Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2543
หุ้นไทยไร้เสน่ห์             
 


   
search resources

Economics
Investment




ข้อสงสัย ที่ว่าเมื่อภาวะเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ใน แถบเอเชีย ทำไมตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ฉลองศตวรรษใหม่เป็นต้นมาจึงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีการปรับตัวด ีขึ้นทั้งฐานะการเงิน ซึ่งวัดจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 ที่อยู่ระดับ 34,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปี 2541 อยู่ ที่ 29,536 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การเกินดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดยังเป็นบวก และดัชนีวัดด้านอื่นๆ อาทิ ดัชนีผลผลิตอุตสาห-กรรม และอัตราใช้กำลังการผลิตต่างปรับตัวดีขึ้น แล้วเหตุใดดัชนีหุ้นไทย ไม่สะท้อนสิ่งเหล่านี้!!!

อาจจะเป็นเพราะว่าสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็น Lending Indicator อย่างแท้จริง ต่างจากประเทศ ที่พัฒนาแล้ว เช่น การเคลื่อนไหวของดัชนีนิกเกอิในปัจจุบัน ที่สามารถยืนเหนือระดับ 19000 จุด สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ของประเทศ ที่มีแนวโน้มดีขึ้น

"คุณลักษณะข้อหนึ่งของตลาดหุ้นไทย คือ มักเปลี่ยนแปลงไปตาม emotional factor มากกว่า fundamental factor ซึ่งคุณลักษณะ ที่กล่าวถึงทำให้การซื้อหรือขายของนักลงทุนต่างชาติมีอิทธิพลสูงต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีดังกล่าว แม้จะมีสัดส่วนมูลค่าซื้อขายเพียงประมาณ 30% ของตลาดรวมทั้ง หมดก็ตาม" ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ (Foreign ขายหุ้น ไม่ใช่เหตุผลทางเศรษฐกิจ)

นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบตลาดหุ้นไทยกับตลาดอื่นในภูมิภาคนี้ ยังมีความด้อยอยู่ โดยเฉพาะจำนวนสินค้า และความหลากหลายของสินค้า ที่จำกัด อีกทั้งมี Growth Stock ให้เลือกน้อย อาทิ หุ้น ที่กำลังได้รับความนิย มในกลุ่มเทคโนโลยี และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประเทศอื่นๆ มีหุ้นดังกล่าวให้เลือกมากกว่า ที่สำคัญผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนยังขาดทุนอยู่มาก มีเพียง อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เท่านั้น ที่ด้อยกว่าตลาดหุ้นไทย

อีกทั้งการลดลงของดัชนีหุ้นไทย ที่ผ่านมาเกิดขึ้นจากตลาดหุ้นแห่งอื่น ในภูมิภาคเดียวกันมี performance ของตลาดที่ดีกว่า ส่งผลให้บรรดาผู้จัดการกองทุนต่างปรับเพิ่มน้ำหนักตลาดหุ้นอื่นๆ เช่น มาเลเซี ย ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ เมื่อปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนตลาดอื่นก็ต้องลดน้ำหนักของตลาดหุ้นไทย เพราะผลตอบแทนริบหรี่ ปัจจัยสำคัญ ที่นักลงทุนต่างชาตินำมาพิจารณาสำหรับการลงทุน คือ อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยยังต่ำกว่าระดับ Investment Grade

"การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ จะมีการทำ risk coverage manage- ment คือ ลงทุนทั้งหุ้นสามัญ ลงทุนทั้งในตราสารอนุพันธ์ จึงอาจมี position ของ opt ion หรือ future ที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดหุ้นไทย ซึ่งทำสัญญาไว้ใน ตลาด หุ้นประเทศอื่นในแต่ละช่วงเวลา ที่จะครบกำหนด อาจจะกระทบต่อตลาดหุ้นไทยได้ไม่ว่าจะทางบวกหรือทางลบ"

จากการที่ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ได้รับปัจจัยลบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดครั้งล่าสุด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา และยังคาดว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ในปีนี้อาจจะมีการปรับขึ้นได้อีกนั้น จึงคาดหมายกันว่าใน ระยะปานกลาง และยาว น้ำหนักการกระจายพอร์ตการลงทุนของกองทุนต่างประเทศจะมุ่งไปสู่ภูมิภาคอื่นโดยตลาดเกิดใหม่ในละติน อเมริกา

เป็นที่น่าสนใจเมื่อตลาดหุ้นในเอเชีย มีดัชนีปรับขึ้นมากแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าตลาดหุ้นไทย จะมีดัชนีปรับลดลงในปีนี้ ตรงกันข้ามปัจจัยทางเศรษฐกิจของไทย ยังมีน้ำหนักเกื้อหนุนให้ดัชนีหุ้นไทยปีนี้ปรับเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้นยังเป็นทางเลือก ที่เหมาะสมในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่ต้องประเมินความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นด้วย

นักลงทุนไทยมักเน้นการลงทุนในระยะสั้น ดังนั้น การเกาะติดข่าวสารจึงมีความจำเป็น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านอุตสาหกรรม ที่อาจจะมีผลต่อบริษัทจดทะเบียนหรือหลักทรัพย์ ที่ลงทุน เช่น ภาวะ ที่กระแสธุรกิจอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีกำลังมาแรง ทำให้หุ้นในกลุ่มสื่อสาร และอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความสนใจ และปรับตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก

ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าปัจจุบันประเทศไทยยังเป็นรองประเทศอื่นของการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และยังไม่มีธุรกิจด้านไฮเทคโนโลยีอย่างแท้จริง ดังนั้น การปรับขึ้นของดัชนีหุ้นไทยโดยเฉพาะช่วงสิ้นศตวรรษ ที่ 19 จึงมาจาก กระแสในต่างประเทศเป็นปัจจัยหลัก

นั่นหมายความว่าคุณลักษณะของตลาดหุ้นไทยจากนี้ไป อาจจะมีทั้งข้อเท็จจริง และการหลอกลวงในอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับอินเตอร์เน็ต อีกเป็นระยะๆ นักลงทุนควรให้ความสนใจในประเด็นดังกล่าว ขณะเดียวกันการตัดสินใจลงทุนควรติดตามปัจจัยเชิงมหภาคด้วย เพื่อความไม่ตื่นตระหนกเมื่อมีปัจจัยเหนือการควบคุมเปลี่ยนแปลงไป

โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาดหุ้นต่างประเทศ เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงในบางครั้งไม่ส่งผลกระทบเชิงมหภาคต่อภาวะเศรษฐกิจ และตลาดหุ้นไทย ถ้ามีความแตกตื่นเหมือนเช่นอดีต คำว่า "แมงเม่าบินเข้ากองไฟ" จะยังคงบินถลาลม และพร้อมจบชีวิตลงหน้ากระดานหุ้น ที่ไหนสักแห่งอีกต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us