|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บีโอไอแจงเอาผิดโออิชิไม่ได้เหตุเงื่อนไขเปิดช่องโหว่ ชี้อย่างดีแค่เสียภาษี ด้านพาณิชย์หาทางลงให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายตัดสินใจเอง
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงกรณีที่บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI มีการนำเข้าใบชาจากต่างประเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปพร้อมดื่มว่า ตามเงื่อนไขการขอส่งเสริมการลงทุนกับบีโอไอแล้ว ไม่ถือว่าผิด เนื่องจากทางโออิชิได้ระบุว่าจะใช้ชา ที่ผลิตในประเทศเป็นหลัก แต่ไม่ได้หมายความว่า ทางโออิชิไม่สามารถนำเข้าชาจากต่างประเทศ
ดังนั้น การที่โออิชิจะนำเข้าใบชาจากต่างประเทศบางส่วนเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องดื่มชาเขียวจึงถือว่าไม่ผิดหลักการเพียงแต่ใบชาที่โออิชินำเข้ามาจากต่างประเทศนั้นต้องเสียภาษีตามระเบียบของกรมศุลกากร
"เรื่องนี้คงเอาผิดยาก เพราะโออิชิสามารถนำเข้าใบชาจากต่างประเทศเพื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มชาเขียวได้ จากการที่รายละเอียดในการขอส่งเสริมการลงทุนทางโออิชิระบุเพียงว่าจะใช้ใบชา ที่ผลิตได้ในประเทศเป็นหลัก ซึ่งทางบีโอไอก็จะเข้าไปดูเฉพาะส่วนที่โออิชิแจ้งขอส่งเสริมการลงทุน หากมีการนำเข้าจากต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วนไหนที่อยู่นอกเหนือที่แจ้งไว้ทางโออิชิก็ต้องเสียภาษีตามปกติ ดังนั้น การที่โออิชิ นำเข้าใบชาจากต่างประเทศก็ไม่ถือว่าผิดหลักการการขอส่งเสริมการลงทุน" แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ขณะนี้ทางกระทรวงพาณิชย์กำลังเร่งจัดทำรายละเอียดของสินค้าเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปพร้อมดื่ม เพื่อส่งเรื่องไปยังกรมสรรพสามิตให้พิจารณาสินค้าชาเขียวเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่ต้องเสียภาษี เพราะที่ผ่านมาเครื่องดื่มชาเขียวได้รับการ ยกเว้นภาษีเพราะถือว่าเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร แต่หลังจากพบว่ามีผู้ประกอบการชาเขียวบางรายมีการนำเข้าหัวเชื้อชาเขียวจากต่างประเทศเข้ามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตก็น่าจะต้องเสียภาษี
"กรมสรรพสามิตกำลังพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีใหม่ โดยจะมีสินค้าใหม่หลายรายการที่ต้องเสียภาษี ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์เองก็กำลังจัดทำข้อมูลสินค้าที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีส่งไปยัง กรมสรรพสามิต ดังนั้น หากวันที่ 2 พ.ย.ไปแล้ว ผู้ประกอบการชาเขียวยังไม่ยอมปรับลดราคาจำหน่ายลง ทางกระทรวงพาณิชย์ก็จะส่งเรื่องให้ชาเขียวเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษี" แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการไม่ยอมปรับ ลดราคาจำหน่ายชาเขียวลงมาอีกก็ไม่สามารถบังคับได้ แต่จะให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายตัดสินใจ เนื่อง จากต้นทุนการผลิตชาเขียวบรรจุขวดขนาด 500 ซีซีต่ำเพียง 8.50 บาทเท่านั้น ในขณะที่ราคาจำหน่ายชาเขียวบางยี่ห้ออยู่ที่ขวดละ 20 บาท แต่บางรายขวดละ 15 บาท ดังนั้นผู้บริโภคต้องเป็นฝ่ายเลือก
"สาเหตุที่ทางกระทรวงพาณิชย์ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการชาเขียวปรับลดราคาจำหน่ายลง เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ประกอบการตั้งราคานำตลาดที่สูงเกินควร ทั้งๆ ที่ต้นทุนการผลิตไม่สูงมาก ซึ่งถือว่าเป็นการ เอาเปรียบผู้บริโภค แต่กระทรวงฯไม่มีกฎหมายไปบังคับให้ผู้ประกอบการลดราคาจำหน่ายได้ ดังนั้น ผู้บริโภคต้องเป็นผู้ตัดสินใจเองว่ายังจะบริโภคสินค้า ที่มีราคาสูงเกินจริงอีกหรือไม่" แหล่งข่าวกล่าว
|
|
|
|
|