|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติแฉเดือนเดียวรัฐบาลใช้เงินคงคลัง 6.7 หมื่นล้าน ทำให้เหลือ แค่ 3.6 หมื่นล้าน และขาดดุลเงินสด 5.3 หมื่นล้าน เผยตัวเลขเศรษฐกิจ ต.ค. ขาดดุลการค้า 1.5 หมื่นล้านบาท เหตุส่งออกเดี้ยงเพราะจีนตีตลาดกระจุย ขณะที่ขุนคลังผงะนำเข้าทองคำพุ่ง 44% แต่มั่นใจจีดีพี 4.3% ฝ่ายค้านจับพิรุธรัฐบาลถังแตกจนต้องออกตั๋วกู้เงิน 8 หมื่นล้าน เพราะชวดเงินจากการขายหุ้น กฟผ.
วานนี้ (30 พ.ย.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงเศรษฐกิจเดือน ต.ค. 48 ภาวะเศรษฐกิจ โดยรวมพบว่า ชะลอตัวจากเดือนก่อน ดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ดุลการค้าขาดดุล 372 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 15,000 ล้านบาท เนื่องจากการส่งออกชะลอลงมาก โดยขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียง 7.7% เทียบกับ 23.8% ในเดือนก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่า 9,403 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การนำเข้าขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนในอัตรา 19.7% คิดเป็นมูลค่า 9,775 ล้านเหรียญสหรัฐ
นางสุชาดา กิระกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. เปิดเผยว่า สินค้าส่งออก สำคัญที่ขยายตัวลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ยางพาราและน้ำตาล ส่วนสินค้าที่การนำเข้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สินค้าทุน ซึ่งรวมการนำเข้าเครื่องบิน 2 ลำ
ทั้งนี้ การนำเข้าน้ำมันดิบ ยังขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยปริมาณนำเข้าน้ำมันรวมปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่ราคาเริ่มชะลอ ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 440 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากรายได้ ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายจ่ายส่งกลับกำไรและเงินปันผลต่ำกว่าเดือนก่อนซึ่งเป็นระยะตกงวดชำระ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพียง 69 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับดุลการชำระเงินเกินดุล 303 ล้านเหรียญสหรัฐ
ด้านเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ที่ระดับ 49.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
นางสุชาดาเปิดเผยด้วยว่า เดือน ต.ค. รัฐบาลขาดดุลเงินสดอยู่กว่า 53,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลใช้เงินกองคลังกว่า 67,000 ล้านบาทส่งผลให้ยอดเงิน กองคลัง ณ สิ้นเดือน ต.ค. เหลือกว่า 36,000 ล้านบาท
วันเดียวกัน นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจ การคลังประจำเดือนตุลาคม 2548 ว่า การจ้างงานโดยรวมชะลอตัวโดยอัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม อยู่ที่ 1.8% เป็นผลจากการจ้างงานในภาคการเกษตรที่มีสัดส่วนสูงถึง 38% ของการจ้างงานรวมปรับตัวลดลง และคาดว่าการจ้างงานในไตรมาส ที่ 4 จะขยายตัวใกล้เคียงกับในไตรมาสที่ 3
สำหรับการบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวได้ดีขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจ ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนตุลาคมขยายตัวร้อย 22.3% ซึ่งแม้ว่ารายได้ที่สูงขึ้นนั้นจะมาจากผลของราคาที่สูงขึ้น แต่เมื่อหักผลด้านราคาออกแล้วยังพบว่าปริมาณการจัดเก็บรายได้เพิ่มมากขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนทั้งในด้านเครื่องจักร และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อยู่ในระดับที่ทรงตัว ส่งออกเดี้ยงเพราะจีน-นำเข้าทองคำพุ่ง 44%
การส่งออกขยายตัว 8.4% เป็นมูลค่า 9,574 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าในเกือบทุกรายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการขยายตัว 9.5% จากที่เคยขยายตัวได้ 16.3% และ 27.7% ในเดือนสิงหาคม และกันยายน ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการในตลาดลดลงประกอบกับสินค้าจากประเทศจีนเข้ามาตีตลาด
ด้านการนำเข้า ชะลอตัวลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 4 โดยมีการนำเข้าเป็นมูลค่า 9,760 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 18.3% ซึ่งหากการนำเข้ามีการขยายตัวในอัตรานี้ต่อไป การนำเข้าเฉลี่ยทั้งปีของปี 2548 อาจจะต่ำกว่าเป้าหมายการควบคุมการนำเข้าที่ 28% สินค้าที่มีการนำเข้าลดลงอย่างมาก ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 16.4% และปริมาณการนำเข้าที่ลดลง 27.0% ส่วนทองคำที่กำลังเป็นที่จับตาอยู่นั้น ปริมาณการนำเข้าทองคำกลับเพิ่มขึ้น 44.4%
"ดุลการค้าขาดดุล 185.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการนำเข้าเครื่องบินของบริษัทการบินไทย ขณะเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นโดยอัตราเงินเฟ้อขยายตัว 6.2% สูงขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภค พื้นฐานขยายตัว 2.4% ต่อปี"
คลังคาดจีดีพีปีนี้โต 4.3%
นายสมชัยกล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2548 จะขยายตัวได้ 4.3% ต่อปี ซึ่งอยู่ในช่วงที่ได้ประมาณการไว้เดิมที่ 4.1-4.6% ต่อปี โดยในครึ่งปีแรกเศรษฐกิจขยายตัว 3.9% ต่อปี ส่วนในครึ่งปีหลัง คาดว่า จะขยายตัวได้ประมาณ 4.5% ต่อปี
โดยระบุว่า ครึ่งปีหลังยังมีปัจจัยบวกที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ได้แก่ 1. ปริมาณการส่งออกสินค้าในไตรมาส 3 ที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 12 ไตรมาส ขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงมาก แต่ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนยังขยายตัวดีอยู่ 2. อัตราการใช้กำลังการผลิตยังอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 ไตรมาส 3. ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 4 ทำให้คลายแรงกดดันต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง
ด้านการค้าระหว่างประเทศคาดว่า มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 109.6 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 14.1% ต่อปี ส่วนมูลค่า นำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 118.2 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 25.3% ต่อปี ส่งผลให้ขาดดุลการค้าประมาณ 8.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การขาดดุลการค้าในปี 2548 ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการที่ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นเฉลี่ย 44.5% จากปี 2547 และการนำเข้าน้ำมันที่คาดว่ามีมูลค่าถึง 18.5 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 4.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 2.3% ของ GDP ทุน สำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นปี 2548 คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงที่ประมาณ 48.3 คิดเป็น 2.9 เท่าของ หนี้ต่างประเทศระยะสั้น และคิดเป็น 4.9 เดือนของ มูลค่าการนำเข้าเฉลี่ยต่อเดือน
ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าจะอยู่ที่ 4.5% ต่อปี ซึ่งปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วสูงขึ้นในปี 2548 ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นจากปี 2547 เฉลี่ย 44.5% และรัฐบาลยกเลิกการตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล 14 กรกฎาคม 2548 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสด ในปี 2548 คาดว่าจะอยู่ที่ 1.6%
ขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้า คาดว่าจะอยู่ที่ 122.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 12.0% ต่อปี ส่วนมูลค่านำเข้าสินค้าคาดว่าจะอยู่ที่ 127.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 8.0% ต่อปี ส่งผลให้ขาดดุลการค้าประมาณ 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการนำเข้าสินค้าทุนและน้ำมันเป็นหลัก และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 0.1% ของจีดีพี ส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นปี 2549 คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงที่ 52.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 3.0 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และคิดเป็น 4.9 เดือนของมูลค่าการนำเข้าเฉลี่ยต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ในปีหน้า ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักที่ยังคงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย รวมถึงแรงกดดันที่ทำให้ค่าเงินหยวน มีทิศทางที่สูงขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐ มีทิศทาง ที่อ่อนตัวลง ซึ่งจะเป็นผลให้ไทยต้องดูแลค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด ซึ่งคาดว่าเงินบาทจะอยู่ในระดับ 42 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนปัจจัยภายในประเทศนั้น คาดว่ามีผลกระทบทางลบไม่มากนัก
นายทนง พิทยะ รมว.คลัง กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนที่เหลือช่วงปลายปีนี้จะไม่มีปัญหา และมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งมีการจับจ่ายใช้สอย สำหรับการจัดเลี้ยง ซื้อของขวัญ
แฉรัฐชวดเงิน กฟผ.จนต้องกู้ 8 หมื่นล้าน
นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยสาเหตุที่รัฐบาลต้องออกตั๋วเงินคลังจำนวน 8 หมื่นล้านบาทว่า เป็นการบริหารเงินคงคลังที่ไม่รอบคอบ และใช้จ่ายเกินตัวตามใจชอบ
"หากรัฐบาลถังแตก ประชาชน 60 ล้านคน จะเดือดร้อน เป็นที่น่าสังเกตว่า การที่รัฐบาลมีการตัดเส้นทางรถไฟฟ้าไปแล้ว 2 สายทั้งที่รู้ว่าเป็นนโยบาย ที่ประชาชนชื่นชอบและเป็นสิ่งที่รัฐบาลได้หาเสียงมาตลอด แสดงให้เห็นแล้วว่ารัฐบาลรู้แล้วมีปัญหาในสภาพคล่อง"
นายเกรียงศักดิ์ตั้งข้อสังเกตุด้วยว่า การแปรรูป กฟผ.ที่รัฐบาลต้องการนำเงินที่ได้มูลค่าถึง 5 หมื่นล้านบาท แต่ก็มีการคัดค้านจนต้องเลื่อนการขายหุ้นออกไป ทำให้รัฐบาลเกิดภาวะขาดสภาพคล่อง จนต้องออกมานโยบายดังกล่าว ดังนั้น นายกรัฐมนตรีต้องออกมาชี้แจงให้ชัดเจนว่ารายได้จากตั๋วเงินคลังรัฐบาลจะไม่นำไปใช้อย่างอื่น แต่จะนำไปเป็นเงินที่สำรองไว้เพื่อสภาพคล่องในการเบิกจ่ายตามงบประมาณประจำปีเท่านั้นเพื่อความโปร่งใส
แหล่งข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กล่าวว่า การออกตั๋วเงินคลังของรัฐบาลส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีปัญหาเงินคงคลัง หากแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ไม่ตรงตามเป้า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยอาจเกิดปัญหา และส่งผลให้การดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลที่ก่อนหน้าประกาศให้ความสำคัญต่อการจัดงบประมาณสมดุล กลับกลายมาเป็นขาดดุลงบประมาณ ซึ่งเรื่องนี้นักลงทุนต่างประเทศกำลังจับตามอง
รายได้ภาครัฐ ต.ค. 48
ภาคการคลัง
รายได้จัดเก็บ ตุลาคม8.1% กันยายน 32.2%
รายได้การจัดเก็บภาษี ตุลาคม9.7% กันยายน22.8%
รายได้ที่ไม่ใช่ภาษี ตุลาคม-16.7% กันยายน208.3%
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (ต.ค.เป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ)
|
|
|
|
|