|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
คณะทำงานกำกับแบงก์เฉพาะกิจ สรุปกรอบงาน 5 ด้าน ทั้งลดเอ็นพีแอล จัดทำกฎเกณฑ์กำกับดูแล ความจำเป็นในการเพิ่มทุน ยุทธศาสตร์ระยะยาว และประสานความร่วมมือระหว่างแบงก์รัฐ จี้เอสเอ็มอี แบงก์-บตท. ส่งแผนลดเอ็นพีแอลภายในสิ้นเดือน พ.ย. คาดได้ข้อสรุปเสนอ คลังปลายปีนี้ พร้อมมอบ สวค.ศึกษายุทธศาสตร์ระยะยาว-ประสานความร่วมมือด้านไอที
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุณทร์ ที่ปรึกษาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะประธานคณะทำงาน ย่อยประสานงานและกำกับการดูแล สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เปิดเผยถึง ความคืบหน้าในการทำงานของ คณะทำงานฯ ว่า ในการประชุมครั้ง แรกที่ประชุมได้สรุปขอบเขตงานไว้ 5 เรื่อง ประกอบด้วย
1.การเร่งลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง
2.การจัดทำกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแลเพื่อสร้าง ความมั่นคง
3.การพิจารณาถึงความจำเป็น ในการเพิ่มทุน
4.การจัดทำแผน ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ทางการตลาด
และ 5.การประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจในด้านต่างๆ เช่น ด้านไอที หรือสาขา เป็นต้น โดยจะต้องได้ข้อสรุปเป็นผลงานที่ชัดเจนเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาได้ในช่วงสิ้นปี 2548 นี้
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ จะเร่งสรุป เรื่องแนวทางการลดเอ็นพีแอลเป็นอันดับแรก โดยได้สั่งให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งเตรียมข้อมูลเอ็นพีแอล 2 ส่วน คือ ตัวเลขเอ็นพีแอลตามเกณฑ์ในการจัดชั้นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และตามเกณฑ์ภายในของสถาบันการเงินแต่ละแห่งเอง ซึ่งตัวเลขในส่วนนี้ยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำมาพิจารณา ว่า หากให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนับเอ็นพีแอลตามเกณฑ์ของ ธปท. ทั้ง 100% จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง เช่น กระทบทุนเท่าไหร่ ต้องตั้งสำรองเพิ่มเท่าใด โดยให้สรุปตัวเลข ให้เรียบร้อยพร้อมกับเสนอแผนการ ลดเอ็นพีแอลให้อยู่ในช่วงระหว่าง 2% ถึงต่ำกว่า 10% ภายในสิ้นเดือน พฤศจิกายน 2548 และคณะทำงาน จะเรียกประชุมอีกครั้งในวันพฤหัสบดี ที่ 1 ธันวาคมนี้
"ให้เขาเสนอแผนการลดเอ็นพีแอลของตัวเองมาก่อน ก็อาจจะมีเรื่องของการโอนเอ็นพีแอลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์บริหาร จัดการการปรับโครงสร้างหนี้ภายในและแนวทางอื่นๆ โดยจะต้องอยู่ในกรอบที่ รมว.คลังให้นโยบายไว้ คือ แต่ละแห่งต้องลดเอ็นพีแอลให้เหลือต่ำกว่า 10% ภายใน 3 ปี และกรอบเป้าหมายของแบงก์ชาติที่ให้ธนาคารพาณิชย์ลดเอ็นพีแอลลงเหลือ 2% ในปี 2550 ดังนั้นเราจึงให้ กรอบไปว่า ให้ทำแผนลดเอ็นพีแอล ให้อยู่ในช่วง 2-10% ซึ่งในวันที่ 1 ธ.ค.นี้เราจะพิจารณาแผนการลดเอ็นพีแอลของธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อ ที่อยู่อาศัย(บตท.) เป็น 2 แห่งแรกก่อน"
ลำดับต่อไป คือ เรื่องการจัดทำเกณฑ์ในการกำกับดูแลเพื่อสร้าง ความมั่นคงให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งจะต้องปรับให้เข้ากับการดำเนินธุรกิจเฉพาะของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง เนื่องจาก มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน คาดว่าน่าจะได้แนวทางสำหรับนำมา ใช้ในเดือนมกราคม 2549 สำหรับเรื่องการเพิ่มทุนจะต้องได้ข้อสรุป ที่ชัดเจนว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจแห่งใดบ้างที่จำเป็นต้องเพิ่มทุน และรัฐบาลต้องใส่เงินเข้าไปเพิ่มทุนจำนวนเท่าใด
ส่วนเรื่องการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวนั้น ทางสำนักวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) จะรับไปดำเนินการ โดยจะพิจารณาถึงการดำเนินงานของแต่ละแห่งในอนาคต พร้อมทั้งรับผิดชอบในเรื่องการประสานความร่วมมือทางด้านไอทีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเข้าด้วยกันด้วย
|
|
 |
|
|