|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ทรีนีตี้ แอ๊ดไวซอรี่ 2001 วางแผนปีหน้ารุกเป็นที่ปรึกษาซีเคียวริไทเซชัน ประเมินยังมีแนวโน้ม ภาครัฐ-เอกชนจะระดมทุนเพิ่มขึ้น ถือเป็นช่องทางในการระดมทุนมากขึ้น พร้อมดันหุ้นใหม่เข้าจดทะเบียน 1-2 บริษัทและมุ่งบริหารกองทุนส่วนบุคคล
นายพิเศษ เสตเสถียร กรรมการ ผู้จัดการ บริษัททรีนีตี้ แอ๊ดไวซอรี่ 2001 จำกัด บริษัทย่อย บมจ.ทรีนีตี้วัฒนา (TNIYY) เปิดเผยว่า ภายในปีหน้าจะมุ่งเน้นการเป็นที่ปรึกษาในการแปลงสภาพสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ซีเคียวริไทเซชัน) มากขึ้น โดยในปีนี้ บริษัทฯได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์(ธพส.)ซีเคียวริไทเซชัน ซึ่ง ธพส.ได้จัดตั้งบริษัทดีเอดี เอสพีวี เพื่อ เป็นผู้ออกหุ้นกู้มูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นการทำธุรกรรมซีเคียวริไท-เซชันที่ใหญ่สุดของปีนี้ โดยได้กำหนด ระยะเวลาการออกหุ้นกู้ 3 ปีในงวดแรกจำนวน 9.5 พันล้านบาท ซึ่งเสนอ เมื่อวันที่ 24,25 และ 28 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยจะเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป อายุหุ้นกู้ 7 ปี อัตราดอกเบี้ย 6.70% และอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 7.35% และอีกส่วนเสนอขายให้แก่นักลงทุนสถาบัน โดยผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายจะประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้
ทั้งนี้ ธพส.จะทำสัญญาเช่าที่ดินกับกรมธนารักษ์เป็นเวลา 33 ปี โดย ธพส.ได้สร้างอาคารและสำนักงานและกลับมาให้กรมธนารักษ์เช่า โดย ธพส.จะชำระค่าก่อสร้างบางส่วนด้วยการออกหุ้นกู้และโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อกรมธนารักษ์
ทั้งนี้ ในปีนี้มีบริษัทเอกชนและภาครัฐที่ทำซีเคียวริไทเซชันไม่มากนัก ประกอบด้วย บมจ.อิออน ธนสินทรัพย์, บมจ.สแกนดิเนเวีย ลิสซิ่ง และ ธพส. สาเหตุที่มีจำนวนไม่มาก เนื่องจากยังเป็นธุรกรรมใหม่และต้องใช้ต้นทุนที่มากกว่าการออกหุ้นกู้โดยตรง นอกจากนี้บางบริษัทที่มีคุณภาพที่ดี และได้รับความเชื่อถือนั้นจะออกหุ้นกู้โดยตรงเลย โดยไม่จำเป็นต้องทำซีเคียวริไทเซชัน
ในต่างประเทศทำธุรกรรม ซีเคียวริไทเซชันกันมาก ซึ่งโอกาสที่ประเทศไทยจะมีธุรกรรมนี้เพิ่มขึ้นก็เป็นไปได้แต่ก็ขึ้นอยู่กับภาวะอัตราดอกเบี้ยของตลาดว่ามีทิศทางเป็นอย่างไร เพราะถ้าภาวะดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นการออกหุ้นกู้ โดยซีเคียวริไทเซชันก็จะต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับสูงเพื่อให้มีความน่าสนใจ ขณะเดียวกันบริษัทก็จะต้องมีภาระมากขึ้น
"การทำซีเคียวริไทเซชันนั้นถือเป็นทางเลือกอีกทางในการระดมทุน สำหรับบริษัทที่มีเครดิตไม่ดีมากนักแต่มีสินทรัพย์ที่ดีมากอยู่ เพราะการทำ ซีเคียวริไทเซชันนั้นก็เหมือนกับการกู้บนสินทรัพย์ที่ดีมีคุณภาพซึ่งจะ แตกต่างจากที่บริษัทจดทะเบียนออกหุ้นกู้โดยตรง เนื่องจากการออกหุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียนนั้นจะต้องมีเครดิตที่ดีเพราะเหมือนกับการกู้บนพื้นฐานของบริษัท"นายพิเศษกล่าว
ปัจจุบันนี้บริษัทที่เป็นของคนไทยที่มีความเข้าใจในการทำซีเคียวริไทเซชันนั้นมีไม่มากนัก ดังนั้นจึงถือเป็นข้อได้เปรียบของบริษัทฯที่มีความรู้ และมีประสบการณ์จากการเป็นที่ปรึกษาให้กับการเคหะแห่งชาติ โดย ที่ผ่านมาก็มีบริษัทเอกชนและภาครัฐที่แสดงความสนใจและติดต่อกับบริษัทหลายแห่ง อย่างไรก็ตาม บริษัท ดังกล่าวยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะระดมทุนในรูปแบบซีเคียวริไทเซชันหรือไม่
นอกจากจะรุกธุรกรรมซีเคียวริไทเซชันแล้ว ในปีหน้าบริษัทฯยังจะเป็นที่ปรึกษานำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ 1-2 บริษัท จากที่ปีนี้มี บมจ. ซุปเปอร์บล็อก เข้ามาซื้อขายแล้ว และ บมจ.ไพลอน ที่จะเสนอขายหุ้นภายใน ปลายปีนี้ ส่วนปีหน้าก็จะมีบริษัทที่ประกอบธุรกิจปิโตรเคมีคาดว่าจะเสนอขายได้ภายในต้นปีหน้า
นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ให้ประกอบธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งจะบริหารเงินให้แก่บริษัทประกันทั่วๆ ไป รวมถึงบริษัทแม่มีแผนที่จะเข้าไปลงทุนในบริษัทนอกตลาดฯ เพิ่มขึ้นอีก จากปัจจุบันนี้บริษัทถือหุ้นอยู่เพียงบริษัทเดียวเท่านั้น
|
|
 |
|
|