|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
บล.กิมเอ็งออกวอร์แรนต์จัดสรรพนักงานหวังมัดใจมาร์เกตติ้งไม่ให้ย้ายค่ายพร้อมจัดระเบียบพอร์ต ซื้อขายของลูกค้ารายใดไม่ซื้อขายภายใน 1 ปีจะส่งหนังสือเตือนและให้เวลาอีก 1 ปีถ้ายังไม่เคลื่อนไหวจะเก็บค่าดูแลพอร์ตบัญชีละ 500 บาทยอมรับผลประกอบการปีนี้ลดลง เหตุมูลค่าการซื้อขายที่ลดลง ขณะที่บริษัทแม่กำหนดนโยบายให้รักษามาร์เกตแชร์ ภายใต้เงื่อนไขการลดต้นทุน
นายมนตรี ศรไพศาล ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน) (KEST) เปิดเผยว่า ภายในวันที่ 6 ธ.ค. บริษัทจะจัดประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งจะมีวาระเกี่ยวกับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิ(วอร์แรนต์)จำนวน 27.25 ล้านหน่วย หรือคิดเป็น 5% หลังจากแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญแล้วเพื่อจัดสรรให้กับพนักงานและเจ้าหน้าที่การตลาด(มาร์เกตติ้ง) โดย มีอายุ 4 ปี และจะสามารถทยอยใช้สิทธิได้ทุกๆ 6 เดือนภายในระยะเวลา 3 ปี(Lock up) โดยวิธีการจัดสรรให้กับเจ้าหน้าที่มาร์เกตติ้งนั้นจะพิจารณาจากมูลค่าการซื้อขายของเจ้าหน้าที่มาร์เกตติ้งแต่ละราย ส่วนพนักงานทั่วไปจะประเมินจากผลงาน
สาเหตุที่จัดสรรให้พนักงานเพื่อต้องการให้มีความผูกพันกับองค์กรโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่มาร์เกตติ้งเพื่อป้องกันไม่ให้มีการย้ายไปทำงานกับโบรกเกอร์แห่งอื่น ส่วนก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่ามาร์เกตติ้งจะถูกดึงตัวไปอยู่โบรกเกอร์อื่น นายมนตรี กล่าวว่า ได้เจรจาตกลงกันแล้วได้ข้อยุติไม่ลาออก
นอกจากนี้ บริษัทเตรียมทบทวนพอร์ตลูกค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวในการซื้อขายเลยในระยะเวลา 1 ปีซึ่งจะส่งหนังสือไปยังลูกค้าเพื่อเตือนให้มีการซื้อขายและถ้าอีก 1 ปีต่อมายังพอร์ตยังไม่มี การเคลื่อนไหวอีกบริษัทก็จะเรียกดูแลพอร์ตบัญชีละ 500 บาทต่อปีโดยจะเริ่มเก็บภายในปี 2550 เป็น ต้นไป "
การปล่อยมาร์จิ้นของบริษัทให้ลูกค้าจะพิจารณาจากศักยภาพของลูกค้าแต่ละรายและในช่วงที่ภาวะตลาดหุ้นดีในปี 2546 มีการปล่อยมาร์จิ้นอยู่ในระดับ 2.2-2.4 พันล้านบาท แต่ปัจจุบันนี้ภาวะตลาด หุ้นซบเซาทำให้การปล่อยมาร์จิ้น ลดลงเหลือเพียง 1 พันล้านบาท" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกล่าว
นายมนตรี กล่าวต่อว่า ในช่วง ที่ผ่านมาบริษัทแม่จากสิงคโปร์ได้มอบหมายนโยบายการดำเนินธุรกิจจะต้องรักษามาร์เกตแชร์ให้เป็นโบรกเกอร์อันดับ 1 ภายใต้เงื่อนไขที่จะต้องลดต้นทุนการดำเนินงานลงแต่บริษัทจะไม่มีการปลดพนักงานหรือลดคุณภาพงานวิจัยเพราะถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะให้กับลูกค้า โดย ตั้งแต่ต้นปีบริษัทมีมาร์เกตแชร์อยู่ที่ระดับ 10% ซึ่งภายใน 2 เดือนที่ผ่านมามาร์เกตแชร์ได้ลดลงเหลือ 9% เพราะที่ผ่านมาสัดส่วนของนักลงทุน รายย่อยลดลงโดยนักลงทุนหน้าใหม่ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น และนักลงทุนต่างประเทศมีสัดส่วนนักลงทุนเพิ่มขึ้นประกอบกับภาวะตลาดหุ้นที่ไม่เอื้ออำนวยทำให้บริษัทได้แนะนำลูกค้าให้ชะลอการซื้อขาย
อย่างไรก็ตาม ภายในปี 2549 บริษัทตั้งเป้าจะมีมาร์เกตแชร์อยู่ที่ระดับ 10-11% ปัจจุบันนี้บริษัทมีสาขาบริการค้าหลักทรัพย์จำนวน 39 แห่ง ซึ่งรวมสำนักงานใหญ่ด้วยและในปีหน้าจะมีการเปิดเพิ่มขึ้น แต่จำนวนคงไม่มากนักเพราะบริษัทก็จะต้องบริหารต้นทุนการดำเนินการอย่างระมัดระวังโดยไม่ต้องการที่จะลงทุนมากจนเกินไปซึ่งสัดส่วนลูกค้าของบริษัทจะเป็นนักลงทุนรายย่อย 80% และนักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวน 20% ส่วนธุรกิจวาณิชธนกิจนั้นภายในปีนี้บริษัทขึ้นเป็นอันดับ 1 โดยนำ หุ้นเข้าจดทะเบียนจำนวน 6 บริษัทซึ่งมีขนาดทั้งสิ้นรวม 5,582 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ถ้าบริษัทพฤกษา เรียลเอสเตทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็จะทำให้บล.ภัทรขึ้นมาเป็นอันดับ 1 แทนขณะนี้บริษัทได้ยื่นแบบรายการแสดงข้อมูล(ไฟลิ่ง)ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และ เตรียมที่จะเสนอขายหุ้นภายในปีนี้ประกอบด้วยบริษัทอินเตอร์ไฮต์, บริษัทบ้านร็อคการ์เด้นท์และบริษัททีอาร์ซี เป็นต้น และยังมีบริษัทที่ยื่นแบบไฟลิ่งแล้วแต่ยังไม่กำหนดระยะเวลาที่จะเสนอขายประกอบ ด้วยบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) และบริษัท เอ็นแอล ดีเวลล็อปเม้นท์ และยังมีอีกประมาณ 19 บริษัทที่อยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลเพื่อที่จะยื่นแบบไฟลิ่งและจะกระจายหุ้นในอนาคต
นายมนตรี กล่าวว่า ผลประกอบการภายในปีนี้คาดว่าคงจะลดลงจากปีก่อน เนื่องจากมูลค่าการซื้อขายหุ้นโดยเฉลี่ยต่อวันลดลง จากปีก่อนซึ่งในปีนี้อยู่ที่ระดับ 1.8 หมื่นล้านบาทต่อวัน ขณะที่ในปีก่อนอยู่ในระดับ 2.5 หมื่นล้านบาทต่อวัน แต่ถ้าถึงจุดคุ้มทุนก็จะต้อง มีมูลค่าการซื้อขายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 7.5 พันล้านบาทต่อวัน
|
|
 |
|
|