Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์28 พฤศจิกายน 2548
"ยาขม"ที่อาจเคลือบ"ยาพิษ"ถ้าส่งสัญญาณดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อพลาด!             
 


   
search resources

Interest Rate




สัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐหรือ "เฟด" และเสียงป่าวร้องขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากฝั่ง"บางขุนพรหม" ก่อนหน้านี้ เดินไปในทิศทางเดียวกันราวกับนัดหมายกันไว้ โดยหลักคือ ความพยายามควบคุมเงินเฟ้อ แต่สำนักวิเคราะห์บางแห่งกลับมองว่า การส่งสัญญาณที่ขาดความแม่นยำ อาจทำให้คนรับข้อมูลแปลงสัญญาณแบบผิดๆได้ โดยเฉพาะภาคครัวเรือน ผู้ประกอบการ และการลงทุนภาคเอกชน...

การกำหนดกรอบเงินเฟ้อด้วยการอัด "ยาขม" เพื่อควบคุมไม่ให้บานปลาย ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่เป็นระลอก เริ่มจะถูกจับตามองจากหลายสำนัก เพราะการอัดยาขมแรงๆอาจส่งผลที่ไม่คาดคิดต่อสภาพแวดล้อม

อนุสรณ์ ธรรมใจ ที่ปรึกษาสำนักวิจัย ธนาคารไทยธนาคาร(BT) ยังเชื่อว่า ในปี 2549 ธนาคารพาณิชย์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกประมาณ 1.0-1.5% โดยได้รับแรงกดดันจากสภาพคล่องในระบบที่มีแนวโน้มลดลง และจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด

การขึ้นดอกเบี้ยแต่ละครั้งจึงหมายถึง การปราบเงินเฟ้อให้อยู่หมัด ขณะเดียวกันก็ต้องการสกัดไม่ให้เงินทุนโยกไปลงทุนในต่างประเทศ
แต่การขยับขึ้นดอกเบี้ยทุกครั้ง ก็ทำให้วิตกถึงปัญหาที่จะตามมา ถ้าการส่งสัญญาณดอกเบี้ยไม่แม่นยำหรือเกิดผิดพลาดขึ้นมา จาก "ยาขม" ก็จะกลายเป็น "ยาพิษ"ในทันที

ปฏิเสธได้ยากว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยก็คือ การพยายามลดแรงกดดันจากเงินเฟ้อ เพียงแต่ถ้าสังเกตให้ดี การขยายตัวของเงินเฟ้อเป็นผลมาจากดีมานด์น้ำมันในตลาด ไม่ใช่เศรษฐกิจร้อนแรงหรือฟองสบู่

" เงินเฟ้อเกิดจากแรงกดดันของซัพพลายไซส์ จากดีมานด์น้ำมันที่หลายประเทศมีความต้องการสูงมาก แต่ไม่ใช่ได้เกิดจากเศรษฐกิจฟองสบู่"

ดังนั้นทางการจึงต้องแม่นยำเรื่องข้อมูล ก่อนจะขยับดอกเบี้ยในแต่ละครั้ง เพราะสัญญาณที่ผิดพลาดจะทำให้นักลงทุน การลงทุนภาคเอกชน หรือการก่อหนี้ครัวเรือนประเมินความเสี่ยงไม่ดีพอ

หากอัดยาขมหรือปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อปราบเงินเฟ้อแรงเกินไป ก็จะส่งผลลบต่อการจ้างงาน หรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพราะคนจะชะลอการซื้อ ภาคธุรกิจอาจชะลอการลงทุน นอกจากนั้นการขยายการลงทุนและการปล่อยสินเชื่อภาคธนาคารพาณิชย์ก็ต้องระมัดระวังมากขึ้นด้วย

" การคาดการณ์ ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ อาจส่งผลกับการลงทุนภาคเอกชน และภาคครัวเรือน ที่อาจจะก่อหนี้มากขึ้นหรือน้อยลงได้เช่นกัน ฉะนั้นการที่ทางการปรับประมาณการอยู่บ่อยๆ จึงต้องแสดงให้ได้ว่าข้อมูลต้องแม่นยำกว่าเดิม"

อนุสรณ์ บอกว่า การลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ปี 2549 ซึ่งมีวงเงินราว 2.9แสนล้านบาท จะทำหน้าที่ดูดซับสภาพคล่องในระบบ ซึ่งในที่สุดก็จะบีบให้ดอกเบี้ยวิ่งเร็วขึ้น ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับแหล่งเงินทุนด้วย โดยการเร่งระดมเงินออมในประเทศให้เพียงพอกับความต้องการส่งเสริมการลงทุนตรงจากต่างประเทศ

อนุสรณ์ ย้ำความสำคัญของแหล่งที่มาของเงินทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมทั้งในประเทศและต่างประเทศ สัดส่วนรวมกันกว่า 42% ของวงเงินทั้งหมด โดยการกู้เงินจากต่างประเทศจะมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งจะผลักให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น

ขณะที่การกู้ยืมในประเทศ ต้องคำนึงถึงความเพียงพอของเงินออม โดยการเร่งส่งเสริมและสนับสนุนการออมควบคู่กันไปด้วย เพื่อไม่ให้แก่งแย่งชิงทรัพยากรจนกระทบการลงทุนภาคเอกชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

อย่างไรก็ตาม สัญญาณหนึ่งที่เห็นได้ชัด ภายหลังอัตราดอกเบี้ยแบงก์พาณิชย์ต่างทยอยขยับขึ้น นั่นคือ ปริมาณเงินฝากไม่ได้ปรับตัวสูงมากนัก เพราะมีการเคลื่อนย้ายเงินจากตลาดเงินไปที่ตลาดทุน การระดมทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ รวมถึงการทยอยออกพันธบัตรประเภทต่างๆของหน่วยงานภาครัฐ ที่ออกมาดูดซับสภาพคล่องไปเป็นส่วนใหญ่

อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ รวมถึงธนาคารรัฐแทบทุกแห่ง ต่างก็ไม่ได้นิ่งอยู่เฉย มีการปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับบัญชีเงินฝากหลายประเภท โดยส่วนใหญ่เป็นบัญชีวงเงินค่อนข้างสูงและพุ่งตรงไปที่การฝากระยะยาว จนมาระยะหลังมีการปรับดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะสั้น วงเงินไม่สูงมากนัก เพื่อดึงดูดให้เจ้าของเงิน นำเงินมากฝากเพิ่มมากขึ้น

ประธาน จิวจินดา หัวหน้าส่วนวิจัยเศรษฐกิจ สำนักวิจัย ธนาคารไทยธนาคาร คาดว่าอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ก็ยังคงได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวสูงตามแนวโน้มการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติ

โดยเฉพาะเฟดยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 4.50-5% ในช่วงกลางปี 2549 ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อไป นอกจากนั้นความต้องการลงทุนในตราสารหนี้ยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบัน
ยิ่งตลาดหุ้นผันผวนมากขึ้นเท่าไร นักลงทุนก็มักจะย้ายการลงทุนมาลงในตลาดตราสารหนี้มากขึ้น...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us