Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์25 พฤศจิกายน 2548
ตลาดหุ้นคือระเบิดเวลา             
โดย ไพศาล สุริยะวงศ์ไพศาล
 


   
search resources

Stock Exchange
Knowledge and Theory




ทำไมผมจึงเปรียบเทียบตลาดหุ้น หรือตลาดหลักทรัพย์เหมือนระเบิดเวลา ทั้งที่มันคือกลไกสร้างความร่ำรวยอย่างรวดเร็วให้กับคนกลุ่มหนึ่งในประเทศ หรือสังคม เหตุผลก็เพราะ เมื่อตลาดหุ้นระเบิดทีไร เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก็พังพาบทุกครั้งไป

ตัวอย่างเช่น การถดถอยของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 1991 จนกระทั่งทุกวันนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแรง ก็สืบเนื่องจาก การระเบิดของตลาดหุ้นนิเคอิในปีเดียวกัน

หรือการตกต่ำของตลาดหุ้นไทยในปี 1997 หรือตลาดหุ้นสหรัฐฯในปี 2000 หรือประเทศอะไรก็ได้ ที่มูลค่าของตลาดหุ้นใหญ่โตมีมูลค่าใกล้เคียงกับ GDP ของประเทศ

เดิมทีตลาดหุ้นนิเคอิก็มีการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป พอรัฐบาลญี่ปุ่นรับเอาเศรษฐกิจการเงิน หรือ Financial Economy เข้ามาอย่างเต็มที่ในปี 1987

ตลาดหุ้นนิเคอิก็เกิดการเติบโตอย่างพรวดพราดจากดัชนีแค่ 1 หมื่นจุด ติดเชื้อเพลิงเก็งกำไรอย่างสุดโต่งพลังแรงสูงพุ่งขึ้นไปเป็น 39,000 กว่าจุดในระยะเวลาเพียง 2 ปีกว่า หรือเรียกว่า โตแบบติดจรวด

บริษัทจัดลำดับความน่าเชื่อถือทั้ง Moody (เจ้าอารมณ์) และ S&P(Standard & Poor) หรือแปลเป็นไทยว่า มาตรฐาน และยากจน ก็มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการขบวนการติดเชื้อเพลิงเก็งกำไรพลังแรงสูงโดยการจัดลำดับให้บริษัทญี่ปุ่นในตลาดหุ้นนิเคอิได้ลำดับความน่าเชื่อถือสูงสุด ยังผลให้ราคาหุ้นของบริษัทญี่ปุ่นในตลาดหุ้นนิเคอิเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล(ร่ำรวยอย่างรวดเร็ว)

ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บริษัทญี่ปุ่นเหล่านี้ตั้งหน้าตั้งตาขยายกิจการกันยกใหญ่โดยการกู้เงิน หรือออกพันธบัตร หรือเพิ่มทุน แมลงเม่าชาวญี่ปุ่นก็เฮโลแห่กันซื้อหุ้นกันยกใหญ่เพราะหวังจะเป็นเศรษฐกิจ หรือร่ำรวยจากราคาหุ้นที่ทะยานตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่แล้ว แค่ระยะเวลาเพียงสองปีกว่า ตลาดหุ้นนิเคอิก็พังพาบลงมาเนื่องจากราคาหุ้นที่สูงเกินกำลังซื้อของเหล่าแมลงเม่าที่จะซื้อ-ขายกันต่อไป

วงจรเก็งกำไรก็หยุดชะงัก เมื่อแมลงเม่าหมดปัญญาซื้อ-ขาย เพราะราคาหุ้นแพงเกินไป พอแมลงเม่าเลิกเล่น ตลาดหุ้นก็กลับบ้านเก่า หรือม้วนเสื่อ เพราะตลาดหุ้นทุกตลาดอยู่ได้ และเจริญเติบโตก็เพราะแมลงเม่า(ผู้ถือหุ้นรายย่อย) หาใช่ผู้ซื้อในรูปสถาบัน หรือต่างชาติ

ที่แปลกก็คือ แมลงเม่ามักจะเป็นผู้เจ๊ง หรือฆ่าตัวตายทุกครั้งเมื่อตลาดหุ้นพัง หรือล่มสลาย เหมือนกับนักเล่นการพนัน หรือคนซื้อหวยที่มักจะเป็นผู้หมดตัว หรือเจ๊ง แต่เจ้าของบ่อน หรือกองสลาก หรือผู้ที่อยู่วงในกลับเป็นผู้ร่ำรวย และมั่งมีศรีสุข

สภาพการของตลาดหุ้น หรือตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่แตกต่างจากบ่อน หรือกาสิโนกล่าวคือ ผู้ที่อยู่วงใน(นักการเมือง กรรมการบริษัทฯลฯ) ผู้บริหารชั้นสูงของบริษัทในตลาดฯ หรือตัวตลาดหลักทรัพย์จะเป็นผู้ร่ำรวยเสมอไม่ว่า ตลาดจะเจ๊ง หรือเติบโต เพราะคนเหล่านี้เป็นผู้กุมข้อมูล หรือรู้ข้อมูลดีที่สุด

ฉะนั้น ผู้ที่ฆ่าตัวตายทุกครั้งเมื่อตลาดหุ้นเจ๊งก็คือ เหล่าแมลงเม่า แต่แมลงเม่าไม่เคยเข็ด หรือจดจำบทเรียนราคาแพงเหล่านี้เช่นเดียวกับนักการพนัน หรือนักเล่นหวย

พอตลาดหุ้นนิเคอิพัง เศรษฐกิจญี่ปุ่นโดยรวมก็พลอยเจ๊งไปด้วยซึ่งสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อความเชื่อมั่นของชาวญี่ปุ่น กล่าวคือ คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่เลิกเล่นหุ้น แม้ว่า ตลาดหุ้นนิเคอิจะเจ๊งมานานกว่า 14 ปีแล้ว ดัชนีของตลาดหุ้นนิเคอิทุกวันนี้ยังอยู่แค่ระดับ 1.4 หมื่นจุด ห่างจากเมื่อตอนดัชนีสูงสุด 2.9 หมื่นจุด (3.9 หมื่น-1.4 หมื่น)

คนญี่ปุ่นเกิดความหวาดกลัว เพราะฝันของพวกตนสลายเสียแล้ว นอกจากจะไม่ร่ำรวย หรือเป็นเศรษฐีแล้ว จำนวนไม่น้อยที่เป็นหนี้ คนญี่ปุ่นจึงพยายามประหยัด ไม่ใช้เงิน ผู้คนหลายร้อยต้องฆ่าตัวตายเพราะหนี้สินท่วมตัว ธุรกิจล้มละลาย แม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะลดอัตราดอกเบี้ยเงินออมเหลือแค่ศูนย์เปอร์เซ็นต์ และกระตุ้นให้คนญี่ปุ่นใช้เงินด้วยมาตรการต่าง ๆ ก็ไม่ได้ผล

นี่ยังโชคดีที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศเจ้าหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มากที่สุดในโลก และมีเงินออมในประเทศมากที่สุด รวมทั้งได้ดุลการค้าสูงที่สุดในโลก ขนาดญี่ปุ่นมีปัจจัยบวกเหล่านี้ เศรษฐกิจยังย่ำแย่เมื่อเจอกับระเบิดเวลาตลาดหุ้น หรือจะดูดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยเราก็ได้ ที่เคยขึ้นสูงสุดที่ 1.7 พันจุด เมื่อไทยเจอระเบิดเวลาตลาดหุ้นเมื่อปี 1997 เศรษฐกิจโดยรวมก็เจ๊ง ตลาดหุ้นเองทุกวันนี้ยังไต่ไปได้แค่ 6 ร้อยกว่าจุด ทั้ง ๆ ที่ตลาดหุ้นไทยก็เจ๊งมานานกว่า 8 ปี หรือจะดูดัชนีตลาดหุ้น Dow Jones ของสหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดหุ้นที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงสุดในโลก หรือเป็นบิดาแห่งเศรษฐกิจการเงิน

เมื่อสหรัฐฯเจอระเบิดเวลาตลาดหุ้นในปี 2000 เศรษฐกิจของอภิมหาอำนาจก็ดิ่งลงเหว ดัชนี Dow Jones ในทุกวันนี้ยังอยู่แค่หมื่นเศษ ๆ ทั้งที่เมื่อ 5 ปีที่แล้วเคยขึ้นไปแตะที่ระดับ 1.5 หมื่นกว่าจุด(ยังห่างจากจุดสูงสุด 4 พันกว่าจุด) บทเรียนก็คือ ราคาหุ้นเมื่อถูกปั่น หรือเก็งกำไรขึ้นไปแพงมาก ผู้คน หรือแมลงเม่า(ผู้อุ้ม หรืออุปถัมภ์ตลาดหุ้นตัวจริง)ก็จะเลิกซื้อ

ด้วยเหตุนี้ สมัยนี้นักเก็งกำไรจึงใช้ยุทธศาสตร์ใหม่ในการหลอกล่อมิให้แมลงเม่าทิ้งตลาดหุ้น อาทิเช่น มีการทุบราคาหุ้นเป็นครั้งคราวมิให้ราคาหุ้นแพงเกินไปเดี๋ยวแมลงเม่าจะเลิกเล่น

ขณะเดียวกัน บริษัทเจ้าของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเห็นว่า ราคาหุ้นของตนแพง หรือสูงมากแล้ว ก็จะประกาศลดราคาหุ้นโดยการแตกพาร์ หรือเพิ่มจำนวนหุ้น หรือทำทั้งสองอย่างพร้อมกัน ทำไมตลาดหุ้นจึงเปรียบเสมือนระเบิดเวลา เหตุผลก็เพราะ ตลาดหุ้นคือ ตลาดของการเก็งกำไรที่กระตุ้นการเติบโตทางธุรกิจ หรือเศรษฐกิจแบบติดจรวดบนตัวเลข หรือการพนันบนพื้นฐานของความเท็จ หรือความฝัน(มักจะทำให้ผู้คนฝันสลาย)

บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวนมากที่สามารถสร้างมูลค่าของหุ้น(ตัวเลข) เหนือกว่า หรือมากกว่าผลประกอบการที่เป็นจริง(ของเก๊ไม่ใช่ของจริง) อย่างเช่น บริษัท Microsoft หรือ Berkshire Hathaway โปรย ตลาดหุ้นคือ ตลาดของการเก็งกำไรที่กระตุ้นการเติบโตทางธุรกิจ หรือเศรษฐกิจแบบติดจรวดบนตัวเลข หรือการพนันบนพื้นฐานของความเท็จ หรือความฝัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us