Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์5 ธันวาคม 2548
นักออกแบบไร้พรมแดน “แรงบันดาลใจของผมคือเงิน”             
 


   
search resources

Arts and Graphic Design
สุวรรณ คงขุนเทียน




“สุวรรณ คงขุนเทียน” Product Designer ชื่อดัง สร้างสรรค์ผลงานเทียบเวทีโลก
โกยทั้ง “เงิน” กวาดทั้ง “กล่อง”
เคล็ดลับมืออาชีพ วิธีคิดที่ไม่มีวันตัน รู้จักตัวตน เข้าใจความเป็นสากล

“ถ้ามีคนถามว่าแรงบันดาลใจของผมคืออะไร บางคนท้องฟ้า บางคนทะเล บางคนภูเขา ของผม ‘เงิน’ เราอย่าเดินหนี แต่หลังจากนั้นเป็นอีกประเด็น”

“แรงขับเคลื่อนให้ธุรกิจเดินได้ปัจจัยหลักคือการหาเงินถูกหรือเปล่า เป็นแรงบันดาลใจให้คนทำงานหนัก ทำให้ต้องทำดีไซน์“

“เมื่อผมทำงานออกแบบ ผมกลับมาอยู่ในโลกของผม เงินไม่ใช่ปัจจัยในการทำงานตรงนั้น แต่ผมกำลังสนุกกับความรู้สึกของผม แต่เมื่อไหร่ที่ผมก้าวออกจากโลกดีไซน์ของผม นั่นคือเรื่องของธุรกิจเป็นปัจจัยในการเจรจาธุรกิจ”

“เพราะฉะนั้น ผมพยายามแยกตัวเองสองส่วน ในโลกดีไซน์ของผมจะไม่เอามาพูดกับโลกของความเป็นจริง หมายความว่าโลกของความเป็นจริงมันเข้าไปในโลกส่วนตัวของผมไม่ได้ เพราะเป็นอารมณ์ความรู้สึก แต่โลกความจริงยื่นหมูยื่นแมวรู้ว่าได้ร้อยบาทหรือพันบาท เราฝันของเราและขายฝันของเรานั่นคือโลกของความเป็นจริง แต่ในขณะที่ผมฝันนั้นไม่มีใครสัมผัสได้ เพราะฉะนั้น อย่าลากคนอื่นเข้าไปในโลกของตัวเราไม่อย่างนั้นจะยุ่งเพราะจะตั้งราคาแพง”

นั่นคือวิธีคิดของ “สุวรรณ คงขุนเทียน” โปรดักต์ดีไซเนอร์ชื่อดังและหนึ่งในผู้บุกเบิกสานสร้าง “โยธกา” เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านแบรนด์ดังของไทยที่ไปสร้างชื่ออยู่ในตลาดโลก

“ถ้าบอกว่ามันทำยากมันก็ต้องแพง ผมก็บอกว่าก็คิดสิว่าทำยังไงให้มันง่าย ต้นทุนการผลิตถูกลงแต่ยังรักษารูปทรงที่เราต้องการได้ ขายได้ราคาถูก” ดีไซเนอร์มืออาชีพอธิบายต่อ

“เพราะเรื่อง image เมื่อมันถึงมันก็แพงขึ้นมาเอง ถ้าดีไซน์ดีราคาก็ไต่ขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ผิดที่จะให้คุณค่ากับงานดีไซน์ แต่ผมทำธุรกิจเพื่อให้อยู่รอด อยากให้คนชื่นชมและใช้ผลงานผมมากกว่า เพราะผลลัพธ์ที่มันกลับมามากกว่าที่ผมจะเอาค่าตัวผมใส่เข้าไปในงาน ถ้าคนตื่นเต้นกับงานเราแต่ไม่เอาไปใช้มันจะมีประโยชน์อะไร”

สุวรรณบอกว่า นักออกแบบไม่รวย แต่ถ้านักออกแบบหันมาทำธุรกิจจะรวย เข้าใจธุรกิจก็รวยได้ ธุรกิจก็คือการซื้อมาขายไป แค่นั้นเอง
“แรกๆ ผมก็เครียดพอธุรกิจเริ่มโต วิธีที่ง่ายๆ คือการไปฟังสัมมนา ไปฟังเขาพูดมันเข้าใจง่าย จะเรียนรู้เอง ตอนนี้มีคนบอกว่าผมไม่ใช่ดีไซเนอร์แล้ว เป็นพวกพ่อค้า”

สุวรรณเล่าถึงความสำเร็จว่า ลูกค้าต่างชาติเขายอมรับและรู้จักงานดีไซน์ดีๆ ของไทยที่ไปออกงานแฟร์ในต่างประเทศไม่น้อย ด้วยความคิดที่ไม่กลัวการลอกแบบเพราะพื้นฐานลูกค้ามีเงินมักจะซื้อของนำเข้าแต่ต้องมีดีไซน์ และโพสิชั่นนิ่งสินค้าต้องวางอยู่ในตำแหน่งที่ดีไม่ใช่แถวล่าง เพราะฉะนั้น สินค้าของโยธกาที่ขายในประเทศจีน โซฟาตัวละแสนบาท

“ทำให้คนที่ใช้ภูมิใจที่จะจ่าย นี่คือเรื่องหน้าตา โอ้อวด เป็นจิตวิทยา คนมีตังค์ไม่ช้อปปิ้งตลาดล่าง ไม่สนใจของก๊อปปี้ ผมเปลี่ยนกระบวนคิดว่าอย่ากลัวเลยเข้าไปชนมันเลย ไม่เห็นมีปัญหาผมขายได้เป็นตลาดที่ดีทีเดียว ตลาดอินเดียก็น่าเข้าไป ถ้าคิดอย่างนี้แล้วพิสูจน์ได้ว่ามันอยู่รอดก็คิดว่าน่าจะเป็นทฤษฎีที่ใช้ได้ เหมือนหลุยส์วิตตองของปลอมเต็ม”

เขาย้ำว่าจุดแข็งของประเทศไทยว่าคือเทคโนคราฟท์ เพราะเทคโนโลยีสู้เขาไม่ได้ แต่จะคราฟท์เพียวๆ ก็ไม่ได้ ในงานแฟร์ระดับโลกจะเห็นได้ว่างานของประเทศไทยมีเสน่ห์เพราะผสมผสานระหว่างหัตกรรมกับเทคโนโลยี

“เปรียบกับการทำงาน เราทำตัวเป็นฝรั่งในร่างเอเชีย ผมเป็นเอเชีย แต่ผมยื่นข้อมูลและสไตล์เป็นฝรั่ง แต่โปรดักต์ทำในเมืองไทยไปขาย ตรงนี้ช่องว่างใหญ่”

“แต่เมื่อพูดถึงความเป็นตะวันออกก็คือการสร้างความเป็นตะวันออกที่มีความเป็นกลาง เมื่อเราทำถึงจุดหนึ่งเราจะทำได้ ไปวางสินค้าในตลาดไหนก็ได้ นี่คือการทำอินเตอร์เนชั่นแนลเทรด เรื่องนี้ยากมาก แต่คนทำดีไซน์เข้าใจได้”

นอกจากการนำ “ผักตบชวา” ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกที่นำมาใช้ประโยชน์ สานสร้างและดีไซน์ จนเกิดตลาดเฟอร์นิเจอร์เซ็กเม้นต์ใหม่ แต่กระแสวัตถุดิบธรรมชาติเริ่มชะลอลง จึงสรุปว่าต้องรักษาโนว์ฮาวที่มีอยู่คือการสาน แต่นำเส้นพลาสติกมาเป็นวัสดุใหม่ที่นำมาใช้แทนและกำลังได้รับการตอบรับอย่างดีในตลาดสากล

“ถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าเป็นพลาสติก ก็เหมือนกับที่รู้ว่าอะไรที่เป็นเรื่องเทคโนโลยีจะเข้ามา ติดตามกระแสของโลก ก็มีคนอื่นที่รู้เพียงแต่ใครจะหยิบก่อนกัน”

สำหรับการออกแบบเขาบอกว่า “การออกแบบต้องเล่นกับความรู้สึก”

เขาเล่าประสบการณ์เรื่องหนึ่งตอนไปออกงานที่ต่างประเทศ “เป็นเรื่องพฤติกรรมคน ผมเอาเก้าอี้อาร์มแชร์ค่อนข้างใหญ่ เหมือนเป็นตั่ง ที่นั่งมันก็ต้องใหญ่พอที่จะไปนั่งพับเทียบทั้งตัว เป็นวิธีนั่งของคนเอเชีย ชอบนั่งกับพื้น คนเราไม่จำเป็นต้องนั่งห้อยขา ก็มีฝรั่งชาวสเปนคนหนึ่งถามผมว่าต้องนั่งยังไง ผมก็ไม่ได้บอกวิธีนั่ง แต่บอกเขาไปว่าแล้วแต่คุณจะชอบ As you like. เขาก็ขึ้นไปนั่งแล้วก็พิงที่ผนังแล้วก็เรียกภรรยามานั่งด้วยกันเพราะที่นั่งมันใหญ่มาก แล้วเขาก็จูบกัน ผมถ่ายรูปไว้ ผมก็บอกว่านี่ไง เก้าอี้มันควรสนองตอบพฤติกรรมของคน เหมือนดีไซน์ลีลาการนั่งของตัวเอง ไม่ควรมีข้อจำกัด เพราะขณะที่ผมดีไซน์ให้คนนั่งพับเพียบแต่คนมานั่งกอดกัน มันเป็นความรู้สึกในขณะนั้น”เพราะฉะนั้น เมื่อพูดถึงธุรกิจขายชาวต่างชาติต้องมีความเป็นสากล อย่าทำเป็นไทยสไตล์ลงไปในดีไซน์

“ผมคิดเอาสเปซของการนั่งพื้นแบบเหยียดและพับเพียบมาทำดีไซน์ ให้ดีไซน์ออกมารองรับความคิดนี้ เราก็นำไลฟ์สไตล์มาใช้ในงานดีไซน์ แต่ผมไม่ได้เอาสไตล์ก็คือกนกหรือลายทั้งหลายของไทยไปทำในงานดีไซน์ เหมือนเวลาผมสาน ไม่เอาถักทอและยกดอก แต่เอาโนว์ฮาวเทคนิคมาใช้ แล้วอยู่ในรูปทรงสมัยใหม่”

สุวรรณถ่ายทอดประสบการณ์ต่อไปอีกว่า มีคนวิจารณ์ว่างานของโยธกาว่ามีความเป็นตะวันออก ซึ่งเขาก็บอกว่าเป็นเพราะเขามีความชื่นชมความเป็นตะวันออกอยู่แล้ว “เหมือนคุณเป็นคนรักสีเทามากๆ แต่ไม่รู้ว่าเป็นคนรักสีเทา ซื้ออะไรก็เป็นสีเทาไปหมด มันออกมาโดยธรรมชาติ เราไม่รู้ตัว แต่ผมก็รู้ว่าผมชื่นชมศิลปวัฒนธรรมจีน อินเดีย แล้วของฝรั่งผมก็ชอบอย่างเรอเนซอง คลาสสิค งานเพ้นท์ ของเขาเราก็ชอบแต่เราไม่เก็บเอามาเป็นตัวตนของเรา แต่ผมรู้ว่าผมเป็นคนชอบงานหัตถกรรม ชอบอะไรที่เป็นธรรมชาติ อะไรก็ตามที่เป็นตัวเราและเราชื่นชมจริงๆ ผมเชื่อว่ามันจะออกมาในงานออกมาจากข้างในโดยที่เราไม่รู้ตัว”

“ผมคิดว่าการออกแบบในโลกปัจจุบัน ไม่มีพรมแดนอีกต่อไป มันเป็นตัวตนของผมที่ไม่ตั้งข้อจำกัดในงานของผม เปิดตัวเองยอมรับทุกอย่าง รู้ว่าภูมิใจในความเป็นตะวันออก แต่ไม่บอกว่าเป็นอย่างนี้อย่างนั้น บทสรุปของคนที่ให้มาจากการเห็นงานของเรา ไม่ใช่บทสรุปที่เราให้ตัวเราเอง”

“มาสเตอร์พีซ” สำหรับนักออกแบบมืออาชีพต้องยังไม่มีเพราะถ้ามีแปลว่าเมื่อนั้นกำลังจะหยุดทำงานแล้ว สุวรรณก็เช่นกัน “แต่มีงานที่ชอบ ผมชอบงานทุกชิ้นที่ผมทำ แต่ไม่มีชิ้นที่ดีที่สุด”

ตอนนี้มี 3 ชิ้นที่เขาชอบมาก คือ เก้าอี้ดาไล (Dalai) คล้ายๆ อาสนะของพระ เก้าอี้แอนทีคเบนช์ เป็นตั่งยาวๆ เพราะมันมีเส้นสายของความเป็นตะวันออก และโต๊ะกลมพีพี เพราะดูมีเสน่ห์สวยงามในตัวเองและมีความเป็นตะวันออกมาก

ทั้ง 3 ชิ้นก็ได้รางวัลอีกด้วยในเวทีระดับโลกอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Asian Design Award หรือ Good Design Award from Japan Industrial Design Promotion Organization (G-Mark Award) แต่ก่อนนั้นก็มีหลายชิ้นที่กวาดรางวัลมาแล้ว ซึ่งเขาบอกว่าไม่เคยคิดจะทำเพื่อประกวดเลย ทำไปตามที่เห็นว่าสวย

แต่ไม่ว่าจะเป็นเป็นนักออกแบบระดับไหนก็มี “ตัน” สุวรรณบอกว่า แต่ทางตันมีหลายระดับ นักออกแบบใหม่ อาจจะตันบ่อยหน่อย เพราะประสบการณ์น้อย สำหรับเขาใช้วิธีคุยกับเพื่อนหลากหลายอาชีพ

“ส่วนใหญ่เป็นหมอ วิศวกร หรือคนทำธุรกิจ หรือคนทำธุรกิจที่ชอบศิลปะ ผมก็จะไปแหย่โดยเขาไม่รู้ตัว เช่น เราบอกว่าโรงแรมนี้น่าเกลียดเพราะ... เขาก็เริ่มวิจารณ์... เรื่องที่ได้ก็เป็นเรื่องพฤติกรรมการใช้ของคน ชอบหรือไม่ ... แล้วสักพัก ก็จุดประกาย ทำไมเราไม่ทำแบบนี้ ผมจะไม่หาจากหนังสือเพราะนั่นคือบทสรุป ไม่ใช่จุดเริ่มต้น”

“แต่ไม่ได้หมายความว่าพอจะทำงานเราไปคุยกับเขา เป็นการสะสม ที่สำคัญต้องจด มีสมุดเก็บความคิดที่ออกมา เขียนสั้นๆ ให้รู้ เช่น อยากทำเก้าอี้ตัวใหญ่ๆ นั่งได้ทีละสองคนในความรู้สึกแบบนี้ตามที่ต้องการ อารมณ์ในวันนั้นว่าอยากได้อะไร”

“พอมาพลิกอ่านมันเหมือนการเตือนสติ ภาพวันนั้นจะกลับมาจาก พอได้ดีไซน์คราวนี้ง่าย ผมก็เริ่มทำงานจากนั้น เหมือนมีทางเดิน แล้วจะไม่มีวันตัน เพราะฉะนั้น สมุดหรือสเก็ชจำเป็น ผมมีเป็นกองๆ นี่คือบทสรุปในกระบวนการทำงานของผมที่ใช้ได้ตลอด”

ส่วนการท่องเที่ยวเป็นโอกาส การเห็นจริงเป็นการเก็บข้อมูล สัมผัสจริงให้คำตอบได้เลยว่าใช่หรือไม่ใช่ ช่วยตัดสินใจอีกทีว่าผิดหรือไม่ผิด เขาย้ำว่า การเป็นนักออกแบบไม่ว่าจะสาขาไหนก็ตาม จะต้องมีตา มีมุมมอง และมีวิธีคิดที่ต่าง ต้องเห็นอะไรมากกว่าลึกกว่า เห็นความแตกต่างของความงามที่คนอื่นมองอยู่ นี่คือความยากของอาชีพนี้...

“ผมสอนว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ทำไม่ได้ ไม่จำกัดความคิด ทำให้เกิดการหาทางออก และทางออกสุดท้ายอาจจะเกิดเป็นอีกดีไซน์ มีดีไซน์ชิ้นหนึ่งเกิดจากการพับกระดาษ ตอนนี้เราซื้อมาผลิตเป็นงานและขายได้ นี่คือการพิสูจน์”

ในความคิดของเขา เส้นทางอาชีพนี้ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะนักออกแบบเป็นคนเกลาศิลปะ ทำอะไรก็ตามเป็นสิ่งสวยงาม คนยอมรับได้ง่ายที่สุด เมื่อนักออกแบบเป็นคนที่ทำสิ่งสวยงาม ย่อมขายได้ ด้วยมิติหลากหลายของวิธีคิดและบทพิสูจน์จากผลงาน “สุวรรณ คงขุนเทียน” จึงเป็นนักออกแบบไร้พรมแดน...ที่น่าติดตาม...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us