|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
CPR เผยกำหนดราคาเบื้องต้นกับลูกค้าใหม่ MANDO แล้ว แต่ผลสรุปชัดเจนยังบอกเวลาไม่ได้ แย้มหากได้ออเดอร์นี้จะส่งผลดีต่อการดำเนินงาน แจงกำไรไตรมาส 3 ลดลง เผยผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่ม แต่ไตรมาส 4 ดีขึ้นแน่ มั่นใจหลังยูชอนไพพ์ ที่ร่วมทุนกับเกาหลีผลิตได้ปลายปีนี้จะทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้ มั่นใจปี 49 ยังเติบได้ที่ 10-15%
นายนพดล วณิชวิศิษฏ์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีอาร์ โกมุ อินดัสเตรียล จำกัด(มหาชน) (CPR) เปิดเผยความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจากับลูกค้าของกลุ่ม MANDO ที่เคยติดต่อกันมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ขณะนี้รอผลสรุปจากลูกค้าก่อนเพราะ MANDO ต้องนำรายละเอียด ที่เป็นข้อตกลงเบื้องต้นซึ่งตกลงไว้กับ CPR เปรียบเทียบกับราคาของผู้ผลิต ที่เกาหลีด้วยว่าแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ซึ่ง MANDO จะตัดสินใจว่า จะเลือกให้ใครผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้
"เราบอกตัวเลขราคากันเบื้องต้นแล้ว หลังจากนี้เป็นหน้าที่ของเขาว่า จะตกลงกับคู่ค้าในประเทศของเขาว่าจะได้ราคาต่างจากเรามากน้อยแค่ไหน เพราะราคาที่คุยกันไว้เราให้ได้เท่านี้ หากผู้ผลิตบ้านเขาให้ต่ำกว่าของเรา เรา ก็ต้องดูก่อนว่าจะสู้ราคาได้หรือไม่ แต่ หากราคาของเราต่ำกว่าโอกาสได้ออเดอร์เพิ่มก็ต้องเป็นเราแน่นอน ก็จะช่วยให้ผลงานของเราดีด้วย" นายนพดลกล่าว
ส่วนหนึ่งเพราะต้นทุนวัตถุดิบที่ต้องแบกรับโดยเฉพาะยางพารา และเหล็กที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลต่อผู้ประกอบการที่ต้องใช้วัตถุดิบดังกล่าว ซึ่งการปรับลดราคาให้กับลูกค้าจึงต้อง พึงระวังด้วย เพราะหากมากเกินไปจนต้องแบกรับต้นทุนก็ทำได้ยาก
นายนพดลกล่าวว่า ผลงานไตรมาส 3 ที่ผ่านมา กำไรสุทธิของบริษัทลดลง เนื่องจากภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารก็เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะต้องหาลูกค้าเพิ่ม เพื่อให้มีลูกค้า ที่หลากหลาย ลดความเสี่ยงในการดำเนินงานด้วย เพราะบริษัทรับจ้างผลิตสินค้าให้กับลูกค้า เพราะหากผู้ประกอบการรถยนต์หยุดชะงักก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานเช่นกัน
"แต่เราต้องหาลูกค้า และก็จะต้องพยายามหาเข้ามาใหม่เพิ่มมาเรื่อยๆ ด้วย ส่วนราคาน้ำมันและค่าเงินนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทนัก เพราะเรามีการนำเข้าและส่งออก ค่าเงิน เลยไม่มีปัญหาเพราะถือว่าเราเจ๊ากัน การแก้ปัญหาในยามนี้คือเราต้องหาลูกค้าใหม่เข้ามาให้ได้มากที่สุดเพื่อดันยอดขายเราให้โตต่อเนื่อง"นายนพดลกล่าว
ส่วนกรณีที่รถยนต์ ซึ่งเป็นรถเก๋งขายน้อยลงเมื่อเทียบกับรถกระบะที่ยังคงขายได้ต่อเนื่อง ผลกระทบที่จะทำให้ยอดขายชิ้นส่วนของ CPR จะลดลงนั้นมีบ้างเช่นกัน แต่กระทบน้อย เพราะรถกระบะยังขายได้เรื่อยๆ ขณะเดียวกันบริษัทก็ต้อง หาลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารมั่นใจว่าผลตอบแทนการลงทุนที่ CPR มีให้แก่นักลงทุนนั้นสูงกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ที่ปัจจุบันพบว่าอยู่ในระดับต่ำ และอัตราผลตอบแทน จากเงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นในช่วงที่ผ่านมาก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีด้วย และผู้บริหารของบริษัทตั้งใจทำงานเพื่อให้ผลตอบแทนที่ดีคืนกลับให้กับผู้ถือหุ้นทุกราย
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 สิ้นสุด 30 กันยายน 48 พบว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 13.37 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 15.83 ล้านบาท ส่งผลกำไร ต่อหุ้นลดลงจาก 11 สตางค์ต่อหุ้นเหลือ 7 สตางค์ต่อหุ้น
นายนพดลกล่าวว่าผลงานไตรมาส 4 ปีนี้น่าจะดีกว่าไตรมาส 3 แต่ไม่มาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังทรงตัวและผลกระทบจากราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง พร้อมเชื่อว่าผลงานในปี 49 จะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง คือระดับ 10-15% และหาก วัตถุดิบในตลาดโลกราคาต่ำลงก็จะส่ง ผลดีด้วย ซึ่งส่วนหนึ่ง CPR น่าจะได้รับอานิสงส์ด้วย คือ บริษัท ยูชอนไพพ์ (ไทยแลนด์) ซึ่งบริษัทร่วมทุนกับเกาหลี ทดลองเดินเครื่องผลิตและคาดว่าจะผลิตได้เดือนธันวาคมปีนี้ โดยจะส่งผลดีต่อบริษัทแม่ เพราะจะช่วยลดต้นทุนการผลิตด้วย
"เราทดลองเดินเครื่องผลิตแล้ว เท่าที่ทดลองดูสองครั้งพบว่าไม่มีปัญหาอะไร และเดือนหน้าเราต้องเดินเครื่องผลิตจริงแล้ว เราก็จะลดการซื้อเหล็กจากผู้ประกอบการอื่น" นายนพดลกล่าว
|
|
|
|
|