|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
*"อนันต์" มองการลงทุนระยะยาว พร้อมวางแผนตั้งรับกลุ่มทุนต่างชาติ
*ชูนโยบายขยายการลงทุนในธุรกิจแบบครบวงจร เดินหน้าลุยธุรกิจแบงก์รองรับลูกค้าโครงการ
*ฟันธงตลาดอสังหาฯ ปี 49 ยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว ระบุเมกะโปรเจกต์กระตุ้นอสังหาฯ ปลุกทำเลที่อยู่อาศัยโซนใหม่
จากกลไกทางการตลาดประกอบกับแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ทำให้กลุ่มประเทศในโลกที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาจำเป็นต้องลงทุนในระบบสาธารณูปโภค และโครงการต่างๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานประเทศให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น ภาพรวมของอุตสาหกรรมก่อสร้างในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาจึงมีศักยภาพการขยายตัวสูงกว่ากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว นับตั้งแต่กลุ่มสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง ไล่เรื่อยไปจนถึงธุรกิจอสังหาฯ ในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนสิ่งปลูกสร้างประเภทอาคารหรือคลังสินค้าขนาดใหญ่ รวมทั้งที่พักอาศัยจึงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มภาพรวมตลาดอสังหาฯ ในปี 49 จึงกำลังก้าวย่างสู่การแข่งขันแบบอินเตอร์เนชั่นแนล เพราะกลุ่มนักลงทุนข้ามชาติขยายการลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ เมืองไทยมากขึ้น เนื่องจากมองเห็นศักยภาพการขยายตัวของตลาดอสังหาฯ ในไทย โดยการเข้ามาของกลุ่มทุนข้ามชาติส่งผลให้รูปแบบการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งเป็นการแข่งขันกันเองระหว่างดีเวลลอปเปอร์ท้องถิ่น แต่ในอนาคคตภาวะการแข่งขันของตลาดอสังหาฯ จะเป็นการแข่งขันที่เกิดขึ้นระหว่างดีเวลลอปเปอร์ท้องถิ่นและกลุ่มทุนข้ามชาติ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และจีน ที่ทยอยตบเท้าเข้ามารุกตลาดอสังหาฯ ในไทยอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่แนวโน้มตลาดรวมมีการแข่งขันสูงอยู่แล้ว จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ดีกรีการแข่งขันของตลาดอสังหาฯ ในปี 49 เพิ่มความรุนแรงและเข้มข้นขึ้น โดยอาศัยความได้เปรียบด้านเทคโนโลยีก่อสร้างและฐานการเงินที่แข็งแกร่ง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนแข่งกับดีเวลลอปเปอร์ท้องถิ่นซึ่งค่อนข้างเสียเปรียบทางด้านฐานการเงิน
แน่นอนที่สุดว่าดีเวลลอปเปอร์ท้องถิ่นจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนงานทางการตลาด เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์แข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็กที่ค่อนข้างเสียเปรียบรายใหญ่ เพราะกลุ่มทุนข้ามชาติส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในไทยมักเลือกที่จะร่วมทุนกับดีเวลลอปเปอร์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการลงทุน และเพิ่มขีดความสามารถตลอดจนสร้างอำนาจในการแข่งขันให้เหนือกว่าคู่แข่ง โดยเฉพาะคู่แข่งในกลุ่มทุนข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยเช่นเดียวกัน
แลนด์ฯ ตั้งรับทุกรูปแบบ
ดูเหมือนว่ายักษ์ใหญ่ในธุรกิจอสังหาฯ อย่าง บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จะไม่สะทกสะท้านกับทิศทางการแข่งขันในอนาคต เพราะเชื่อว่าด้วยฝีมือการบริหารของแม่ทัพเอกอย่าง อนันต์ อัศวโภคิน ซึ่งมีประสบการณ์และคร่ำหวอดในแวดวงอสังหาฯ มานานย่อมมีมุมมอง และเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา โดยพิจารณาจากการกำหนดนโยบายของกลุ่มแลนด์ฯ ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเน้นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบที่ครบวงจร
นับตั้งแต่การวางแผนงานและกำหนดนโยบาย รวมทั้งขอบเขตการดำเนินธุรกิจให้กับบริษัทในเครือ ด้วยการวางตำแหน่งสินค้า เจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน เพื่อเลี่ยงปัญหาแย่งลูกค้ากันเอง นอกจากนี้ยังแตกไลน์การลงทุนสู่ธุรกิจใหม่ที่รองรับการขยายตัวของธุรกิจอสังหาฯ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจหลัก โดยการเข้าซื้อหุ้นในบริษัทเงินทุนบุคคลัภย์ เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ภายใต้ชื่อ “ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์เพื่อรายย่อย” หรือ “Land And House Retail Bank” ซึ่งเน้นปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย 90% ที่เหลือเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล 10% โดยมีฐานลูกค้าในโครงการของ แลนด์ฯ , ควอลิตี้เฮ้าส์ และ เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ เป็นฐานลูกค้าหลักกลุ่มแรก
ระบุอสังหาฯยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว
อนันต์ กล่าวถึงแนวโน้มธุรกิจอสังหาฯ ในปี 49 ว่ายังคงมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะหลังจากช่วงวิกฤตฟองสบู่ผ่านพ้นไปการขยายตัวของธุรกิจอสังหาฯ ยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว หากพิจารณาจากจำนวนผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ในตลาดประมาณ 500-600 รายในขณะนี้ยังถือว่าอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ประกอบการที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในช่วงก่อนเกิดวิกฤติฟองสบู่ ซึ่งมีจำนวนกว่า 2,000 ราย และเริ่มลดจำนวนลงเหลือเพียง 50-100 รายหลังจากฟองสบู่แตก
เจ้าพ่ออสังหาฯ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่า จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ทำให้แนวโน้มผลประกอบการในธุรกิจอสังหาฯ ปี 49 ยังคงขยายตัวได้ดี โดยคาดว่าปริมาณการขายบ้านในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 80,000 ยูนิต จาก 70,000 ยูนิตในสิ้นปีนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ของภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนเครือข่ายขนส่งระบบราง ซึ่งจะทำให้เกิดทำเลที่อยู่อาศัยใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณเลียบแนวเครือข่ายระบบราง ซึ่งส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์ประเภท คอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน และพื้นที่เช่าเพื่อการค้าปลีกขยายตัวควบคู่ไปกับโครงการจัดสรรในแนวราบ
|
|
|
|
|