Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2540
การเดินทางของเสริมสุข เป้าหมายคือ "ผู้ผลิตเครื่องดื่มครบวงจร"             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 

   
related stories

แมทธิว กิจโอธาน พิสูจน์ฝีมือในไทยมาแล้วกับ"โปรเจคบลู"

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เสริมสุข จำกัด (เป๊ปซี่)

   
search resources

เสริมสุข, บมจ.
Soft Drink




"เป๊ปซี่" เริ่มมีตำนานในไทยเมื่อ พ.ศ.2495 ซึ่งเป็นยุคที่ซอฟต์ดริ๊งก์กำลังก้าวเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย เหตุเพราะการขาดแคลนน้ำประปาที่กระจายออกไปทั่วถึง ทำให้เกิดปัญหาเรื่องน้ำดื่มและโรคระบาด

โดยมีตัวแทนฝ่ายไทยที่ไปเจรจาขอลิขสิทธิ์การผลิตจากบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า นิวยอร์ก แล้วรวมกันก่อตั้งเป็นบริษัท เสริมสุข จำกัด ขึ้นมา เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2495 ด้วยทุนจดทะเบียน 8 ล้านบาท

มีคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย พล.ต.ท.พระพินิจชนคดี และ ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี คุณหญิงอุดมลักษณ์ ศรียานนท์ นายยม ตัณฑเศรษฐี นายโล้วเตี๊ยกชวน บุลสุข นายตัน จินเก่ง และนายวงศ์ กัลยาณคุปต์

พร้อมกันเปิดโรงงานผลิตเป๊ปซี่แห่งแรกที่สีลม

"เป๊ปซี่" ขวดแรกขนาด 10 ออนซ์ ทยอยออกสุ่ตลาดเมืองไทย เมื่อเวลา 7.00 น. ของวันที่ 18 มีนาคม 2495 พร้อมกับสโลแกน "ใหญ่ยิ่ง ยิ่งใหญ่" ที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดที่มีน้ำอัดลมขนาด 6.5 ออนซ์ และมีคำขวัญโฆษณาว่า "ดีมาก มากดี" หรือ Quality Quantity" ได้บรรลุผลเป็นที่น่าพอใจ

จึงเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 15 ล้านบาท ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั่นเอง

พ.ศ.2503 ผลิตภัณฑ์ "มิรินด้า น้ำส้ม" เริ่มออกสู่ตลาด

จากกำลังการผลิตเป๊ปซี่ประมาณ 2 หมื่นลังต่อวันของโรงงานสีลม เริ่มไม่พอต่อความต้องการ เสริมสุขจึงได้เริ่มซื้อที่ดิน 15 ไร่ที่บางเขน แล้วย้ายเครื่องจักรจากโรงงานสีลมมาไว้ทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 5.5 หมื่นลังต่อวัน พร้อมกับเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 30 ล้านบาท

ถือได้ว่า เสริมสุขมีโรงงานผลิตแห่งใหม่ เมื่อผ่านไป 13 ปี ซึ่งในปีเดียวกัน ก็ได้มีการซื้อที่ดินอีก 30 ไร่ ที่ อ.ปรุใหญ่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา เพื่อก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่นี่ โดยเริ่มผลิตเมื่อเดือนเมษายน 2512 ด้วยกำลังการผลิต 420 ขวดต่อนาที หรือ 2.1 หมื่นลังต่อวัน

โดยนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินโรงงานที่สีลม กับการกู้ยืมเพิ่มเติม รวมทั้งคณะกรรมการบริษัทเองก็มีมติให้เพิ่มทุนอีก รวมเป็นทุนจดทะเบียน 45 ล้านบาท

ช่วงเวลาผ่านไปเพียง 2 ปี เสริมสุขก็ขยายตลาดเป๊ปซี่ในภาคเหนือ ด้วยการซื้อที่ดิน 29 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ จ.นครสวรรค์ สร้างโรงงานแห่งใหม่ ซึ่งเปิดดำเนินงานเมื่อ พ.ศ.2516 มีกำลังการผลิต 800 ขวดต่อนาที หรือ 40,000 ลังต่อวัน

ขณะเดียวกัน ก็ซื้อที่ดินที่บางเขนเพิ่มรวมเป็น 24 ไร่

สังเกตได้ว่า เสริมสุขมีโรงงานการผลิตที่กระจายสินค้าไปทั้งภาคกลาง อีสาน และภาคเหนือ ขาดเพียงแต่ภาคใต้ ซึ่งใช้วิธีส่งตรงไปจากกรุงเทพฯ และเปลี่ยนมาส่งไปจากโรงงานที่ปทุมธานีซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุด ภายหลังจากปิดโรงงานบางเขน

เป็นเวลานานกว่า 24 ปี ที่เสริมสุขปล่อยให้คู่แข่งครองส่วนแบ่งตลาดน้ำอัดลมในภาคใต้ กว่าจะตัดสินใจเริ่มก่อสร้างโรงงานที่ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อกระจายสินค้าใน 14 จังหวัดภาคใต้ ในปี 2540 นี้

ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้นตั้งแต่มีการสร้างโรงงานที่ จ.นครสวรรค์ เป็นแห่งที่สาม เสริมสุขก็ยังมีกิจกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและจัดจำหน่ายออกมาอีกหลายตัว ดังต่อไปนี้

พ.ศ.2518 เสริมสุขเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีผลิตภัณฑ์ "มิรินด้า สตรอว์เบรี่" ออกสู่ตลาด

พ.ศ.2520 จัดซื้อที่ดินจำนวน 160 ไร่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จ.ปทุมธานี พัฒนาระบบกำจัดน้ำเสียที่โรงงานปทุมธานี โดยนำระบบ "ไบโอฟิลเตอร์" และระบบ "เอกเซลเลอเรเตตออกซิเดชั่น พอนดส์" มาใช้ในการกำจัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง

พ.ศ.2521 เริ่มสร้างโรงงานที่ปทุมธานี โดยระยะแรกติดตั้งเครื่องจักร 5 ชุด กำลังการผลิตรวม 26 ล้านขวดต่อวัน ระยะต่อมาติดตั้งอีก 5 ชุด เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 7.2 ล้านขวดต่อวัน พ.ศ.2525 นำผลิตภัณฑ์ "มิรินด้า กรีนครีม" ออกสู่ตลาด ปีถัดมาออก "เมาเทนดิว" ขนาด 10 ออนซ์ พร้อมกับติดตั้งเครื่องจักรใหม่อีกปีละ 1 ชุด ภายในสองปีติดกัน

พ.ศ.2528 เป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่ม เอ็ม 100 และเอ็ม 150 ให้กับบริษัทโอสถสภา จำกัด ซึ่งประสบความสำเร็จ โดยสามารถจำหน่ายได้สูงกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 56 มีผลให้กำไรของเสริมสุขเพิ่มขึ้นด้วย

พ.ศ.2529 เพิ่มทุนช่วงต้นปี ออกหุ้นจำนวน 600,000 หุ้น ๆ ละ 300 บาท เป๊ปซี่-โคล่า อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ซื้อหุ้น 300 บาท เป๊ปซี่-โคล่า อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ซื้อหุ้น 300,000 หุ้น มูลค่า 90 ล้านบาท เป็นสัดส่วนการถือหุ้น 28.57% เสริมสุข จึงตกลงให้เป๊ปซี่-โคล่า เข้าร่วมในคณะกรรมการของเสริมสุขเพื่อดูแลด้านการลงทุน และได้มีการปิดโรงงานบางเขน เนื่องจากปัญหาบ่อน้ำบาดาลที่ใช้อยู่เสื่อมสภาพ และราชการห้ามเจาะบ่อใหม่ จึงย้ายอุปกรณ์การผลิตต่าง ๆ ไปที่โรงงานปทุมธานี

พ.ศ.2530 ติดตั้งเครื่องจักรและดัดแปลงชุดเก่าที่โรงงานปทุมธานี เพื่อผลิตเครื่องดื่มขนาดขวดเพ็ท 2 ลิตร คิดเป็นมูลค่า 4 ล้านบาท และแนะนำ "มิรินด้า รูทเบียร์" ออกสู่ตลาด

พ.ศ.2531 เริ่มขยายโรงงานและการผลิตครั้งใหญ่ที่โรงงานปทุมธานีในเนื้อที่ 7 ไร่ ในปีเดียวกันได้ออกหุ้นกู้ 600,000 หุ้น ๆ ละ 10,000 บาท ส่วนหนึ่งใช้เป็นทุนหมุนเวียนระยะปานกลาง โดยเปลี่ยนเงินทุนระยะสั้นบางส่วนมาเป็นหนี้สินปานกลาง

พร้อมกับเปิดสำนักงานสาขาเพิ่มขึ้นอีก 3 แห่ง โดย 2 แห่งเช่าที่ดินจังหวัดอุดรธานี และสกลนคร ส่วนแห่งที่ 3 ที่จังหวัดจันทบุรี เป็นการซื้อที่ดิน 3 ไร่ 3 งาน 17 ตารางวา เป็นจำนวนเงิน 4.5 ล้านบาท

ปีถัดมา เสริมสุขเริ่มผลิต เซเว่น อัพ บรรจุกระป๋อง และขวดออกสู่ตลาด รวมทั้งซื้อที่ดินเพื่อสร้างสำนักงานสาขาอีก 5 แห่ง เป็นเงิน 13 ล้านบาท ที่กำแพงเพชร ขอนแก่น ลำปาง เชียงราย และอ.ปราณบุรี จ.ประจวบฯ

พ.ศ.2533 ถือเป็นปีสำคัญของวงการน้ำอัดลม เพราะบริษัทผู้ผลิตได้ตกลงเพิ่มราคาขายปลีก จากที่เคยมีการขึ้นราคาครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ.2525 เช่น ขนาด 10 ออนซ์ จากขวดละ 4 บาท เป็นขวดละ 5 บาท ซึ่งแต่ละบริษัทก็พยายามผลักดันให้ผู้บริโภคดื่มน้ำอัดลมมากขึ้น จึงมีขวดบรรจุขนาดใหม่เพิ่มขึ้นด้วย

ขณะเดียวกันในปีนี้ เสริมสุขก็ได้นำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด "คลับ โซดา, จิงเจอร์เอล, คลับโทนิค" และซื้อที่ดิน 37 ล้านบาท เปิดสำนักงานสาขาอีก 6 แห่ง ที่ระยอง ชุมพร เลย อุตรดิตถ์ ราชบุรี และ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา รวมทั้งซื้อเครื่องจักรเพิ่ม

เรียกได้ว่า ช่วงปี 2533 เป็นต้นมา เสริมสุข มีการผลิตสินค้า และจัดจำหน่ายสินค้าออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องทุกปี พ.ศ.2534 นำ "ไดเอท เป๊ปซี่, ไดเอท เซเว่น-อัพ" ออกสู่ตลาด ซึ่งเหตุการณ์สำคัญในปีนี้ก็คือ การเปลี่ยนหุ้นสามัญของบริษัทจาก 100 บาท เป็นหุ้นละ 10 บาท

ต้นปีต่อมา เปิดสาขาใหม่ที่จังหวัดภูเก็ต และรับจัดจำหน่าย ลิปตันไอซ์ที ให้บริษัท ลีเวอร์ไทย

พ.ศ.2536 นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ เป๊ปซี่ และมิรินด้าในขวด พีอาร์บี ซึ่งเป็นขวดพลาสติก และสามารถคืนขวดได้ และได้เป็นตัวแทนจำหน่าย น้ำแร่ วอลวิค ให้กับบริษัท บีเอสเอ็นกรุ๊ป จำกัด ประเทศฝรั่งเศส

พ.ศ.2537 แปรสภาพจากบริษัทจำกัด เป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 105 ล้านบาท เป็น 260 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 15.5 ล้านหุ้น บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯ จากร้อยละ 28.5 เป็นร้อยละ 42.5 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม

รวมทั้งแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท คือ "เป๊ปซี่ แม็กซ์ เซเว่น-อัพ ชิล กลิ่นราสเบอร์รี่และส้ม และน้ำดื่มคริสตัล" ออกสู่ตลาด และจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม เอ็ม-สปอร์ต ให้กับบริษัท โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู) จำกัด

พ.ศ.2538 เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการดื่มน้ำอัดลมมากขึ้น เสริมสุข ได้นำ "เมาเทนดิว" กลับมาทำตลาดใหม่อีกครั้ง จากที่เคยหยุดไปพักหนึ่ง

ล่าสุด เมื่อปี 2539 เป๊ปซี่ เปลี่ยนโลโก โดยใช้ชื่อโครงการในการประชาสัมพันธ์กระตุ้นตลาดว่า โปรเจคบลู โดยมีคอนเซ็ปต์การโฆษณาให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและยังคงเน้นกลุ่มตลาดวัยรุ่น รวมทั้งมีการร่วมทุนกับเยียว เฮียบ เส็ง ผู้ผลิตน้ำดื่มรายใหญ่จากสิงคโปร์ ผลิตเครื่องดื่มประเภทนอนคาร์บอเนต ที่มีวัตถุดิบที่หาได้ในเอเชียออกขาย โดยจะวางตลาดได้ในปี 2540 นี้ พร้อมกับที่โรงงานที่ จ.สุราษฎร์ธานี จะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน

แต่ใช่ว่า การดำเนินงานของเป๊ปซี่ จะหยุดอยู่เพียงเท่านี้ เพราะแม้ตลาดน้ำอัดลมจะมีการเติบโตลดลง เพราะคนสนใจหันไปหาเครื่องดื่มประเภทอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น จากแนวโน้มนี้เอง ที่ทำให้เสริมสุขยังคงมีแผนที่จะพยายามผลิตเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ออกสู่ตลาดอยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาบริษัทให้เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มครบวงจรให้ได้ในวันหนึ่งข้างหน้า ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้นั่นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us