Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 พฤศจิกายน 2548
ไทยพาณิชย์ปรับทัพรับแข่งขันเดือด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
Banking and Finance




ไทยพาณิชย์ เร่งปรับโครงสร้างรองรับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในอนาคต วางเป้ารักษาอัตราการขยายตัวของรายได้และกำไรให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนให้สูงขึ้น ล่าสุด ประกาศแต่งตั้งผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อีก 4 สายงาน ด้านผู้บริหาร มั่นใจรับมือเกณฑ์บาเซิล 2 ได้สบาย โดยไม่ต้องมีการเพิ่มอีกรอบ แม้ต้องใช้เงินกันสำรองหนี้ตามความเสี่ยงอีก 4 - 5 พันล้านบาท

นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึง ผลประกอบการของธนาคารในไตรมาส 4 ของปี 2548 ว่า ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และอยู่ในทิศทางเดียวกับไตรมาส 3 แม้ว่าในปีที่ผ่านมาธนาคารจะมีรายได้จากรายการพิเศษมาก แต่ในปีนี้ธนาคารหารายได้อื่นมาเสริม เช่น รายได้จากค่าธรรมเนียมการบริการ และรายได้ดอกเบี้ย โดยปัจจุบันรายได้จากค่าธรรมเนียมประมาณ 40% ของรายได้รวมมาจากการขยายฐานลูกค้าและบริการของธนาคาร

"ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารมีผลประกอบการที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งธนาคารมีเป้าหมายที่จะรักษาระดับการขยายตัวของรายได้ และผลกำไรทั้งของธนาคารและกลุ่มบริษัทในเครือให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการให้ผลตอบแทนต่อการลงทุน (อาร์โออี) ที่สูงขึ้นด้วย"

ปัจจุบัน ธนาคารได้เน้นให้ความสำคัญกับระดับของความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งสำรวจโดยบริษัทวิจัยข้อมูลระดับโลก หรือ Gallup ซึ่งจากผลการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าล่าสุดชี้ให้เห็นถึงระดับความพึงพอใจที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และจัดเทียบเท่ามาตรฐานโลก

โดยส่วนสาขาของธนาคารนั้น ปัจจุบันธนาคารมีสาขาทั้งสิ้นจำนวน 682 สาขา ซึ่งในปี 2548 ธนาคารได้เปิดสาขาเพิ่มอีกกว่า 120 สาขา โดยในจำนวนรวมดังกล่าวมีสาขาที่อยู่ในระดับมาตรฐานโลกแล้วกว่า 40 สาขาทั่วประเทศ และได้ขยายจุดเครื่องให้บริการเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) อีก 840 เครื่อง รวมเป็น 2,800 เครื่องทั่วประเทศ

นายวิชิต กล่าวว่า ธนาคารยึดนโยบายสร้างความแข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดได้แต่งตั้งผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่เพิ่มอีก 4 สายงาน ประกอบด้วย นายประเวศ สุทธิรัตน์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ เครือข่ายสาขากรุงเทพ นายอมฤต เหล่ารักพงษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายประมวลผลเทคโนโลยีสารสนเทศ นายภากร ปีตธวัชชัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายบริหารการเงิน และนายวิรไท สันติประภพ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์ลูกค้าธุรกิจ ซึ่งการเตรียมการดังกล่าวจะทำให้ธนาคารมีความพร้อมที่จะรับมือกับการแข่งขันในอนาคต

คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กล่าวถึง การเตรียมความพร้อมในการรองรับกับเกณฑ์การกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินฉบับที่ 2 ของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) หรือบาเซิล 2 ที่จะนำมาใช้กับธนาคารพาณิชย์ให้มีมาตรฐานเดียวกันในระดับสากล ว่า ธนาคารไทยพาณิชย์มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับกับเกณฑ์ดังกล่าวมาระยะหนึ่งแล้ว และเชื่อว่าจะมีความพร้อมก่อนปี 2551 ซึ่งเป็นปีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ไทยใช้บราเซิล 2 ในปี 2551

ทั้งนี้ ธนาคารจะต้องใช้เงินประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท เพื่อใช้กันสำรองหนี้ตามความเสี่ยงด้านปฎิบัติการในเกณฑ์การดำรงเงินทุนสำรองต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บาเซิล 2 ) ซึ่งธนาคารจะใช้เงินกองทุนของธนาคารที่ปัจจุบันมีอยู่ในระดับสูงประมาณ 15% และยืนยันว่าธนาคารไม่จำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุนเงินกองทุนของธนาคารเพื่อรองรับระบบดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่บาเซิล 2 ธนาคารจะได้ประโยชน์ด้านสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเคหะที่ปัจจุบันมีสัดส่วนถึง 30% ของพอร์ตสินเชื่อ ของธนาคาร ที่ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำโดยธปท.ให้น้ำหนักความเสียงที่ 35 % จากเดิน50% ประกอบกับมีหลักประกันสินเชื่อ ทำให้ต้องกันสำรองตามกฎเกณฑ์ใหม่น้อยกว่าปัจจุบัน

นอกจากนี้ การเข้าสู่เกณฑ์บาเซิล 2 จะทำให้ระบบสถาบันการเงินของประเทศมีความแข็งแกร่ง มีความเสี่ยงในการดำเนินงานน้อยลง และสามารถเผชิญกับความผันผวนในระบบเศรษฐกิจได้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญธนาคารจะมีระบบการอนุมัติสินเชื่อที่มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการลูกค้าด้วย ดังนั้นบาเซิล 2 จึงไม่ใช่เพียงการดูแลความเสี่ยง แต่จะเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์ และการหาลูกค้า รวมทั้งการปรับพอร์ตสินเชื่อของูธนาคารพาณิชย์ในช่วงต่อไปว่าจะเจาะลูกค้ากลุ่มไหนที่เป็นกลุ่มดี

ด้านนายหยกพร ตันติเศวตรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริหารความเสี่ยง ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การดำเนินงานของสถาบันการเงินภายใต้เกณฑ์บาเซิล 2 ทำให้ธนาคารต้องดูแลเงินกองทุนให้เพียงพอ ซึ่งเป็นโอกาสในการยกระดับคุณภาพของธนาคารและจะทำให้เห็นความแต่งต่างด้านคุณภาพของแต่ละธนาคารอย่างชัดเจนขึ้น ซึ่งธนาคารเองต้องพยายามดำรงเงินกองทุนให้ได้มากขึ้น ทั้งนี้ การดูแลความเสี่ยงจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์จัดสรรเงินกองทุนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับข้อเสียของการดูแลภายใต้เกณฑ์บาเซิล 2 คือ ระบบธนาคารของไทยจะดูเหมือนล้าหลังกว่าธนาคารของต่างประเทศ เนื่องจากในต่างประเทศได้ใช้เกณฑ์ดังกล่าวก่อนประเทศไทย รวมทั้งแรงกดดันจากคู่แข่งที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่งมีผลดีต่อประชนผู้ใช้บริการ เช่น สามารถเลือกใช้บริการของธนาคารพาณิชย์ตามคุณภาพที่ตนเห็นได้อย่างชัดเจน ลูกค้าบางประเภทสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us