Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540
20 ปีแห่งความสำเร็จของ ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์             
โดย มานิตา เข็มทอง
 


   
www resources

โฮมเพจ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

   
search resources

อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, บมจ.
ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์
Printing & Publishing




เมื่อเอ่ยถึงชื่อหนังสือ "บ้านและสวน" น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักหนังสือเล่มนี้ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า "บ้านและสวน" ได้เติบโตมาพร้อม ๆ กับสำนักพิมพ์อมรินทร์ หรือที่คุ้นเคยกันในนามของบริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เจ้าของนิตยสารชื่อดังอีก 4 ฉบับ "แพรว" "แพรวสุดสัปดาห์" "LIFE & DECOR" และ "TRENDY MAN" รวมถึงหนังสือเล่มอีกหลายร้อยเรื่อง

สำนักพิมพ์อมรินทร์ไม่ได้พิมพ์ แต่หนังสือที่ให้แต่ความบันเทิง อาทิ นวนิยาย เรื่องสั้น วรรณกรรมสำหรับเด็ก งานแปลเท่านั้น หากยังพิมพ์งานในเชิงวิชาการ งานวิจัยต่าง ๆ และที่สำคัญที่สุดก็คือ สำนักพิมพ์อมรินทร์ฯ ได้รับมอบหมายจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้เป็นผู้พิมพ์และเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังสือพระราชนิพนธ์ของพระองค์ และพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ด้วย

การที่เกริ่นเริ่มเรื่องด้วยหนังสือ "บ้านและสวน" นั้น สืบเนื่องจากศักราชใหม่นี้ อมรินทร์ฯ และ "บ้านและสวน" ก็จะก้าวเข้าสู่ปีที่ 21 ซึ่งถ้าเปรียบกับอายุคนก็ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว และกว่าจะมีวันนี้ได้…แน่นอน…ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายนักสำหรับ ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ กรรมการผู้จัดการของอมรินทร์ฯ หรือเจ้าของตัวจริงนั้นเอง

"การเติบโตที่ผ่านมา เป็นการเติบโตเพื่อที่จะให้บริการลูกค้าให้ดีขึ้นมากกว่าการที่จะเติบโตในลักษณะที่มีการวางแผนหรือคิดล่วงหน้าว่า เราจะโตแค่ไหน"

จากความรับผิดชอบต่อลูกค้านี้เองที่ทำให้อมรินทร์ฯ จากเดิมที่มีเพียง "บ้านและสวน" ฉบับเดียวก็ไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป เพราะ 2 - 3 ปีต่อจากนั้นก็มี "แพรว" เว้นระยะสักนิดก็ตามมาด้วย "แพรวสุดสัปดาห์" "LIFE & DECOR" และ "TRENDY MAN" น้องใหม่วัย 5 ขวบ ซึ่งก็คงไม่ใช่น้องสุดท้องอย่างแน่นอน…

ตลอดระยะเวลา 20 ปีของการทำงานของชูเกียรติ "พ่อใหญ่" ของอมรินทร์ฯ ก็ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่หนังสือไม่กี่เล่ม ตรงกันข้ามกลับมีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งดูเหมือนจะขัดกับคำพูดของเขาที่กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า

"จริง ๆ เราไม่อยากโตเท่าไหร่หรอก…เหนื่อย…" และเขาเองก็เป็นผู้ลบความขัดแย้งนั้นด้วยตัวเอง "แต่ความรับผิดชอบที่เรามีต่อลูกค้าเป็นตัวผลักดันที่ทำให้เราต้องทำ และต้องทำให้สำเร็จ เราก็เลยต้องโตมาเรื่อย ๆ"

และเมื่อ 4 ปีที่แล้ว อมรินทร์ฯ ก็กลายเป็นหนึ่งในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก้าวนี้เองที่ทำให้อมรินทร์ฯ ต้องโตอย่างเป็นระบบมากขึ้น

อมรินทร์ฯ ภายใต้การบริหารงานของชูเกียรติ ประกอบด้วย ธุรกิจ 3 กลุ่มหลัก คือ ธุรกิจโรงพิมพ์ ธุรกิจการจัดจำหน่ายและธุรกิจสำนักพิมพ์

"ความจำเป็นที่เราต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เนื่องจากเราต้องการระดมทุนเพื่อใช้ในการขยายโรงพิมพ์ ซึ่งโรงพิมพ์นี้ถือเป็นส่วนที่ทำรายได้ให้อมรินทร์มากที่สุดในปัจจุบัน และเงินที่ได้จากการระดมทุนเมื่อครั้งนั้น เราก็นำมาลงทุนที่โรงพิมพ์ทั้งหมด ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นผลแล้วว่า เราสามารถทำงานได้เร็วขึ้น รับงานได้ในปริมาณที่มากขึ้น และได้รับความเชื่อถือจากสำนักพิมพ์อื่นที่มาใช้บริการของเรามากขึ้น ซึ่งกำลังการผลิตของเราในปัจจุบันสามารถรองรับงานพิมพ์ภายในและภายนอกได้อย่างสบาย แต่ในอนาคตหากงานพิมพ์ของเรามีมากขึ้น เราคงต้องรับงานนอกให้น้อยลง" ชูเกียรติเล่า

นอกจากนี้ เขายังมองว่า ธุรกิจโรงพิมพ์ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก หากสามารถพัฒนาบุคลากรผู้มีความชำนาญในเรื่องของเทคโนโลยีการพิมพ์สมัยใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และเขาก็ความเชื่อว่า

"ในอนาคต ธุรกิจการพิมพ์จะอยู่บนเส้นทางของ IT คือ ไม่จำเป็นต้องเป็นอุตสาหกรรมใหญ่โต อาจเป็นเพียงเครื่อง PRINTER หรือ SERVER ย่อยลงมา เพื่อรองรับชุมชนหรือหน้าร้านเท่านั้น"

ส่วนธุรกิจการจัดจำหน่ายก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความสำคัญต่ออมรินทร์ฯ ซึ่งอมรินทร์ฯ ก็มีร้านค้าปลีกเป็นของตนเอง โดยใช้ชื่อว่า "ร้านนายอินทร์" ที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นชื่อเดียวกับพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

"เราขอพระราชทานชื่อ "นายอินทร์" มาเป็นชื่อร้าน หลังจากที่ได้พิมพ์หนังสือนายอินทร์เรียบร้อยแล้ว เพราะรู้สึกประทับใจในชื่อของนายอินทร์ และ CONCEPT ของร้านเราก็เป็นการทำงานลักษณะปิดทองหลังพระเช่นกัน คือ เราพยายามที่จะสร้างร้านหนังสือให้สามารถทำหน้าที่ได้มากกว่าความเป็นเพียงร้านหนังสือ ดังนั้น ร้านของเราจึงมีบรรยากาศที่น่าเข้า ทั้ง ๆ ที่ตั้งอยู่ในทำเลที่จอแจ วุ่นวาย แต่เมื่อลูกค้าได้เข้าไปในร้านเรากลับมีความรู้สึกสบาย เหมือนอยู่ในห้องสมุด มีมุมให้นั่งจิบกาแฟ อ่านหนังสือ หรือร่วมเสวนากับนักเขียนที่เราเชิญมาทุกสัปดาห์ ซึ่งขณะนี้เรามีทั้งหมด 4 สาขา และในอนาคตข้างหน้า ถ้าเรามีความพร้อมเราก็จะเปิดสาขาต่อ ๆ ไป แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะให้ร้านนายอินทร์กลายเป็นร้านที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากการเลือกทำเลสถานที่เป็นปัจจัยที่สำคัญ รวมทั้งการฝึกอบรมบุคลากร การสร้างโปรแกรมการขาย การบริหารสินค้า ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกนาน" ชูเกียรติเล่าถึงร้านนายอินทร์ ร้านหนังสือที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากร้านหนังสือทั่วไป นอกจากร้านนายอินทร์แล้ว อมรินทร์ฯ ยังมีซุ้มหนังสือวสำหรับจำหน่ายหนังสือทั้งในและต่างประเทศประจำโรงเรียนต่าง ๆ ด้วย

สำหรับธุรกิจสำนักพิมพ์นั้น ชูเกียรติได้มีแนวคิดที่จะเปิดสำนักพิมพ์เพิ่มขึ้นอีกหลายสำนักพิมพ์ เช่น สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก สำนักพิมพ์แพรวเยาวชน สำนักพิมพ์อมรินทร์วิชาการ สำนักพิมพ์อมรินทร์ภูมิปัญญา เป็นต้น โดยขณะนี้ก็สามารถเปิดทำการไปแล้วหลายสำนักพิมพ์ ซึ่งแต่ละกลุ่มสำนักพิมพ์ก็จะมีบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน

"เราจะไม่ทำในสิ่งที่เราไม่ถนัด เพราะไม่คุ้มกับการเป็น NEW COMMER" ชูเกียรติกล่าวถึงจุดยืนในการทำธุรกิจ และจากจุดยืนนี้เองทำให้เราไม่มีโอกาสเห็นเขาไปจับงานรายวัน ดังเช่น บริษัทอื่นที่จดทะเบียนอยู่ในหมวดเดียวกัน อมรินทร์จึงเป็นบริษัทเดียวที่ไม่มีหนังสือพิมพ์รายวันเป็นของตนเอง ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่แนวทางที่ชูเกียรติต้องการจะให้เป็นไปอยู่แล้ว

จากลักษณะการดำเนินธุรกิจที่ค่อนข้างเป็นแบบ CONSERVATIVE ไม่ได้ทำให้อมรินทร์ฯ ล้าหลังหรือตามโลกไม่ทัน ตรงกันข้าม "พ่อใหญ่" แห่งอมรินทร์ฯ กลับมีวิสัยทัศน์ที่ล้าสมัยด้วยซ้ำ เขามองว่า

"สังคมไทยกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า สังคมแห่งการเรียนรู้ อมรินทร์ในฐานะผู้ผลิตสื่อก็ต้องพยายามที่จะผลิตสื่อที่จะสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด"

ดังนั้น แนวทางที่อมรินทร์ฯ จะเดินต่อไปนับจากวันนี้ก็คือ การสร้างสำนักพิมพ์ให้มีมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันอมรินทร์ฯ มีหนังสือภายใต้สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ในเครือกว่า 400 เรื่อง ในขณะที่นิตยสารก็ยังคงมีอยู่ 5 ฉบับ และหากในปีนี้ ตลาดมีความพร้อมและความต้องการมากขึ้น เราอาจได้เห็นนิตยสารฉบับใหม่ในเครืออมรินทร์ฯ ออกมาท้าทายอยู่บนแผงหนังสือก็เป็นได้

เขาเริ่มต้นเล่าถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจของอมรินทร์ฯ ในอนาคตว่า สำนักพิมพ์ที่จะเกิดขึ้นใหม่นั้น แต่ละสำนักพิมพ์ก็จะมีกองบรรณาธิการของตัวเอง และในช่วงระยะเวลา 2 - 3 ปีที่ผ่านมา อมรินทร์ฯ ได้มีกองบรรณาธิการใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายกองด้วยกัน อาทิ กองบรรณาธิการแพรวเพื่อนเด็ก ซึ่งจะผลิตหนังสือที่เกี่ยวกับเด็กทั้งหมด ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กเล็กระดับอนุบาล โดยมีการจัดสัมมนา ฝึกอบรมให้ครูและนักเรียนเข้าใจถึงแนวคิดใหม่ในการที่จะให้พ่อแม่ใช้หนังสือเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับลูก

นอกจากนั้น ยังมีกองบรรณาธิการแพรวเยาวชน ซึ่งผลิตวรรณกรรมเยาวชน ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 20 เรื่องและส่วนใหญ่เป็นวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงจากประเทศต่าง ๆ ขณะเดียวกัน อมรินทร์ฯ ก็พยายามที่จะสร้างวรรณกรรมของไทยขึ้นด้วย

"วรรณกรรมเยาวชนเป็นหนังสือที่น่าสนใจ เพราะยังเป็นที่แพร่หลายในเมืองไทย ส่วนใหญ่หนังสือในเมืองไทยจะเป็นหนังสือสำหรับเด็กเล็ก ประเภทการ์ตูนต่าง ๆ แล้วก็ข้ามไปเป็นหนังสือผู้ใหญ่เลย แต่หนังสือสำหรับเด็กอายุ 10 ขวบขึ้นไปจะมีน้อยมาก ถ้าพวกเขาอยากอ่านหนังสือก็ต้องข้ามไปอ่านหนังสืออย่างงานของดอกไม้สด อรวรรณ เป็นต้น แต่หากเรามีวรรณกรรมมากขึ้น ก็จะช่วยให้เด็กสนใจการอ่านมากขึ้น เนื่องจากวรรณกรรมเหล่านี้จะไม่มีความซับซ้อนและหยาบเท่ากับหนังสือผู้ใหญ่ เพราะเรื่องราวส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับความสนใจและจินตนาการของเด็ก ซึ่งเราก็จะเป็นตัวเชื่อมให้วรรณกรรมเยาวชนเป็นที่รู้จักมากขึ้นในสังคมไทย" ชูเกียรติกล่าวอย่างมุ่งมั่น

นอกจากนั้น อมรินทร์ฯ ยังมีการสั่งสมข้อมูลที่เรียกว่า ทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะนำออกเผยแพร่ในลักษณะของการตีพิมพ์บนกระดาษและในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย

"เราจะต้องขยายตัวทั้งในแนวขวาง คือ การที่มีสำนักพิมพ์มากขึ้น พร้อมทั้งขยายตัวในแนวดิ่ง คือ การเป็นสื่อในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น การยิงเข้าอินเตอร์เน็ต การออกรายการวิทยุโทรทัศน์ รวมทั้งการทำในรูปของวิดีโอ เทปคาสเซตต์ หรือดิสเก็ตต์ เป็นต้น" นี่คือ ทิศทางการเติบโตของอมรินทร์ฯ แต่สำหรับคำถามที่ว่า อมรินทร์ฯ จะขยายตัวได้มากน้อยแค่ไหนนั้น เขาไม่สามารถให้คำตอบได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นอีกที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมของเขา เช่น ภาวะเศรษฐกิจ การสนับสนุนจากรัฐบาล

โอกาสในการเติบโตของทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจยังมีช่องทางอีกมาก แต่จะเติบโตได้แค่ไหนภายใน 3 - 5 ปีข้างหน้าก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในของเราเองว่า เรามีความพร้อมเรื่องบุคลากร และสามารถวิ่งตามเทคโนโลยีได้มากน้อยแค่ไหน เงินทองอาจจะไม่ใช่ปัญหาสำหรับเรา เพราะเรามีช่องทางในการระดมทุนจากตลาดฯ เป็นฐานที่แข็งแรงอยู่แล้ว ส่วนการแข่งขันก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะธุรกิจที่เราทำ เป็นสินค้าที่คนต้องการอยู่แล้ว แต่ปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยก็คือ ภาวะเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยและเหมาะสมมากน้อยเพียงใดตอ่การลงทุนของเรา หรือแม้แต่ตลาดในต่างประเทศเองมีความเหมาะสมกับเราแค่ไหนที่เราจะขยายธุรกิจไป

…นับระยะเวลาต่อจากนี้ อมรินทร์ฯ จะต้องให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลให้มากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินธุรกิจในอนาคต ซึ่งเราจะต้องแข็งแรงทั้งคนและระบบ และที่สำคัญ คนที่ทำงานกับเราจะต้องมีความสุขกับงานที่ทำ เพราะไม่ว่างานจะยากลำบากเพียงใด หากเขามีความสุขแล้ว เขาก็สามารถทำงานนั้นให้สำเร็จจนได้ เป็นความใส่ใจที่ "พ่อใหญ่" แห่งอมรินทร์ฯ ถ่ายทอดออกมา

สำหรับภาครัฐบาล ชูเกียรติกล่าวว่า เป็นตัวแปรสำคัญทีเดียวในการที่จะทำให้อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ของไทยแข็งแกร่งหรือไม่

ปัจจุบันรายได้หลักของอมรินทร์ฯ นอกจากจะมาจากธุรกิจโรงพิมพ์แล้ว ยังมาจากค่าโฆษณาในนิตยสารทั้ง 5 ฉบับ และรายได้จากการขายหนังสือเล่ม ซึ่งส่วนหลังนี้จะไม่มากนัก เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการผลิตหนังสืออยู่ในระดับที่สูงมากขึ้น จากภาวะราคากระดาษที่มีแนวโน้มที่จะไม่ลงต่ำกว่าในปัจจุบันแล้ว ยังมาจากการที่ประเทศไทยมีการเก็บภาษีกระดาษที่สูงถึง 20% ซึ่งมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ที่ไม่มีการเก็บภาษีนี้เลย ปัจจัยเหล่านี้เองที่ทำให้ราคาหนังสือของไทยขยับตัวค่อนข้างสูงขึ้นมากในปัจจุบัน

"ต้นทุนการผลิตหนังสือประมาณ 65 - 70% มาจากค่ากระดาษ และหากรัฐยังคงเก็บภาษีตัวนี้อยู่ ต้นทุนก็จะยิ่งสูงขึ้น ราคาหนังสือก็จะแพงอย่างที่เป็นอยู่ ในทางกลับกันหากฐานภาษีตัวนี้ลดลง หรือคิดเหมือนเพื่อนบ้าน คือ 0% จะทำให้ราคาหนังสือลดลง 25 - 50% ทีเดียว ถ้ารัฐให้ความสนับสนุนตรงนี้อย่างจริงจัง คนไทยจะมีหนังสือดี ๆ ให้อ่านอีกเยอะ และผลพลอยได้ที่ตามมา คือ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์จะแข็งแรงขึ้น"

ในขณะเดียวกัน ชูเกียรติก็ยอมรับว่า รายได้ของบริษัทที่มาจากค่าโฆษณาในนิตยสารนั้น ก็มีการเติบโตที่ช้าลง เนื่องจากการโฆษณาในวิทยุและโทรทัศน์จะเห็นผลตอบสนองที่ชัดเจนกว่า

ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษารายได้ในส่วนนี้ให้ยังคงอยู่นั้น ก็เป็นหน้าที่ของคนทำงานที่จะต้องหาวิถีทางที่จะเสริมจุดอ่อนตรงนี้…INTERNET จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกมองข้ามสำหรับผู้บริหารอย่างชูเกียรติ และจากนี้เองที่อมรินทร์ฯ เริ่มมี HOMEPAGE เป็นของตัวเอง

"INTERNET จะมาเป็นตัวเสริมและสร้างความได้เปรียบให้กับนิตยสารของเรา เราสามารถทำให้โฆษณาที่อยู่บนหน้าหนังสือของเราไปปรากฏอยู่บนจอคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารไปทั่วทุกมุมโลกได้ และความแตกต่างที่การโฆษณาในวิทยุ โทรทัศน์ ไม่สามารถทำได้ก็คือ การสัมผัสเพียงปลายนิ้วก็สามารถสั่งซื้อของที่ต้องการได้

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนี้เองที่ทำให้โฆษณาที่ลงกับเรามีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น นับจากนี้ก็จะเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ลงทุนที่จะซื้อโฆษณากับเรามากขึ้น และผมคิดว่า ยุคทองของรายได้จากค่าโฆษณาจะกลับมาในไม่ช้า ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะสามารถสร้าง HOMEPAGE และสามารถใส่ข้อมูลทาง INTERNET ให้มีคุณภาพและดึงดูดได้มากแค่ไหน ซึ่งเรื่องนี้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง"

แม้ว่าเรื่องราวของอมรินทร์ฯ ที่ชูเกียรติเล่ามาทั้งหมดนี้จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วก็ตาม แต่เขาก็ไม่ลืมที่จะเล่าย้ำอีกว่า

"อมรินทร์ฯ เริ่มต้นจากหนังสือเล่มเดียว คือ "บ้านและสวน" สมัยนั้นเรายังไม่มีโรงพิมพ์เป็นของตัวเอง ต้องไปจ้างคนอื่นพิมพ์ จนในที่สุดก็มีคนชักชวนให้ตั้งโรงพิมพ์เอง เราก็เริ่มต้นจับงานโรงพิมพ์เป็นครั้งแรกโดยพิมพ์บ้าแนละสวนของเราเอง และใช้เวลาว่างจากการพิมพ์งานของเราเองรับจ้างพิมพ์งานนอกด้วย และจากวันนั้นเอง เราก็เติบโตมาเรื่อย ๆ แม้จะล้มลุกคลุกคลานบ้างในปีแรก ๆ "


และเขายังเล่าถึงที่มาของชื่อบริษัท "อมรินทร์" ซึ่งน้อยคนนักที่จะทราบอีกด้วยว่า "อมรินทร์เป็นชื่อของวัดที่อยู่ใกล้กับที่ตั้งบริษัทของเรา นึกชอบก็เลยอาศัยชื่อวัดมาเป็นชื่อบริษัท เราก็เลยเดินตามหลังพระมาตลอด"

"การเดินตามหลังพระ" ของชูเกียรติ คงจะหมายถึงการทำธุรกิจอย่างมีศีลธรรม มีจรรยาบรรณ จึงทำให้ธุรกิจที่เดินเคียงคู่มากับเขาประสบความสำเร็จและก้าวต่อไปอย่างมั่นคง

นอกจากนี้ "พ่อใหญ่" แห่งอมรินทร์ฯ ยังกล่าวอีกว่า "ธุรกิจหนังสือเป็นธุรกิจที่ไม่มีเพดาน แต่ธุรกิจนี้จะแข็งแรงแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับจินตนาการและวิสัยทัศน์ของแต่ละบริษัทฯ คำกล่าวนี้น่าจะประยุกต์ใช้ได้กับทุกบริษัท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us