|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธปท. เผยเกณฑ์คุมสินเชื่อส่วนบุคคล ทำตามกรอบอำนาจที่มีอยู่และยึดหลักตามประกาศกระทรวงการคลัง ย้ำแบงก์ชาติไม่สามารถช่วยเหลือได้ กรณีลูกค้า "อีซี่ บาย" ที่ทำสัญญากู้ก่อน ประกาศใช้หลักเกณฑ์ ด้านผู้บริหารอีซี่ บาย ปรับลด ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมให้กับลูกค้าชั้นดีตามสัญญาเดิมก่อน 1 ก.ค. เหลือ 28% โดยอัตโนมัติตั้งแต่งวดเดือน ธ.ค. เป็นต้นไป หวังลดแรงกดดันทางสังคม พร้อมเตือนลูกค้าจะโดนแบล็กลิสต์ในเครดิตบูโร หากไม่ยอมเปลี่ยนสัญญา
นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการสาย กำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาระการจ่ายดอกเบี้ยที่สูงกว่า 28% ซึ่งเป็นอัตราที่ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) เรียกเก็บก่อนที่ ธปท. จะเข้ามาควบคุมเพดานดอกเบี้ย ว่า ก่อนการประกาศใช้มาตการดังกล่าว ธปท.ได้เรียกสถาบันการ เงินมาหารือเพื่อสำรวจความเห็นถึงอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมแล้ว โดย ธปท. ต้องการให้สถาบันการเงินเรียกเก็บเฉลี่ยอยู่ที่ 24% แต่สถาบันการเงินที่ทำธุรกิจส่วนใหญ่ระบุว่าไม่สามารถรับภาระได้เนื่องจากมีต้นทุนที่สูง
ดังนั้น ธปท.จึงกำหนดเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียมไม่เกิน 28% ซึ่งเป็นการประกาศตามประกาศของกระทรวงการคลังที่ให้เรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 15% ตามที่กฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดและให้คิดค่าธรรมเนียมไม่เกินตาม ที่ ธปท.กำหนด ซึ่งธปท.มีการประกาศว่าเมื่อรวมดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมแล้วต้องไม่เกิน 28%
สำหรับกรณีของการควบคุมเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่กำหนดไว้ไม่เกิน 18% นั้น เนื่องจากสถาบันการเงินผู้ออกบัตรได้รับค่าธรรมเนียมจากร้านค้าเฉลี่ย 2-3% รวมทั้งมีการกำหนดรายได้ของผู้ถือบัตรต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ขณะที่การปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลไม่ได้รับค่าธรรมเนียมจากร้านค้าและไม่มีการกำหนดรายได้ของ ผู้ถือบัตรก็ต้องยอมรับว่าตรงจุดนี้สถาบันการเงินผู้ประกอบการย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าลูกค้าบัตรเครดิต
"ก่อนที่จะออกเกณฑ์ ธปท. ได้เรียกสถาบันการเงินมาทำประชาพิจารณ์เพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม เพื่อความเป็นธรรมต่อทั้งผู้ประกอบการและประชาชนผู้กู้ โดยให้เรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 15% และเมื่อรวมค่าธรรมเนียมแล้วไม่เกิน 28% ตามหลักของผู้ออกกฎยืนยันว่า ธปท.ทำถูกต้องตามกรอบอำนาจที่มีอยู่"นายสามารถกล่าว
ส่วนกรณีของบริษัท อีซี่บาย จำกัด (มหาชน) นั้น ธปท. ต้องให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายว่าสัญญาการกู้เงินเป็นสัญญาเก่าก่อนที่ธปท.จะออกประกาศควบคุมหรือว่าเกิดขึ้นหลังจากที่ธปท.ออกกฎหมายควบคุมแล้ว หากสัญญากู้เงินเกิดก่อนที่ ธปท.จะออกประกาศควบคุมคงไม่สามารถดำเนินการอะไรได้
ด้านผู้เสียหายได้เรียกร้องให้ ธปท.ตีความการคิดดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียมไม่เกิน 28% ให้ชัดเจน เพราะหากไม่มีความชัดเจนอาจส่งผลกระทบต่อสินเชื่อบุคคลทั้งระบบนั้น นายสามารถ กล่าวว่า ยังไม่มีความเห็นเกี่ยวกับกรณีนี้ในขณะนี้
ทั้งนี้ ตามเกณฑ์การกำกับสินเชื่อส่วนบุคคลธปท.กำหนดให้ผู้ประกอบการคิดดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียมได้ไม่เกิน 28% ต่อปี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค. 48 เป็นต้นไปนอกจากนี้ยังมีผลบังคับใช้ย้อน หลังไปยังลูกหนี้รายเก่าโดยให้เวลาผู้ประกอบการปรับให้ลูกหนี้กลับเข้ามาใช้เกณฑ์ใหม่ภายในวันที่ 1 ก.ค.ปี 49 ซึ่งก่อนหน้าที่ ธปท.จะออกเกณฑ์ควบคุม ก็มีสถาบันการเงินบางแห่งที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงมากกว่า 50%
นายพีระพงศ์ กี้ประสพสุข ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อเงินสด บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมให้กับลูกค้าที่ถูกคิดดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียมเกิน 28% ตามสัญญาเดิมก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 โดยจะเริ่มดำเนินการปรับลดอัตโนมัติตั้งแต่งวดเดือนธันวาคมนี้เป็นต้นไป แต่จะปรับให้เฉพาะลูกค้าที่ไม่มีการค้างค่างวดชำระ ขณะที่ลูกค้าที่ค้างค่างวดยินยอมชำระคืนครบถ้วนจะดำเนินการปรับอัตโนมัติให้ในงวดของเดือนต่อไป โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 ของแต่ละเดือน
ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการจนกระทั่งถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 แม้แต่กลุ่มลูกค้าที่ไปร้องเรียนกับกองปราบปรามจำนวน 18 ราย ถ้าหากเข้ามาเจรจากับบริษัทเพื่อหาทางออกและเข้าสู่เงื่อนไข ก็จะได้สิทธิดังกล่าวเช่นกัน
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าทำไมบริษัทไม่ดำเนินการด้วยวิธีอัตโนมัติตั้งแต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกประกาศนั้น นายพีระพงศ์ กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบเทคโนโลยี ที่จะให้สามารถดำเนินการได้อัตโนมัติ เนื่องจากมีลูกค้าจำนวนกว่า 1 ล้านคน จึงใช้วิธีแก้ไขสัญญาโดย ใช้พนักงานดำเนินการ ซึ่งมีการปรับปรุงมาได้ถึง 500,000 ราย ยังเหลือกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในข่ายต้องปรับสัญญาอัตโนมัติจำนวน 300,000 ราย ซึ่งถ้าไม่มีรายใดค้างค่างวดก็จะได้ปรับอัตโนมัติทันทีตั้งแต่งวดเดือนธันวาคมนี้
สำหรับกรณีที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคออกมาเรียกร้องให้ลูกค้าบริษัทอย่าเปลี่ยนแปลงสัญญากับทางบริษัทนั้น ยืนยันว่าตัวลูกค้าถ้าจะรับฟังความเห็น ทางกฎหมายควรจะคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่อาจจะเสียไป โดยที่ไม่มีใครช่วยรับผิดชอบ เพราะนอกจาก จะเป็นคดีความยังจะถูกขึ้นบัญชีดำในเครดิตบูโร ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเสียโอกาสที่จะใช้บริการทางการเงิน เพราะในอนาคตบริษัทพยายามที่จะหาวิธีดำเนินธุรกิจ ให้อัตราดอกเบี้ยลดลงต่ำกว่า 28% ตามประกาศของ ธปท.อยู่แล้ว
ส่วนการที่จะให้สำนักงานป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตรวจสอบความผิดนั้น ตามกฎหมายจะต้องเข้าข่ายความผิดตามมูลฐาน ส่วนการที่จะให้กรมสรรพากรตรวจสอบภาษี ย้อนหลังคงไม่น่ามีปัญหา เพราะปกติบริษัททำธุรกิจ เปิดเผยอยู่แล้ว และมีการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
|
|
|
|
|