Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 ธันวาคม 2548
"เอยู" จับมือสามารถเทลคอมทุ่มพันล.เปิดสอนโทผ่านเน็ต             
 


   
www resources

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โฮมเพจ สามารถเทลคอม

   
search resources

สามารถเทลคอม, บมจ.
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
E-Learning




เอยูผนึกสามารถเทลคอมทุ่ม 1,000 ล้านบาท เปิด "เอยู พลัส" หลักสูตรปริญญาโททางอินเทอร์เน็ต ตั้งเป้านักศึกษาแสนคนภายใน 5 ปี

ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการและประธานผู้บริหาร วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยู) กล่าวว่า เอยูได้ร่วมมือกับบริษัท สามารถเทลคอม (แซมเทล) เปิดให้บริการระบบอีเลิร์นนิ่งภายใต้ชื่อ เอยู พลัส รวมถึงระบบการจัดการการศึกษา (แอลเอ็มเอส) และระบบการจัดการเนื้อหา (ซีเอ็มเอส) โดยจะใช้ระบบเอยู พลัสในการจัดการการศึกษาทั้งระดับวิชาเดี่ยว หรือระดับการอบรมระยะสั้น หรือระดับปริญญาทั้งหลักสูตร โดยจะเริ่มด้วยการเปิดสอนปริญญาโททั้งหลักสูตรคือวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตการจัดการ

"เอยู พลัสเป็นโอกาสด้านการศึกษาที่ได้ทั้ง 3 แบบ คือ เป็นใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ และเมื่อใดก็ได้" การเปิดสอนปริญญาโทรูปแบบใหม่นี้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2548 ซึ่งผู้จบการศึกษาจากระบบอีเลิร์นนิ่งนี้จะได้รับการรับรองวุฒิจาก กพ. เช่นเดียวกับผู้จบการศึกษาจากการเรียนในห้องเรียน

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ มีการลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยเอยูลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท ในการสร้างอาคารศรีศักดิ์ จามรมาน สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งวิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต ขณะที่แซมเทลจะเป็นผู้ลงทุนด้านเทคโนโลยี และแอปพลิเคชัน รวมถึงการผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในหลักสูตรมากกว่า 30 วิชา

นายธวัชชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น และประธานแซมเทลกล่าวว่า กลุ่มสามารถเริ่มให้ความสำคัญและเน้นแอปพลิเคชันด้านการศึกษามากขึ้น เนื่องจากคนมีการศึกษาและเรียนรู้ตลอดเวลาจะไม่เน้นเฉพาะเรื่องของเน็ตเวิร์กเพียงอย่างเดียว และขณะนี้แซมเทลได้มีการติดตั้งไอพีสตาร์ บรอดแบนด์ ไปแล้ว 1 หมื่นโรงเรียน

"ต่อไปในอนาคตคนชนบทจะเรียนรู้ได้เท่าคนกรุงเทพฯ เพราะเทคโนโลยีมีทั้งไอพีสตาร์ที่ดาวเทียมบรอดแบนด์ และเทคโนโลยีเอดีเอสแอล ที่มีสปีดเร็วขึ้น คอมพิวเตอร์ก็ราคาเริ่มลดลง ขณะเดียวกันก็สามารถใช้งานแบบโมบิลิตี้ได้ด้วย"

สำหรับโครงการเอยู พลัส ตั้งเป้ายอดผู้เข้ามาเรียนหลักสูตรในปีแรก 1,000 คน และคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 1 แสนคน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us