|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
EMC ประกาศชัยอันดับหนึ่งในตลาดซอฟต์แวร์สตอเรจหรือซอฟต์แวร์ด้านการจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทย พร้อมประกาศตัวเป็น "Trend Setting" ของตลาด จุดประกายว่าสตอเรจ จะต้องไม่พิเศษที่ความจุในการเก็บข้อมูลเท่านั้น แต่จะต้องทำงานร่วมกับระบบงานได้เป็นหนึ่งเดียว ย้ำจะเน้นพัฒนาโซลูชัน ILM เต็มที่ไม่เอาต์ซอร์สแล้วมุ่งที่บริการเช่นรายอื่น ตั้งเป้าโค่นไอบีเอ็มในตลาดระบบสตอเรจภายนอกให้ได้ในปี 2550
ดร.ธัชพล โปษยานนท์ ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย บริษัทอีเอ็มซี อินฟอร์เมชัน ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานของอีเอ็มซีในอนาคตว่า อีเอ็มซีจะมุ่งที่การพัฒนาโซลูชัน ILM (Information Lifecycle Management) หรือการจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล โดยย้ำว่านี่จะเป็นแผนทางการตลาดที่ได้ผล
"ผู้ผลิตรายอื่นเน้นการเอาต์ซอร์สออกไปแล้วหันมาพัฒนาเซอร์วิสหรือบริการ แต่อีเอ็มซีจะเน้นที่การพัฒนาโซลูชัน บางค่ายต้องการรักษามาร์จิ้นหรือกำไรเอาไว้ด้วยการขายของเก่าที่มี แต่เราจะเน้นที่การพัฒนาโซลูชัน นี่จะทำให้เราแข็งแกร่งลูกค้าจะมั่นใจในตัวเรา"
ดร.ธัชพลกล่าวว่า ตลาดเห็นความสำคัญของระบบเครือข่ายเก็บข้อมูลหรือ Storage Area Network เทรนด์ในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไป ผู้บริโภค เริ่มมองว่าสตอเรจไม่ใช่ของแถมที่ได้จากการซื้อระบบอย่างที่เป็นในอดีต และที่สำคัญคืออีเอ็มซีมองว่าสตอเรจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางอัจฉริยะมากขึ้น โดยจะต้องสามารถทำงานเป็นหนึ่งเดียวกับระบบงานได้
"สตอเรจจะต้อง move แบบฉลาด ไม่ใช่จุหรือไม่ใช่ที่เก็บข้อมูลอย่างเดียว แต่ต้องสามารถจัดการข้อมูลแบบฉลาดให้ได้ ขณะที่ซอฟต์แวร์ต้องสามารถทำงานร่วมกับระบบสตอเรจได้เป็นหนึ่งเดียวกัน เช่น การทำงานที่รองรับการประมวลผลแบบกริดคอมพิวติ้ง อันดับหนึ่ง "
ผลประกอบการในไตรมาสสามประจำปี 2548 ของอีเอ็มซีทั่วโลกมีมูลค่า 2,370 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 17 เปอร์เซ็นต์ พลิกล็อกจากที่มักจะชะลอตัวลงในไตรมาสสามของทุกปี รายได้ส่วนใหญ่มาจากการให้บริการระบบแบบครบวงจร รองลงมาคือผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ สามคือการบริการ
สำหรับตลาดประเทศไทย การสำรวจของไอดีซีชี้ว่า อีเอ็มซีสามารถครองมาร์เกตแชร์อันดับหนึ่งในตลาดซอฟต์แวร์สตอเรจได้ด้วยตัวเลข26.1 เปอร์เซ็นต์ แต่ในตลาดระบบสตอเรจภายนอก อีเอ็มซีสามารถทำได้ 24.8 เปอร์เซ็นต์ ก้าวกระโดดจากอันดับสี่มาอยู่ที่อันดับสอง แพ้ยักษ์ใหญ่สีฟ้า ไอบีเอ็มเพียงรายเดียวเท่านั้น
"ตรงนี้ไอบีเอ็มเป็นอันดับหนึ่ง รายได้ของไอบีเอ็มยังติดอยู่ที่ผลิตภัณฑ์เมนเฟรม ด้วยความที่สตอเรจของระบบถูกพ่วงติดไปกับสถาปัตยกรรมเมนเฟรม ถ้าธุรกิจที่ใช้เมนเฟรมอยู่ในขณะนี้ย้ายไปใช้มาตรฐานเปิด ก็จะเกิดเป็นสนามแข่งขันที่น่าจับตา จุดแข็งของเราคือการไม่มีใครเหมือน เราครบวงจร การใช้งานง่าย สามารถทำ Automatic Policy ได้ เราจะเน้นการเป็นผู้รู้จริง รู้ลึกและคิดค้น เทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลา"
อีเอ็มซีตั้งเป้าจะเขี่ยไอบีเอ็มตกอันดับให้ได้ภายในปลายปี 2550 โดยจะมุ่งให้ความสำคัญที่สามปัจจัยหลัก ได้แก่ผู้บริโภค พันธมิตร และเทรนด์ในอุตสาหกรรม โดยกลุ่มลูกค้าอันดับหนึ่งคือกลุ่มโทรคมนาคม ราวหนึ่งในสามของกลุ่มลูกค้าทั้งหมด สองคือกลุ่มภาคการผลิตและกลุ่มสถาบันการเงิน ส่วนกลุ่มที่เห็นการเติบโตมากที่สุดคือกลุ่มคลินิกโรงพยาบาลและกลุ่มหน่วยงานรัฐฯ เนื่องจากโปรเจกของภาครัฐฯที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง
อีเอ็มซีให้ข้อมูลว่าอัตราเติบโตของตลาดข้อมูลอยู่ที่ราว 70 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 7 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับประเทศไทยมีสัดส่วนการขยายตัวมากกว่าเกณฑ์ที่ 12.3 เปอร์เซ็นต์ โดยอีเอ็มซีชูเอาเทคโนโลยี CDP (Continuous Data Protection) มาเป็นกุญแจสำคัญในฐานะโอกาสเติบโตที่สำคัญของอีเอ็มซีในอนาคต
มร.จอน เมอร์เรย์ ผู้จัดการโครงการด้านการรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงาน อีเอ็มซี เอเชียใต้ อธิบาย CDP ว่าเป็นการตรวจสอบระบบและสำรองข้อมูลในระบบทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นการสำรองข้อมูลโดยอิงจากการเปลี่ยนแปลงของระบบไม่ใช่อิงจากนาทีที่ผ่านมาเช่นในอดีตผู้บริโภคจะได้ประโยชน์คือความเสี่ยงในการเสียหายของข้อมูลจะน้อยลง ใช้เวลาในการกู้ข้อมูลน้อยลง และที่สำคัญคือเสียงบประมาณน้อยลง
"หากมีวิกฤตใดๆ เราต้องสามารถกู้ข้อมูล ที่การทำงานครั้งสุดท้ายได้ ไม่ใช่นาทีสุดท้ายที่เพิ่งผ่านมา ยกตัวอย่างเช่นการทำธุรกรรมผ่านเครื่องเอทีเอ็ม ข้อมูลตัวเลขการเบิกถอนเงินในแต่ละครั้งล้วนมีความสำคัญ CDP ของเราสามารถทำงานร่วมกับโครงสร้างโปรแกรมและฮาร์ดแวร์ได้ หลากหลาย ตรงนี้คือโอกาสโตของอีเอ็มซี"
ล่าสุดอีเอ็มซีได้นำ CDP มาบรรจุลงในผลิตภัณฑ์ใหม่ "EMC RecoverPoint" เพื่อ การคุ้มครองข้อมูลอย่างต่อเนื่องสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีการอัปเดตผลิตภัณฑ์ด้วยการส่ง "EMC Legato Networker 7.3 โดยเพิ่มฟีเจอร์ด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล การลดความเสี่ยง และการใช้งานที่ง่ายขึ้นกว่าเวอร์ชันก่อน สองผลิตภัณฑ์นี้จะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงไตรมาสหน้า
|
|
|
|
|