Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2540
อาทิตย์ ศิริสันต์ ถึงเวลาแจ้งเกิดบนนถนนสุขุมวิท             
 


   
search resources

ลาร์เซ่นส์อินทีเรียส์
อาทิตย์ ศิริสันต์




เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับ บริษัท ลาร์เซ่นส์ อินทีเรียส์ จำกัด ผู้ผลิต และจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายใน ภายใต้ชื่อ ลาร์เซ่นส์ (LARSEN'S) รวมทั้งนำเข้าผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ยี่ห้อ LIGNEROSET จากฝรั่งเศส

แม้ว่าจะเพิ่งเปิดตัวแต่ชื่อ ลาร์เซ่นส์ ก็ได้ยินมานานแล้วหลังจาก อาทิตย์ ศิริสันต์ ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท จบการศึกษาด้านออกแบบตกแต่งภายในมาจาก PARSONS SCHOOL OF DESIGN ก็ได้เข้ามาทำงานกับ ม.ล.ภาวินี สันติศิริ จากนั้นจึงได้ออกมาเปิดบริษัทออกแบบตกแต่งภายในเป็นของตัวเอง

เปิดตัวเองขึ้นเมื่อปี 2533 รับออกแบบงานประเภทสำนักงาน ที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของบริษัท ได้แก่ ออกแบบสำนักงานของ บงล.วอลล์สตรีท, สำนักงานขายบริษัท โนเบิล โฮลดิ้ง จำกัด รวมทั้งยังรับออกแบบบ้าน คอนโดมิเนียมต่าง ๆ

จากนั้น อาทิตย์เริ่มขายธุรกิจในรูปแบบเฟอร์นิเจอร์ เพราะได้เล็งเห็นว่าตลาดนี้ในประเทศไทยยังมีความต้องการสูง จึงได้เปิด SHOWROOM ที่สุขุมวิท 39 นอกจากนี้ ยังได้ทำธุรกิจรับเหมาภายใน ดังนั้น นับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา ธุรกิจลาร์เซ่นส์จึงเป็นธุรกิจครบวงจร คือ มีทั้งงานออกแบบ รับเหมา และเฟอร์นิเจอร์ และในปี 2539 ได้ย้าย SHOWROOM มาอยู่ที่สุขุมวิท 13

"ในช่วงนั้น เราทำธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ก็ประสบความสำเร็จพอสมควร เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตในประเทศยังไม่ค่อยมีมาตรฐานเท่าไหร่ และสินค้าจากต่างประเทศก็ยังไม่แพร่หลาย เราจึงถือโอกาสอันดีนี้ผลิตสินค้าเราออกขาย" อาทิตย์ เล่า

ปัจจุบัน ลาร์เซ่นส์มีโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์อยู่ 2 แห่ง ที่บริเวณ ถ.สุทธิสาร เป็นโรงงานผลิตโซฟา และที่บางปูเป็นโรงงานไม้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ชนิดติดตาย (BUILT-IN)

และเพื่อรองรับกับการบริการต่อลูกค้าให้รวดเร็วมากขึ้น ล่าสุด ลาร์เซ่นส์จะทำการย้ายโรงงานจากบางปูมาอยู่บน ถ.สุขุมวิท โดยโรงงานแห่งใหม่คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมีนาคมนี้ ใช้เงินลงทุนประมาณ 4 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานใหม่หมดด้วยการหันมาผลิตโซฟารุ่นประหยัดโดยจะผลิตทั้ง 2 โรงงาน คาดว่าจะสามารถนำออกจำหน่ายได้ในช่วงเดือนมีนาคมเช่นเดียวกัน

"โซฟาชนิดใหม่ของเราจะมีราคาถูกกว่าสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศอยู่ประมาณ 40-50%" อาทิตย์ กล่าว

เหตุผลที่อาทิตย์ปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานในครั้งนี้ เนื่องจากว่าเขาต้องการขยายตลาดและกลุ่มลูกค้าให้กว้างมากขึ้น พร้อมกับเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคตที่จะมีความรุนแรงมากขึ้น ผลสืบเนื่องจากการปรับลดภาษีนำเข้าเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปจาก 60% เหลือ 40% เมื่อปี 2538 และจาก 40% เหลือ 20% เมื่อต้นปี 2540 และจะเหลือ 0% ในปี 2542

นอกจากจะผลิตจำหน่ายเองแล้ว ยังมีแผนจะนำเฟอร์นิเจอร์จากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายโดยจะนำเข้ามาจาก บริษัท LIGEN ROSET จำกัด ภายใต้ชื่อ LIGNEROSET

"คาดว่ากลางปีนี้จะสามารถนำเข้ามาขายได้ โดยสินค้าที่นำเข้ามาจะเป็นเฟอร์นิเจอร์สไตล์คอนเทมโพรารี่ และสไตล์โมเดิร์น ซึ่งมีงบประมาณในการนำเข้าไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท และคิดว่าสินค้าน่าจะเหมาะสำหรับลูกค้าคนไทย เมื่อนำเข้ามาแล้วจะเปิด SHOWROOM ขึ้นอีกแห่งที่ สุขุมวิท 24" อาทิตย์ กล่าว

เนื่องจากในปัจจุบันเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากไม้จะมีอัตราการเติบโตช้าลง รวมทั้งวัตถุดิบที่นำมาผลิตมีไม่สม่ำเสมอและหายากขึ้น ซึ่งจะเสียเปรียบต่อการแข่งขันด้านราคา ดังนั้น อาทิตย์จึงอาศัยช่องว่างนี้นำผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ที่มีลักษณะฉีกแนวออกไปจากที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน โดยเฉพาะต่างจากเฟอร์นิเจอร์ที่เข้ามาจากอเมริกา ซึ่งสินค้าที่อาทิตย์นำเข้ามาจะเป็นลักษณะทำจากไม้ที่เรียกว่าไม้ BEECH และทำจากเหล็กหรืออลูมิเนียม

"สินค้าที่มาจากอเมริกาจะเป็นงานแบบ TRADITIONAL ส่วนทางยุโรปจะเป็นแนวโมเดิร์น"

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเฟอร์นิเจอร์ที่นำเข้ามาจำหน่ายจากอเมริกาสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้มากกว่าเฟอร์นิเจอร์จากแถบยุโรป แต่อาทิตย์มองว่า ตลาดยังเป็นคนละตลาดกันอยู่และงานเฟอร์นิเจอร์ก็เป็นแนวต่างกัน

"จริง ๆ แล้ว ตลาดจะแยกออกจากกัน คือ ลูกค้าของสินค้าจากอเมริกาจะเป็นแนว CLASSIC แต่ลูกค้าของสินค้าจากยุโรปจะเป็นกลุ่มคนที่ทันสมัยและขณะนี้มีอยู่จำนวนมาก"

ดังนั้น ลูกค้าของลาร์เซ่นส์ จึงเป็นลูกค้าคอนโดมิเนียม 60-70% ที่เหลือจะเป็นลูกค้าบ้านหรือทาวน์เฮ้าส์รวมทั้งลูกค้าต่างจังหวัด โดยจะเจาะไปที่บ้านตากอากาศ แต่ขณะนี้ยังมีจำนวนที่น้อยมาก ส่วนด้านลูกค้าประเภทสำนักงานไม่ใช่เป้าหมายของลาร์เซ่นส์ เนื่องจากติดขัดด้านราคาสูง

เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าราคาผลิตภัณฑ์ของลาร์เซ่นส์จะอยู่ในระดับที่สูงพอสมควร ลูกค้าส่วนใหญ่จึงเป็นลูกค้าระดับบน ดังนั้น การแข่งขันนับว่ามีสูงพอสมควร กิจกรรมด้านการตลาดจึงเข้มข้นมากกว่าลูกค้าที่อยู่ระดับล่าง อีกทั้ง มูลค่าตลาดเฟอร์นิเจอร์ระดับบนในปีที่ผ่านมายังอยู่ในระดับที่ต่ำ คือ ประมาณ 100 ล้านบาท รวมทั้งบริษัทที่นำเฟอร์นิเจอร์เข้ามาจำหน่ายมีหลายค่ายมาก แต่อาทิตย์ยังมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของตัวเองว่าจะสามารถแย่งตลาดมาได้พอสมควร

"เราจะได้เปรียบคู่แข่งตรงที่เราเป็น EXCLUSIVE DISTRIBUTOR ในขณะที่คู่แข่งจะนำสินค้าเข้ามาหลาย ๆ ยี่ห้อ เข้ามาขายในบริษัทเดียว ดังนั้น เมื่อลูกค้าซื้อไปแล้ว การบริการหลังการขายจึงไม่เต็มที่เท่าเรา"

กลยุทธ์ด้านการตลาดที่อาทิตย์ได้ทำมาตลอดเวลา คือ สามารถเป็นเจ้าของเฟอร์นิเจอร์ได้ โดยแบ่งชำระเป็นรายเดือนกับบริการที่เรียกว่า FIRST CHOICE ซึ่งบริการนี้ดูเหมือนว่าจะเหมาะสำหรับลูกค้าระดับล่างหรือมีรายได้น้อย แต่อาทิตย์ก็ยังนำมาใช้ ผลปรากฏว่า ลูกค้าซื้อผ่อนมีแค่ 5% เพราะส่วนใหญ่จะซื้อสดมากกว่า อย่างไรก็ตาม เขายังย้ำว่าแม้ลูกค้าจะน้อยแต่ยังทำต่อไป นอกจากนี้ บางเดือนที่เป็น LOW SEASON ยังมีแคมเปญต่าง เช่น ลดราคา

สำหรับส่วนแบ่งการตลาดที่อาทิตย์ตั้งเป้าไว้ในปีนี้ คาดว่า เฟอร์นิเจอร์ที่นำเข้ามาจำหน่ายจะอยู่ที่ประมาณ 15% ส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตเองจะมีส่วนแบ่งประมาณ 10% โดยมียอดขายรวมทั้งสิ้นประมาณ 60 ล้านบาท

"คาดว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ ดูจากในขณะนี้แค่เดือนเดียวมียอดสั่งจองเข้ามาแล้ว 15 ล้านบาท ซึ่งในปีที่แล้ว เรายังทำได้ตามเป้าที่ตั้งไว้คือ 22 ล้านบาท" อาทิตย์ เล่า

แต่ในปีนี้ อาจจะไม่เหมือนปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมกำลังตกสะเก็ด ยอดขายที่ตั้งไว้สูงกว่าปีที่แล้วถึง 38 ล้านบาท คาดว่าอาทิตย์จะต้องเหนื่อยมากขึ้นเป็นหลายเท่าตัวแน่ อีกทั้งธุรกิจเฟอร์นิเจอร์จะอิงกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่ว่า ขณะนี้ภาวะ อสังหาฯ อยู่ในช่วงซบเซา ดังนั้น ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์จะต้องได้รับผลกระทบกระเทือนไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

"ยอมรับว่าที่ผ่านมาอะไร ๆ มันไม่ดีไปหมด แต่เราเชื่อว่า ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปทุกสิ่งทุกอย่างจะดีขึ้นตามลำดับ รวมทั้ง ตลาดเฟอร์นิเจอร์ด้วย ซึ่งปีนี้จะเติบโตประมาณ 15% ตัวที่มากระตุ้น คือ คอนโดฯ ต่าง ๆ จะเสร็จมากขึ้นในปีนี้และปีหน้า และค่อนข้างมั่นใจว่า ใน 4-5 ปีนี้ ธุรกิจตกแต่งภายในจะยังโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง"

ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน มีให้เห็นกันอยู่ตอลดเวลา ซึ่งคงจะต้องดูกันนาน ๆ สำหรับธุรกิจของอาทิตย์กับการแจ้งเกิดในยามสภาวะเศรษฐกิจเอนไปเอนมาว่าจะออกหัวหรือออกก้อย    




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us