|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
รายได้รวมของธุรกิจประมาณกว่า 7,000 ล้านบาทภายในสิ้นปี 47 ที่เติบโตมากกว่าทุกปีสูงถึง 25% ส่งผลให้สายการบินบางกอกแอร์เวย์ดูจะมั่นอกมั่นใจกับการเป็นผู้นำเส้นทางบินในแถบอินโดจีนในอีก 5 ปีที่จะถึง โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสมุยช่วงสามเดือนแรกของปีมีการเติบโตสูงถึง 45% ทีเดียว สามารถสร้างผลกำไรเข้าบริษัทได้กว่า 200 ล้านบาท
จากภาวะน้ำมันราคาแพง และ ไม่มีแนวโน้มที่จะปรับลดลง จึงถูกมองว่าในอนาคตธุรกิจการบินจะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมเครื่องบินแบบใหม่ๆ ซึ่งในปี 2553 น่าจะเริ่มเห็นภาพชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะ เครื่องบินจะถูกออกแบบโดยใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา เพื่อประหยัดเชื้อเพลิง ขณะที่ภายในจะต้องจุผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น เป็นเหตุผลที่ผู้ประกอบการสายการบินบางกอกแอร์เวย์จะหยิบนำมาใช้เป็นกลยุทธ์สู้ศึกธุรกิจการบินในอนาคตอันใกล้นี้
น.พ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด กล่าวอย่างมั่นใจว่าอีก ไม่เกิน 2 ปีข้างหน้าสายการบินบางกอกแอร์เวย์จะมีเส้นทางในแถบอินโดจีนมากกว่าการบินไทย ด้วยความที่เป็นผู้นำร่องเส้นทางใหม่ๆในแถบนี้มาโดยตลอด
สอดคล้องกับแผนธุรกิจในเส้นทางตลาดอินโดจีนในปัจจุบันที่มีอยู่ 19 เส้นทาง โดยเน้นทำเส้นทางบินที่มีอยู่แล้วตามแหล่งท่องเที่ยวในเมืองต่างๆ มาสร้างเป็นจุดแข็งจัดขายเป็นแพกเกจตั๋วเส้นทางท่องเที่ยวแบบเชื่องโยงในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย สุโขทัย –หลวงพระบาง-นครวัด – กรุงเทพฯ เพิ่มระยะเวลาการเดินทางให้มีมากขึ้น สอดคล้องกับกิจกรรมสะสมไมล์ที่สายการบินบางกอกแอร์เวย์เริ่มนำมาใช้เพื่อกระตุ้นตลาดให้มีจำนวนยอดผู้โดยสารเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกันยังมีแผนเพิ่มเส้นทางบินให้เชื่อมโยงครอบคลุมทุกเส้นทางที่เป็นเมืองท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย และเส้นทางระยะไกล โดยเฉพาะกำลังศึกษาการเปิดเส้นทางบินใหม่ๆในแถบยุโรป เช่น กรุงเทพ-ลอนดอน ปัจจุบันมีการเปิดเส้นทางบินระยะทางไกลภายในปี 2548 ถึง 3 เส้นทางบินคือ กรุงเทพ-เจิ้งโจว,กรุงเทพ-หางโจว,และสมุย-ฮ่องกง
“ฮิโรชิม่า”เส้นทางแรกไปญี่ปุ่น
ตัวเลขของการท่าอากาศยานสากลกรุงเทพฯพบว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-มิ.ย.) กลุ่มนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางมาไทยประมาณ 480,000 คนเพิ่มขึ้น 5% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีการเดินทางประมาณ 5% หรือมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย เพิ่มขึ้นปีละ 8-10%
สอดคล้องกับการเจรจาหน่วยงานขนส่งทางอากาศของญี่ปุ่นเพื่อขอเพิ่มความถี่การบินระหว่างไทยไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ทำให้ปัจจุบันสายการบินบางกอกแอร์เวย์มีโอกาสเปิดเส้นทางบินใหม่ไปกลับกรุงเทพ-ฮิโรชิม่าทันที แม้ว่าจะเป็นเมืองประวัติศาสตร์แต่ก็มีกลุ่มธุรกิจประกอบรถยนต์อย่าง มาสด้า สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองฮิโรชิม่า และน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ถูกจับตามากที่สุด
“เราวางแผนการบินไว้สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ใช้เครื่องบินแอร์บัส 320 ขนาด 162 ที่นั่งโดยจะเปิดให้บริการประมาณวันที่ 2 ธันวาคมศกนี้และคาดหวังว่าจะมีผู้โดยสารเดินทางช่วง 4 เดือนแรกประมาณกว่าร้อยละ 80 ”น.พ.ปราเสริฐ กล่าวพร้อมกับเสริมว่า
ขณะเดียวกันจุดเด่นของเส้นทางบินนี้จะทำให้ผู้ที่อยู่ในฮิโรชิม่าสามารถเดินทางบินตรงเข้ากรุงเทพได้อย่างสะดวกมากขึ้น เพราะแต่เดิมถ้าจะเดินทางเข้ากรุงเทพผู้โดยสารต้องเดินทางด้วยรถไฟ หรือไม่ก็ใช้สายการบินภายในประเทศญี่ปุ่นบินไปลงในแถบเมืองอื่นๆจากนั้นถึงจะเดินทางบินเข้ากรุงเทพได้ด้วยสายการบินไทย คิดเป็นอัตราเฉลี่ยในการเดินทางกินเวลาเป็นวัน
“สำหรับเส้นทางใหม่ที่บางกอกแอร์เวย์บินระหว่าง กรุงเทพ-ฮิโรชิม่า ใช้เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมงเท่านั้น พร้อมกับได้รับบริการ Boutiaue Premier Service และเมนูอาหารที่เลือกได้ถึง 3 เมนู”น.พ.ปราเสริฐ กล่าว
ผลพลอยได้ที่บางกอกแอร์เวย์จะได้รับคือ เส้นทางระหว่าง กรุงเทพ-นาโงย่า ที่จะเปิดเป็นแบบ เดลี่ไฟล์ท ซึ่งปัจจุบัน การบินไทยบินอยู่ แล้ววันละ 2 ไฟล์ท แต่ยังไม่เพียงพอ นับเป็นโอกาสทองของบางกอกแอร์เวย์ที่จะได้เข้าไปในตลาดนี้โดยถ้าตกลงกันได้ก็สามารถเปิดให้บริการประมาณเมษายน 49
เพิ่มเครื่องบินรองรับตลาด
โครงการเช่าซื้อเครื่องบินโดยสารอีกจำนวน 10 ลำ ด้วยงบลงทุนรวมที่มีไม่ต่ำกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท เพื่อนำมารองรับแผนการขยายตัวของธุรกิจสายการบินบางกอกแอร์เวย์ โดยเฉพาะการเพิ่มเส้นทางบินใหม่ๆที่มีทั้งในแถบเอเชียและยุโรป
น.พ.ปราเสริฐ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาแผนลงทุนระยะ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ 2549-2553 ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการแข่งขันในธุรกิจการบิน และการปรับลดต้นทุนในการบริหารจัดการในยุดน้ำมันแพง
เบื้องต้นมีแผนการลงทุนใน 2 ส่วนหลัก รวมมูลค่าราว 25,000 ล้านบาท ได้แก่ 1. การก่อสร้าง งวงเชื่อมทางเดินระหว่างอาคารจอดกับเครื่องบิน โดยจะทำที่สนามบินสุวรรณภูมิ ใช้เงินลงทุน 1,000 ล้านบาท เริ่มดำเนินการในปีหน้า ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานงานด้านบริการในสนามบินสุวรรณภูมิ และ 2. การสั่งเครื่องบินใหม่เข้ามาในปีหน้า 4 ลำ เป็นเครื่องขนาดกลาง 2 ลำ และเครื่องขนาดเล็ก 2 ลำ เพื่อรองรับการขยายเส้นทางการบินทั้งในและต่างประเทศ และแผนในปี 2553 จะนำเข้าเครื่องบินอีก 6 ลำตกราคาเครื่องละประมาณ 4,000 ล้านบาท กำลังอยู่ระหว่างเจรจา ว่าจะใช้เครื่องแอร์บัส รุ่น 350 หรือโบอิ้ง รุ่น 787
ขณะที่การลงทุนในสนามบินสุวรรณภูมิจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การบริการภาคพื้นดิน ขนส่งทางอากาศ และการบริการด้านอาหาร โดยจะลงทุนให้เสร็จภายใน 2 ปี ตั้งเป้ามีส่วนแบ่งทางการตลาด 20% ของมูลค่าการบริการทั้งหมดในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งคาดว่าการบินไทยมีส่วนแบ่งที่ 50% และสายการบินอื่นๆ 30%
“การนำเข้าเครื่องบินของบางกอกแอร์เวย์ จะเป็นในรูปแบบ leasing option to buyคือ เป็นเงื่อนไขคล้ายกับสัญญาเช่าซื้อ แต่มีเงื่อนไขพิเศษ คือ ถ้าพอใจก็จะซื้อขาด แต่ถ้าไม่พอใจก็คืนเครื่องกลับไปเมื่อหมดสัญญา ซึ่งบริษัทอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า”น.พ.ปราเสริฐ กล่าวทิ้งท้าย
|
|
|
|
|