Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 พฤศจิกายน 2548
ไฟเขียวลดภาษีศุลกากร9รายการ หวังลดต้นทุนการผลิต-เพิ่มการแข่งขัน             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

กระทรวงการคลัง
Auditor and Taxation




ครม. อนุมัติปรับโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรรวม 9 รายการ หวังช่วยลดต้นทุน การผลิตและเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันให้กับผู้ผลิตในประเทศ

นายสมชัย สัจจพงษ์ รอง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (29 พ.ย.) ได้มีมติให้ความเห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ รวมจำนวนทั้งสิ้น 9 ประเภทย่อย

สำหรับสินค้าทั้ง 9 รายการ ประกอบด้วย สาหร่ายทะเลที่ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตวุ้น อะลูมินัสต์ซีเมนต์ เครื่องจักรผสม เส้นใย (Blow room) แผ่นเหล็ก TMBP ชิ้นส่วนที่นำเข้ามาใช้ประกอบเป็นอุปกรณ์ล้างไตทางช่อง ท้องระบบ 2 ถุง และโพลิอะไมด์ในลักษณะขั้นปฐมภูมิ

"การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรทั้ง 9 ประเภทย่อย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบนั้น ทางกระทรวงการคลัง ได้หารือ และได้ข้อสรุปร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย"

ส่วนรายละเอียดของการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรดังกล่าว ประกอบด้วย 1.การปรับลดอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตที่ไม่มีผลิตในประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 8 ประเภทย่อย คือ

1. สาหร่ายทะเลสำหรับที่นำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตวุ้นจากปัจจุบันอัตราอากรขาเข้าเท่ากับ 5% ลดลงเหลือ 1%

2. อะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีตทนไฟ จากปัจจุบัน อัตราอากรขาเข้าเท่ากับ 10% ลงเหลือ 1%

3. เครื่องจักรผสมเส้นใย (Blow room) ที่ใช้ในกระบวนการ ผลิตเส้นด้ายของอุตสาหกรรม สิ่งทอ จากปัจจุบันอัตราอากรขาเข้า เท่ากับ 5% ลงเหลือ 1%

4. แผ่นเหล็ก TMBP ชนิดที่นำมาใช้ในการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบ โครเมียม โดยขยายระยะเวลาในการปรับลดอัตราอากรขาเข้าในอัตรา 1% ต่อไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549

5. ชิ้นส่วนที่นำเข้ามาใช้ประกอบเป็นอุปกรณ์ล้างไตทางช่องท้องระบบ 2 ถุง จาก อัตราอากรขาเข้าปัจจุบันเท่ากับ 3%- 20% ลงเหลือ 1%

6. ทบทวนการปรับปรุงอัตรา อากรขาเข้าสินค้าเฉพาะโพลิอะไมด์-6 เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการผลิตในประเทศสามารถแข่งขันได้ โดยปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้าจากปัจจุบันเท่ากับ 5% เป็น 12.5% หลังจากนั้นจะทยอยปรับลดอัตราอากรขาเข้าลง โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549

อัตราอากรขาเข้าจะปรับลดลงเหลือ 8.75% และสำหรับการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป อัตราอากรขาเข้าจะปรับลดลงเหลือ 5% เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิตที่กระทรวงการคลัง กำหนด

"การดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าทั้ง 9 ประเภทย่อยข้างต้น จะช่วยลดต้นทุนการผลิตในส่วนของภาระภาษีนำเข้า และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการผลิตในประเทศให้สามารถแข่งขันได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวคาดว่า จะทำให้ รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรไปเป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 8.5 ล้านบาท"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us