|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เทเลมาร์เก็ตติ้ง ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เกิดในธุรกิจประกันภัย ที่ผ่านมามีผู้เล่นน้อยรายที่จะลงมาเล่นในตลาดนี้ ด้วยเห็นว่าช่องทางดังกล่าวยังสร้างผลตอบแทนได้ไม่โดดเด่นนัก แต่สำหรับการทำธุรกิจการเพิ่มช่องทางใหม่ ๆ คือโอกาสที่ดี แม้ช่องทางดังกล่าวจะไม่ใช่ทางหลักก็ตาม ซึ่งอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ "ภัทรประกันภัย" สนใจอยากทดลองตลาดดังกล่าว
ตามแผนที่วางไว้ช่องทางเทเลมาร์เก็ตติ้ง ภัทรประกันภัยจะเริ่มให้บริการในปีหน้า และการขายผ่านช่องทางดังกล่าวเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่บริษัทได้วางไว้เพื่อขยายตลาดและฐานลูกค้าในหลายกลุ่มมากขึ้น ที่เป็นทั้งฐานลูกค้าจากบริษัทและพันธมิตร
กฤตยา ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ ภัทรประกันภัยภัย มองว่า การทำเทเลมาร์เก็ตติ้งนี้เป็นแค่ช่วงเริ่มต้นของการทดลองตลาดเพื่อดูปฏิกิริยาตอบรับจากลูกค้า จึงยังไม่คาดหวังกับรายได้ที่จะเข้ามาจากช่องทางนี้ แต่ถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดของบริษัท
"รูปแบบที่ทำก็จะเป็นการจ้างเอาท์ซอทจากบริษัทที่ทำเทเลมาร์เก็ตติ้ง เพราะมีข้อดีตรงที่เราไม่ต้องมาวางระบบเทคโนโลยีใหม่ รวมถึงการสร้างบุคลากรเพิ่ม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุน แต่ถ้าจ้างเอาท์ซอท ก็จะประหยัดเวลา ต้นทุนทั้งเม็ดเงิน และบุคคลากร"
เชื่อว่าอีกข้อดีที่ภัทรประกันภัยเลือกใช้บริการจากเอาท์ซอท ไม่เฉพาะความสะดวก ความพร้อมของระบบ และบุคลาการเท่านั้น แต่ยังช่วงตัดข้อกังวลใจในเรื่องของรายได้หรือผลตอบแทนจากช่องทางดังกล่าวที่ยังไม่แน่ชัดว่าจะออกมามากน้อยเพียงใด ซึ่งก็ต้องยอมรับถึงกระแสแท้จริงว่า ที่ผ่านมาช่องทางดังกล่าวยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในสังคมไทย และตรงจุดนี้ถ้า ภัทรประกันภัย ต้องทุ่มงบลงทุนเองแล้วอาจไม่คุ้มค่ากับเวลา และเม็ดเงินที่เสียไปก็ได้
กฤตยา บอกว่า ช่องทางดังกล่าวที่ต้องเริ่มให้บริการในปีหน้านั้น เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกบริษัที่เป็นเอาท์ซอทอยู่ และหลักการพิจารณาคัดเลือกจะดูจากผลงานจำนวนรายที่สามารถติดต่อได้ ข้อมูลฐานลูกค้า เป็นต้น
สำหรับ ภัทรประกันภัย การเริ่มต้นของบริการนี้ อาจเป็นกลุ่มลูกค้าในส่วนของบริษัทก่อนที่มีประมาณ120,000 ราย และจะเสนอผลิตภัณฑ์พีเอที่ง่ายไม่สับซ้อนเพื่อให้เหมาะสมกับการขายผ่านช่องทางดังกล่าวที่ไม่สามารถอธิบายลายละเอียดได้มาก และเนื่องจากช่องทางนี้เป็นเรื่องใหม่สำหรับบริษัท ดังนั้นหลังจากให้บริการไปประมาณ 2-3 เดือนก็จะกลับมาประเมินผลกันอีกครั้งว่าการตอบรับเป็นอย่างไร
นอกจาก เทเลมาร์เก็ตติ้ง ที่เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การขยายตลาดของบริษัทแล้ว การจัดกิจกรรมหรือทำโครงการต่าง ๆ ก็เป็นหนึ่งในแผนกลยุทธ์เพื่อประชาสัมพันธ์บริษัทให้เป็นที่รับรู้ในสังคมมากขึ้นด้วย ซึ่งแม้รูปแบบของกิจกรรมจะเน้นทำเพื่อตอบแทนสังคม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้กิจกรรมดังกล่าวก็ได้สร้างผลประโยชน์กลับมาสู่บริษัทเช่นกัน ในแง่ของการรับรู้แบรนด์และภาพลักษณ์ของตัวบริษัทด้วย
กฤตยา บอกว่ารูปแบบกิจกรรมที่ภัทรจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 คือ โครงการ "ภัทรประกันภัยห่วงใยน้อง" โดยครั้งแรกของโครงการนี้จัดขึ้นในปีที่แล้ว รูปแบบแนวคิดคือการบริจาคหนังสือ แต่ปีนี้จะเน้นไปที่อุปกรณ์กีฬา ซึ่งนำไปมอบให้เด็กนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
กลยุทธ์การขยายตลาดด้วยเทเลมาร์เก็ตติ้ง หรือการจัดกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ของภัทรประกันภัย เป็นอีกภาพหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงกระแสเคลื่อนไหวในธุรกิจประกันภัย ที่กล่าวได้ว่าการแข่งขันในทุกวันนี้ไม่ได้แข่งกันที่กลยุทธ์เท่านั้น แต่ยังแข่งกันที่ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของบริษัทด้วย
|
|
|
|
|