Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์5 ธันวาคม 2548
เครื่องไฟฟ้าแนวรบที่ 2 รุกกิจกรรม ล้างแบรนด์ลอยัลตี้คู่แข่ง             
 


   
search resources

ไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย), บจก.
Marketing
Electric




อะโคเนติค-โซเคน-ลีโอน่า รุกกิจกรรมการตลาด เกาะไลฟ์สไตล์ สร้าง Experience Marketing ใกล้ชิดผู้บริโภค หวังล้างแบรด์ลอยัลตี้ของคู่แข่ง

การแข่งขันในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้านอกจากจะมีแบรนด์ดังจากญี่ปุ่นและเกาหลีที่ห้ำหั่นกันอย่างดุเดือดทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีและแนวทางการตลาดแล้วยังมีแนวรบที่ 2 ที่พยายามผลักดันตัวเองขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นโซเคน อะโคเนติก ลีโอน่า และยังมีแบรนด์ไทย และแบรนด์จีนอีกหลายแบรนด์ที่พยายามหาพื้นที่แทรกในตลาด

แบรนด์ต่างๆในแนวรบที่ 2 มีการทำสงครามหลายรูปแบบโดยเฉพาะในเรื่องของการทำราคาให้ถูกกว่าคู่แข่งซึ่งทุกคนรู้ดีว่าไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้สามารถอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืน จึงมีบางกลุ่มที่พยายามสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อให้ผู้บริโภคยอมรับ

ในช่วงต้นปี 2547 อะโคเนติค พยายามปรับภาพลักษณ์ให้ผู้บริโภคยอมรับในเรื่องเทคโนโลยีด้วยการเปิดโชว์รูมแห่งที่ 2 ที่เซ็นทรัลพระราม 2 โดยโชว์รูมแห่งแรกตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของอะโคเนติค จากนั้นก็เปิดโชว์รูมแห่งที่ 3 ที่เซ็นทรัลบางนา เพื่อผลักดันให้แบรนด์ อะโคเนติค ใกล้ชิดผู้บริโภคมากขึ้นด้วยการนำสินค้ารุ่นใหม่หรือเทคโนโลยีใหม่ๆไปแสดงในโชว์รูม นัยหนึ่งเป็นการดูกระแสตอบรับจากผู้บริโภคก่อนจะนำสินค้านั้นเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย ทั้งนี้อะโคเนติคยังมีแผนที่จะเปิดโชว์รูมเพิ่มอีก 3 แห่งในปีหน้า

สินค้าหลักของอะโคเนติคที่ทำตลาดในเมืองไทยมี 3 กลุ่ม คือ หมวดเครื่องเสียง ทำรายได้ให้บริษัทคิดเป็นสัดส่วน 30% ได้แก่สินค้าประเภทลำโพงซึ่งมีตั้งแต่ 2-6 ตัว ชุดโฮมเธียเตอร์ เครื่องเล่น MP3 ส่วนหมวดภาพ ทำรายได้เป็นสัดส่วน 40% ได้แก่สินค้ากลุ่ม ดีวีดีโฮมเธียเตอร์ ดีวีดีเพลเยอร์ แอลซีดีทีวี และสุดท้ายเป็น เครื่องไฟฟ้าในครัวเรือนชิ้นเล็กภายใต้แบรนด์ เพ็นโซนิค และเลเบนสติล จากมาเลเซีย ซึ่งทำรายได้เป็นสัดส่วน 30%

อะโคเนติคเตรียมนำสินค้าใหม่เข้ามาทำตลาดมากขึ้นในปีหน้าเพื่อเป็นการเชื่อมต่อตลาดเอวีกับตลาดไอที ซึ่งนอกจากจะเป็นการขยายฐานลูกค้าแล้วยังเป็นการปรับทัศนะคติผู้บริโภคใหม่ว่า อะโคเนติค มีสินค้าเทคโนโลยีอีกมากมายนอกเหนือจากเครื่องเล่นดีวีดี โดยไฮไลท์ของสินค้าใหม่ในปีหน้าได้แก่ การทำตลาดแอลซีดีทีวีซึ่งมีตั้งแต่ 15-46 นิ้ว ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 20,000 กว่าบาทไปจนถึง 200,000 กว่าบาท ซึ่งมีฟังก์ชั่นในการใช้งานที่มากกว่าแอลซีดีทีวีทั่วไปตรงที่สามารถใช้งานร่วมกับไอทีได้ เช่น การมียูเอสบีพอร์ต สามารถต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ได้ การมีช่องต่อเชื่อมกับสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆไม่ว่จะเป็นเอสดีการ์ หรือเมมโมรี่สติ๊ก ประกอบกับแนวโน้มของราคาแอลซีดีที่คาดว่ายังสามารถขยับลงได้อีก 30-40% จะช่วยเสริมให้การเข้ามาทำตลาดแอลซีดีของอะโคเนติคง่ายขึ้น

นอกจากนี้ยังเน้นในเรื่องของการตอบสนองความบันเทิงให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคด้วยสินค้ารุ่นใหม่ไม่ว่าจะเป็น MP3 MP4 และ PMP (Personal Media Player) ที่สามารถตอบสนองความบันเทิงแบบพกพาให้กับผู้บริโภคได้ทั้งในเรื่องของภาพและเสียง รวมถึงใช้เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล พร้อมด้วยเมนูภาษาไทย เนื้อเพลงภาษาไทย ส่วนเครื่องไฟฟ้าในครัวเรือนชิ้นเล็กภายใต้แบรนด์ เพ็นโซนิค และเลเบนสติล ก็จะมีสินค้ารุ่นใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ส่วนการกำหนดราคานั้นบริษัทจะพยายามรักษาระดับราคาเอาไว้ในขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ แต่ก็มีสินค้าบางส่วนที่มีราคาลดลงตามแนวโน้มของตลาดเช่น แอลซีดีทีวี

"กลยุทธ์ในการพัฒนาสินค้าและราคาของอะโคเนติคมี 2 แนวทางคือ Value for Money คุ้มค่าคุ้มราคา สินค้าที่คุณภาพเท่ากันจะมีราคาถูกกว่าคู่แข่ง ส่วนสินค้าที่แพงกว่าก็จะมีการเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานให้คุ้มกับเงินที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเพิ่ม อีกแนวทางหนึ่งคือการตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ ซึ่งไม่มี Brand Loyalty มากนัก แต่จะมองหาสินค้าที่สนองต่อไลฟ์สไตล์ของเขามากที่สุด เช่น MP3 ของเราเด่นทั้งการดีไซน์และคุณสมบัติในการใช้งาน เพื่อให้ผู้บริโภคกล้าใช้ กล้าโชว์" ณัฐพันธ์ คีรีรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและฝ่ายการตลาด ไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย) กล่าว

ปัจจุบันอะโคเนติคมีช่องทางจำหน่ายในโมเดิร์นเทรด 50% และดีลเลอร์ 50% โดยดีลเลอร์ที่มีอยู่กว่า 300 รายเป็นดีลเลอร์ร้านเอวี แต่ในปีหน้าบริษัทจะเพิ่มดีลเลอร์ใหม่ที่เป็นร้านไอทีอีก 200 ร้านค้ารวมถึงร้านสเปเชียลตี้สโตร์โดยการนำเสนอสินค้าใหม่ ทั้ง แอลซีดีทีวี เอ็มพีสาม เอ็มพีสี่ ซึ่งจะช่วยให้อะโคเนติคมีฐานลูกค้ากว้างขึ้น ซึ่งปัจจุบันอะโคเนติคมียอดขายสินค้าทุกชนิดรวมกัน 50,000 ชิ้นต่อเดือน ถ้าเทียบเป็นปีก็มีลูกค้ากว่า 600,000 คนต่อปี ซึ่งอะโคเนติคก็พยายามที่จะให้คนที่เป็นลูกค้าอยู่แล้วมีการซื้อสินค้าประเภทอื่นๆของอะโคเนติคซ้ำ สำหรับศูนย์บริการหลังการขายปัจจุบันมีอยู่ 124 แห่ง

"สินค้าแบรนด์เนมส่วนใหญ่รับนโยบายมาจากบริษัทแม่ สินค้าที่ผลิตก็ออกแบบมาเพื่อตอบสนองตลาดที่มีขนาดใหญ่ เช่น อเมริกา และยุโรป ซึ่งอาจจะไม่สามารถตอบสนองตลาดได้ดีเท่ากับเราที่สามารถกำหนดรูปแบบสินค้าให้สอดคล้องกับคนไทยแล้วให้บริษัทแม่ผลิตให้ ขณะที่บริษัทในระดับเดียวกันก็มีหลายรายเน้นราคาถูกซึ่งไม่ยืนยาว เราต้องแข่งกับตัวเอง พัฒนาสินค้าใหม่สู่ตลาด ส่วนจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคยอมรับ วิธีที่ดีที่สุดคือการจัดกิจกรรมการตลาดเนื่องจากทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัสสินค้าและแบรนด์อะโคเนติค ซึ่งเชื่อว่าถ้าใครได้ทดลองใช้แล้วจะติดใจสินค้าของเรา" ไมเคิล หลิน กรรมการผู้จัดการ ไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย) กล่าว

ที่ผ่านมาอะโคเนติคมีการทำกิจกรรมการตลาดอยู่เรื่อยๆแต่ไม่ได้จัดงานใหญ่มากนัก อย่างในปีนี้มีการจัดงานใหญ่ 25 ครั้ง แต่ในปีหน้าจะมีการจัดกิจกรรมใหญ่ๆ 20 ครั้ง ครั้งละ 7-10 วัน โดยเหตุผลที่จัดน้อยครั้งลงก็เพื่อระดมทรัพยากรของบริษัทที่มีอยู่ เช่น พนักงานแนะนำสินค้ามาร่วมทำกิจกรรมแต่ละครั้งให้บรรลุผลที่ดีที่สุด โดยมีการเพิ่มงบการตลาดจาก 40 ล้านบาทในปีนี้ เป็น 50 ล้านบาทในปีหน้า ซึ่งงบที่เพิ่มขึ้นจะนำมาใช้ในการทำโปรโมชั่นสินค้าราคาถูกในช่วงที่มีการจัดกิจกรรม

รูปแบบการจัดกิจกรรมการตลาดที่ผ่านมานอกจากจะมีการโรดโชว์เล็กๆตามต่างจังหวัดแล้วก็มีการร่วมกับพันธมิตรออกบูทในงานต่างๆไม่ว่าจะเป็น เพาเวอร์บายเอ็กซ์โป อิเล็กโทรนิก้า หรือโฮมโปรเอ็กซ์โป ซึ่งเป็นงานที่มีคู่แข่งมาร่วมออกบูทด้วย ล่าสุด อะโคเนติค ได้ร่วมกับเดอะมอลล์ จัดกิจกรรมใหญ่ของตัวเองโดยใช้ชื่อว่า Evolution Life by Aconetic ที่เดอะมอลล์งามวงศ์วานซึ่งมีทั้งการโชว์เทคโนโลยีและสินค้าใหม่ๆ รวมถึงมีการทำโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อไวขึ้น รวมถึงมีการจัดกิจกรรมประกวดร้องเพลงคาราโอเกะ Aconetic Karaoke Junior Singing Contest เพื่อให้ผู้บริโภครู้จักและคุ้นเคยกับสินค้าและแบรนด์อะโคเนติคมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการทำกิจกรรมร่วมกับร้านค้าเพื่อสร้างความคึกคัก ดึงคนเข้าร้าน และกระตุ้นยอดขายให้บรรดาดีลเลอร์เป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอีกทางหนึ่ง

การโหมกิจกรรมเพื่อใกล้ชิดผู้บริโภคถือเป็นอีกสเต็ปท์หนึ่งของการสร้างแบรนด์หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการทำโชว์รูมเพื่อยกระดับภาพลักษณ์อะโคเนติคให้เป็นแบรนด์เทคโนโลยีที่ผู้บริโภคยอมรับ

นอกจากนี้ยังมีการทำซีอาร์เอ็มโดยอาศัยจุดแข็งของบรรดาสถาบันการเงินที่มีฐานข้อมูลลูกค้าอยู่แล้วมาร่วมกันออกบัตรเครดิตสำหรับสมาชิก ส่วนจะมีสิทธิพิเศษอะไรบ้างแล้วจะดึงดูดลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน ปีหน้าก็จะได้เห็นกัน

ในขณะที่ลีโอน่าซึ่งนอกจากการนำเสนอสินค้ารุ่นใหม่ๆอย่างต่อเนื่องก็มีการเปิดโชว์รูมของตัวเองเพื่อเป็นอิมเมจชอปในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ โดยโชว์รูมแห่งแรกของลีโอน่าเปิดตัวที่สำนักงานใหญ่ โกรว์ริช เอ็นเทอร์ไพรซ์ รามอินทรา ซึ่งเป็นทั้งศูนย์บริการและเป็นที่นำสินค้าใหม่มาให้ลูกค้าได้ทดลองก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งทางบริษัทก็ตั้งเป้าว่าการเพิ่มช่องทางจำหน่ายที่เป็นโชว์รูมรวมถึงการออกบูทตามงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีต่างๆประกอบกับการเพิ่มไลน์อัพสินค้ากว่า 40 รายการ โดยเฉพาะ Dmove ที่เป็นซับแบรนด์ของเครื่องเล่น MP3 จะทำให้บริษัทมียอดขายสูงขึ้น 3-4%

ส่วนโซเคนก็เน้นกลยุทธ์ในการวางสินค้าตามช่องทางจำหน่ายอย่างทั่วถึงไม่ว่าจะเป็นร้านไฟฟ้า เครื่องเสียง ซูเปอร์สโตร์ ล่าสุดร่วมกับพันธมิตรคือ อไลน์แอนซ์ แอนด์ ลิงค์ ซึ่งจะช่วยขยายช่องทางจำหน่ายในร้านไอทีกว่า 1,000 ร้านค้า โดยไฮไลท์ไปที่เครื่องเล่น MP3 นอกจากนี้ยังมีการออกบูทตามงานต่างๆเพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสและทดลองสินค้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งก่อนตัดสินใจซื้อ

นอกจากกลยุทธ์ในการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคแล้ว จะเห็นว่าสินค้าส่วนใหญ่ของเครื่องไฟฟ้าระดับที่ 2 จะเกาะติดไปกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคอย่างเช่น MP3 ซึ่งมีราคาไม่แพง ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่าย และถ้าสินค้านั้นดีจริงก็จะสร้างความพอใจทำให้ผู้บริโภคและอาจนำไปสู่การซื้อสินค้าอื่นๆของแบรนด์ดังกล่าวต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us