Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540
TDB - FIN1 - PHATRA - NPAT ร่วมอันเดอร์ไรต์หุ้นกู้             
 

 
Charts & Figures

กราฟแสดงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 3 เดือนสูงสุด เปรียบเทียบระหว่าง TDB กับ MCC


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ

   
search resources

เอกธนกิจ, บง
ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ
นิติกร ตันติธรรม
Banking and Finance




ธ.ไทยทนุ ส่งท้ายปีเก่าด้วยการจับมือ FIN1 และ 2 สถาบันใหญ่รับเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับ MCC ในการจัดโครงสร้างหุ้นกู้ 3,500 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 3 TRANCHES และ TRANCHE แรกเสร็จสมบูรณ์แล้ว ด้วยการออกในรูปของหุ้นกู้ด้อยสิทธิจำนวน 500 ล้านบาท อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 3 เดือนสูงสุดของไทยทนุ บวก 1.25% ใน 5 ปีแรกและบวก 2.50% ใน 5 ปีหลัง

เป็นเรื่องน่ายินดีที่เกิดขึ้นระหว่างภาวะซบเซาของตลาดการเงินในบ้านเรา จากการที่ 4+1 สถาบันการเงินให้ได้โคจรมาร่วมงานกัน

ดีลนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของธนาคารไทยทนุและบริษัทเงินทุนเอกธนกิจ ที่จะแสดงผลงานที่เป็นรูปธรรมภายหลังจากการประกาศเป็นพันธมิตรทางธุรกิจไปเมื่อต้นปี '95 ที่ผ่านมา โดยเมื่อเดือนกันยายนของปีที่แล้ว ผู้บริหารของทั้ง 2 ฝ่ายได้มีการเจรจาวางแผนการดำเนินงานร่วมกันในสายงานหลัก ๆ คือ ด้าน INVESTMENT BANKING งานด้าน TREASURY งานด้าน CREDIT และส่วนที่เกี่ยวกับ HUMAN RESOURCE รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ด้วย

"งานด้าน TREASURY และด้าน CREDIT ผู้บริหารของทั้ง 2 องค์กรก็ได้มีการ WORK ร่วมกันไปบ้างแล้ว แต่เนื่องจากเป็นดีลที่ไม่ชัดเจนเท่ากับดีลที่อยู่ในส่วนของ INVESTMENT BANKING จึงไม่ได้มีการประกาศให้ทราบกันทั่วไป แต่งานในส่วนของ IB จะเห็นเป็นรูปธรรมมากกว่า เราจึงต้องประกาศให้รู้ว่า เราทำอะไรไปแล้วบ้าง" นิติกร ตันติธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารไทยทนุ เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายเดือน" พร้อมกับเล่าต่อไปว่า

"ภายหลังที่มีการจับมือกับ FIN1 แล้วเราก็พยายามที่จะ CREATE DEAL ร่วมกัน และตั้งเป้าไว้ว่า ภายในสิ้นปี '95 เราจะต้องสร้างดีลให้ได้ และในที่สุดเราก็ได้รับมอบหมายให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับ บงล.เอ็มซีซี โดยเอ็มซีซี มีความต้องการเงินทุนระยะยาวในลักษณะอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เพื่อใช้เป็นเงินกองทุนขั้นที่ 2 (TIER2) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,500 ล้านบาท"

จากโจทย์นี้เองก็เป็นหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินที่จะต้องหาวิธีในการจัดโครงสร้างเงินก้อนนี้ ให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าและภาวะตลาด ณ ขณะนั้นด้วย ซึ่งดีลนี้นอกจากจะมีไทยทนุกับ FIN1 แล้วยังมี PHATRA กับ NPAT มาช่วยเป็นกำลังสำคัญอีกด้วย โดยทั้ง 4 สถาบันและเอ็มซีซีได้มีการทำงานร่วมกัน จนในที่สุดเงินจำนวน 3,500 ล้านบาทนี้ก็ใช้วิธีการระดมทุนในรูปแบบของการออกเป็นตราสารหนี้ โดยแบ่งเป็น 3 TRANCHES

TRANCHES แรกออกเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ จำนวน 500 ล้านบาท อายุ 10 ปี มี CALL OPTION ในปีที่ 5 อัตราดอกเบี้ยอิงกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนสูงสุดของธนาคารไทยทนุ บวก 1.25% โดยจะมีการจ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือนและทุก ๆ เดือนที่ 3 ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสำหรับ 3 เดือนต่อไป และหากสิ้นปีที่ 5 เอ็มซีซี ไม่มีการเรียกคืนหุ้นกู้ อัตราดอกเบี้ยที่นักลงทุนจะได้รับก็คือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนสูงสุดของธนาคารไทยทนุ บวก 2.50%

"ก้อนแรกนี้ เราจะจำหน่ายให้กับนักลงทุนประเภท PRIVATE BANKING CUSTOMER หรือลูกค้าระดับ VIP ของธนาคารที่มีความต้องการตราสารหนี้ระยะยาวในอัตราผลตอบแทนที่ดีด้วย เนื่องจากลูกค้าประเภทนี้จะมีความเคยชินกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นกู้ตัวนี้จะได้ผลตอบแทน 1.25% บวกกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนสูงสุดของธนาคาร ถือว่าเป็นอัตราที่เหมาะสม เนื่องจากเราพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจย้อนหลัง 4 ปีแล้วพบว่า อัตราดอกเบี้ยในปี '95 อยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าทุกปี ซึ่งก็น่าจะสูงพอแล้ว ต่อจากนี้ไปอัตราดอกเบี้ยก็อาจจะอ่อนตัวลงบ้าง ซึ่งเราอาจจะคาดผิดก็ได้ แต่อัตราผิดตอบแทนของหุ้นกู้ตัวนี้จะมีทั้งลอยตัวและคงที่ ส่วนของลอยตัวก็คือ ลอยตัวตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนสูงสุดของธนาคารไทยทนุ และส่วนที่คงที่ก็คือ บวก 1.25% ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นการรักษาผลตอบแทนให้กับนักลงทุนตลอด 5 ปีแรกของการถือหุ้นกู้ และเป็นการรับประกันว่า ไม่ว่าภาวะตลาดจะตึงตัวหรือซบเซาแค่ไหนนักลงทุนก็จะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินกับ BANK เสียอีก" นิติกรอธิบายถึงอัตราผ่ลตอบแทนที่น่าสนใจของหุ้นกู้ก้อนแรกของเอ็มซีซี ซึ่งนอกจากไทยทนุกับ FIN1 จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินแล้ว ทั้ง 2 สถาบันยังรับบทบาทเป็น UNDERWRITER ให้กับหุ้นกู้ก้อนนี้ด้วย

"แม้ว่าเราจะทำหน้าที่เป็น UNDERWRITER โดยตรงไม่ได้ เนื่องจากเรามีเพียงใบอนุญาตที่ปรึกษาทางการเงินเท่านั้น เรายังไม่มีใบอนุญาตให้ทำธุรกิจ UNDERWRITE ได้ ดังนั้นเราจึงทำได้ในลักษณะของการเป็น CO-ORDINATOR หรือผู้ประสานงานให้กับดีลนี้ ซึ่งก้อนแรกนี้เราต้องการขายให้กับนักลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาที่เป็น PRIVATE BANKING CUSTOMER" นิติกรชี้แจง

ส่วนหุ้นก้อนที่ 2 ที่คาดว่าจะออกภายในไตรมาสแรกของปีนี้ ไทยทนุและ FIN1 ก็ยังคงทำหน้าที่ไม่แตกต่างจากก้อนแรกโดยหุ้นกู้ก้อนนี้จะออกเป็นวงเงินประมาณ 1,500 ล้านบาท และในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ หุ้นกู้ก้อนที่ 3 ก็จะตามมาในวงเงินประมาณ 1,500 ล้านบาทเช่นเดียวกัน โดยมี PHATRA และ NPAT ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และ LEAD UNDERWRITER ร่วมกับไทยทนุ และ FIN1 ด้วย ทั้งนี้ ใน 2 ก้อนแรก PHATRA และ NPAT ก็ร่วมเป็น CO-UNDERWRITER ด้วย

ลักษณะและคุณสมบัติของหุ้นกู้ 2 ก้อนหลังนี้จะใกล้เคียงกับก้อนแรก เพียงแต่จะมีการใช้กระบวนการ BOOK BUILD ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการนักลงทุน และภาวะตลาดที่สุด

"ดีลนี้น่าจะเป็นดีลตัวอย่างที่ดีที่ทั้ง 4 สถาบันสามารถจับมือร่วมงานกันได้ และทุกฝ่ายก็ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน คือ ในแง่ของไทยทนุกับ FIN1 ก็ได้ทำงานร่วมกันเป็นทั้งที่ปรึกษาทางการเงินในดีลแรกและดีลที่ 2

ส่วนทาง PHATRA และ NPAT ก็ได้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในดีลที่ 3 นอกจากนั้น ทั้ง 4 สถาบันยังร่วมเป็น UNDERWRITER และ CO-ORDINATOR ให้กับทั้ง 3 ดีล ซึ่งผลประโยชน์ทั้งหมดนี้ก็ตกต่อลูกค้าเราก็คือ เอ็มซีซี ทำให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการระดมเงินเพื่อเสริมสร้างเงินกองทุนขั้นที่ 2 ได้อย่างสมบูรณ์ โดยในปัจจุบันเอ็มซีซีมีเงินกองทุนรวมที่สูงอยู่แล้ว โดยมีอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเมื่อเดือนกันยายนของปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 11% (เป็นตัวเลขเดียวกับ TIER1 เนื่องจาก MCC ไม่เคยออก SUB DEBT มาก่อน) และเมื่อมีส่วนของ SUB DEBT จำนวน 500 ล้านบาทเข้าไปก็จะส่งผลให้อัตราส่วนดังกล่าวนี้สูงขึ้นเป็นประมาณ 12% นอกจากนั้น การระดมทุนด้วยวิธีนี้ยังช่วยกระจายฐานลูกค้าของเอ็มซีซีออกไปอีกด้วย" นิติกรกล่าว

นับได้ว่า ไทยทนุกับ FIN1 สามารถแสดงผลงานจากการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างงดงาม ดีลนี้เป็นเพียงดีลเริ่มต้นของทั้ง 2 สถาบัน ซึ่งคิดว่ายังมิได้หยุดเพียงแค่นี้

"ในอนาคต เรากับ FIN1 ก็ยังคงทำงานเคียงคู่กันไป แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่ทำงานร่วมกับคนอื่น ไทยทนุเปิดกว้างเสมอ เพียงแต่ FIN1 จะเป็น PARTNER ที่เราพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ" นิติกรกล่าว

สำหรับจุดแข็งที่ FIN1 จะเข้ามาเสริมให้สายงานวาณิชธนกิจของไทยทนุก็เป็นเรื่องของการจัดโครงสร้างของดีลและการกระจายการจำหน่าย โดยเฉพาะส่วนของตราสารหนี้ ซึ่งนิติกรยอมรับว่า ไทยทนุยังไม่มีความชำนาญเพียงพอ

"การมีใบอนุญาตที่ปรึกษาทำให้ไทยทนุสามารถทำงานได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษาในการออกตราสารหนี้ ตราสารทุน ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ซึ่งแน่นอนความยากง่ายของแต่ละตราสารต้องประสบอยู่แล้ว เราก็ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจพอสมควร เราคิดว่าเราเดินมาถูกทางแล้ว หนทางข้างหน้ายังสดใส ในอนาคตเราคงได้จับดีลที่ใหญ่กว่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราได้ FIN1 หนึ่งใน BIG PLAYER ของตลาดตราสารหนี้บ้านเรามาเป็นกำลังสำคัญ เราเชื่อว่าเราทำได้ดีแน่นอน" นิติกรกล่าวอย่างมั่นใจ

ไทยทนุประกาศปี 2000 เป็นแบงก์พาณิชย์ชั้นดี ติดอันดับ TOP FIVE ของเมืองไทย

"เมื่อปี 1994 ไททนุได้วาดฝันไว้ว่า เราจะต้องเป็นธนาคารขนาดเล็กที่ดีที่สุดให้ได้ภายในปี 1997 โดยในอดีตไทยทนุมีสินทรัพย์ประมาณ 50,000 ล้านบาท ในขณะที่เราตั้งเป้าไว้ที่ 120,000 ล้านบาท ซึ่ง ณ สิ้นปีที่ผ่านมาปรากฏว่า ไทยทนุมีสินทรัพย์สูงถึงเป้าที่ตั้งไว้แล้ว เท่ากับว่าแผนที่เราวางไว้เมื่อ 2 ปีที่แล้วนั้นได้บรรลุผลสำเร็จเร็วกว่าระยะเวลาที่ตั้งไว้ 1 ปี

นอกจากนั้น เรายังตั้งเป้าไว้ว่า คุณภาพของสินเชื่อเราต้องดี…นั่นคือสิ่งที่เราพูดไว้ตั้งแต่ปี '94 ซึ่งก็สอดรับกับภาวะเศรษฐกิจครึ่งปีหลังของปี '95 ที่ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้บรรดานักวิเคราะห์ชาวต่างชาติเริ่มมีการพูดถึงคุณภาพสินเชื่อ แต่เรากลับไม่กังวล เพราะเราเตรียมการมาก่อนหน้านั้นแล้วด้วยการรักษาคุณภาพของสินเชื่อและสินทรัพย์ของเราให้อยู่ในระดับ TOP3 ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งเราก็สามารถทำได้" ผู้บริหารหนุ่มกล่าวอย่างภูมิใจ และเขาเชื่อว่า ณ วันนี้ ไทยทนุได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อปี 1995 แล้ว

"ก้าวต่อไปของไทยทนุจะไม่ได้เป็นการพูดถึงธนาคารขนาดเล็กที่ดีที่สุดอีกต่อไปแล้ว แต่เรากำลังพูดถึงการเป็นหนึ่งในธนาคารชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งแผนปี 2000 เรื่องขนาดจะไม่ใช่สิ่งสำคัญอีกต่อไปแล้ว แต่เราจะก้าวเข้าสู่เรื่องของประสิทธิภาพในการทำงาน เรื่องบุคลากร เรื่องเทคโนโลยีที่จะกลายมาเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการให้บริการกับลูกค้าของเรา

ระบบโครงสร้างขององค์กรเราจะต้องกะทัดรัด และสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งเราตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี 2000 ชื่อของธนาคารไทยทนุจะติดอันดับ 1 ใน 5 ของธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของไทย" นี่คือแผนของธนาคารไทยทนุที่จะเดินต่อไปนับจากนี้

ทั้งนี้ ธนาคารไทยทนุได้มีการดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี '95 เป็นต้นมา พร้อมทั้งล่าสุดเมื่อปลายปีที่แล้ว ธนาคารได้ประกาศเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 910 ล้านบาท เป็น 2,550 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 164 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เพื่อจัดสรรให้แก่บุคคลและนักลงทุนประเภทสถาบันแบบเจาะจง (PRIVATE PLACEMENT) จำนวน 34 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 140 บาท คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 4,760 ล้านบาท และจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมอีก 125 ล้านหุ้น ในอัตราส่วน 1:1 ในราคาหุ้นละ 10 บาท พร้อมทั้งจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 5 ล้านหุ้นสำรองไว้สำหรับรองรับการใช้สิทธิซื้อหุ้นของใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกให้แก่กรรมการและพนักงานของธนาคาร

"การเพิ่มทุนครั้งนี้ จะทำให้ธนาคารไทยทนุมีเม็ดเงินเข้ามาประมาร 6,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ฐานกองทุนของธนาคารใหญ่ขึ้น และเป็นไปตามเป้าที่กล่าวข้างต้นนั้นเอง" นิติกรชี้แจง พร้อมทั้งคาดการณ์ว่า

"ผลการดำเนินงานในปีนี้จะต้องดีกว่าปีที่ผ่านมาแน่นอน เพราะเป็นผลพลอยได้จากการเพิ่มทุนในปีที่ผ่านมา ซึ่งเราอาจไม่ต้องเพิ่มทุนอีกเลยใน 2 - 3 ปีข้างหน้า"

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 ของปี '95 ที่ผ่านมา ปรากฎว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 271.172 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี '94 ที่อยู่ที่ 224.883 ล้านบาท และมีขนาดของสินทรัพย์เพิ่มขึ้น 114,876.121 ล้านบาท จากไตรมาสเดียวกันของปี '94 ที่อยู่ที่ 80,780.380 ล้านบาท เพิ่มขึ้นคิดเป็น 42.2%

ขณะที่มียอดสินเชื่อรวม 94,321.299 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี '94 ที่มียอดสินเชื่ออยู่ที่ 67,573.979 ล้านบาท และมียอดเงินฝากทั้งสิ้น 75,335.238 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.6% จากไตรมาสเดียวกันของปี '94 ที่มียอดเงินฝากรวม 59,001.780 ล้านบาท

"สาเหตุที่ผลการดำเนินงานของเราค่อนข้างดีในช่วงปีที่ผ่านมาก็เนื่องจากว่า เรามีการวางแผนจัดสำรองเงินกองทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมทั้งในช่วงที่ภาวะตลาดปกติและผันผวน โดยการเพิ่มทุนครั้งล่าสุดนี้เองที่ทำให้ธนาคารมีเงินทุนมากเพียงพอต่อการขยายธุรกิจในปี '97 ได้อย่างมั่นคง" ผู้บริหารหนุ่มแห่งไทยทนุกล่าวย้ำอย่างมั่นใจ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us