททำธุรกิจผลิตแผ่นดีวีดี เป็นต้น

ช่อง 5 นับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีการปรับเปลี่ยนในเรื่องของการสลัดภาพของการเป็นหน่วยงานทหาร เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น ซึ่ง พล.อ.แป้ง กล่าวตลอดเวลาว่า เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำธุรกิจทีวีในยุคนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงมาก ทำให้ช่อง 5 จำเป็นจะต้องหันมาทบทวน และเตรียมความพร้อมในเรื่องขององค์กร เพื่อรับมือการแข่งขัน และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us