|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ปตท. เดินหน้านำ 2 โรงกลั่นน้ำมันเข้าตลาดหุ้นในปีหน้า มีมาร์เกตแคปรวมทั้งสิ้น 1.4 แสนล้านบาท โดยโรงกลั่นน้ำมันระยองเตรียมยื่นไฟลิ่งธ.ค.นี้ และเทรดหุ้นมี.ค.-เม.ย. 49 โดยปตท.ลดสัดส่วนการถือหุ้นเหลือ 50% ส่วนโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมฯ จ่อคิวเข้าตลาดฯปลายปี 49 ปตท.จะลดสัดส่วนการถือหุ้นจาก 36% เหลือ 25% "ประเสริฐ" เมินใส่เงินค่าหุ้นทีพีไอก่อน 29 พ.ย.นี้ อ้างรอฟังคำสั่งศาลฎีกาก่อน
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากภาวะตลาดหุ้นในช่วงนี้จะค่อนข้างผันผวน แต่ปตท.ยังยืนยันที่จะกระจายหุ้นบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC) เหมือนเดิม โดยจะยื่นไฟลิ่งในช่วงธ.ค.นี้ และจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประมาณ มี.ค.-เม.ย. 2549 ซึ่งปตท.จะลดสัดส่วนการถือหุ้นปัจจุบัน 100% เหลือ 50% โดยมีมูลค่าการระดมทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท จากมูลค่าตลาดรวม (มาร์เกตแคป)ของ RRC 7 หมื่นล้านบาท
ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ส่วนหนึ่ง จะนำไปใช้ลงทุนในการปรับปรุงโรงกลั่นเพื่อผลิตน้ำมันให้ได้มาตรฐานยุโรประดับ 4 (ยูโร 4) รวม ทั้งจะทำ Synergy กับบมจ.อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) (ATC) ในโครงการขยายโรงอะโรเมติกส์แห่งที่ 2 ทำให้ ATC ใช้เงินลงทุนลดลง ขณะที่เม็ดเงินส่วนใหญ่จากการกระจายหุ้น RRC นั้นจะบันทึกเป็นกำไรสุทธิของปตท.ในปีหน้า
ทั้งนี้คาดว่าโรงกลั่นน้ำมันระยองปีนี้จะมีกำไรสุทธิ 7-8 พันล้านบาท ขณะที่ภาระหนี้สินเหลืออยู่ 500-600 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนโรงกลั่นของบริษัทสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC) ที่ ปตท.ถือหุ้นอยู่ 36% และคาลเท็กซ์ถือหุ้นใหญ่ 64% นั้น คาดว่าโรงกลั่น SPRC จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปลายปี 2549 ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของปตท.ลดลงเหลือ 25% ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขการก่อตั้งโรงกลั่นน้ำมันในไทยที่รัฐกำหนดให้มีการกระจายหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
คาดว่ามาร์เกตแคปของ SPRC จะใกล้เคียงกับมาร์เกตแคปของ RRC ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเป็นโรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังการ กลั่นเท่ากันคือ 1.5 แสนบาร์เรล/วัน
ก่อนหน้านี้ ปตท.มีแผนที่จะนำโรงกลั่น RRC ควบรวมกับ SPRC ก่อนนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ขนาดของธุรกิจใหญ่ขึ้น และดึงดูดนักลงทุน แต่สุดท้ายก็ต้องล้มดีลดังกล่าวไป เนื่องจากติดปัญหาว่าคาลเท็กซ์ไม่ต้องการที่จะนำโรงกลั่น SPRC เข้าตลาดหุ้นไทย
สำหรับแนวโน้มค่าการกลั่นในปี 2549 ยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากปริมาณการใช้น้ำมันยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่กำลังการกลั่นน้ำมันไม่ได้เพิ่ม เพราะโรงกลั่นไม่ได้มีกำลังขยายการผลิตเข้ามาใหม่ โดยเฉพาะในเอเชียแปซิฟิก ทำให้มีการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันสูงเกิน 90% ซึ่งการขยายโรงกลั่น หรือโรงกลั่นใหม่ จะใช้เวลาประมาณ 2 ปี อย่างไรก็ตาม ค่าการกลั่นยังทรงตัวในระดับสูงต่อไป เพราะหากค่าการกลั่นต่ำกว่า 6-7 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โรงกลั่นใหม่ๆ ก็อาจจะไม่เกิดขึ้นเพราะจะไม่คุ้มทุน
รอฟังคำสั่งศาลฎีกาชี้ขาดซื้อหุ้น TPI
นายประเสริฐ กล่าวถึงกรณีศาลล้มละลายกลางจะอ่านคำสั่งศาลฎีกาคำร้องของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมิกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) ที่ขอสิทธิในฐานะผู้บริหารลูกหนี้ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน TPI ก่อนกลุ่มนักลงทุน อื่น โดยศาลจะอ่านคำสั่งในวันที่ 29 พ.ย.นี้ว่า ปตท.จะยังไม่ใส่เงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ TPI จำนวน 2 หมื่นล้านบาท ก่อนวันที่ 29 พ.ย.อย่างแน่นอน เพราะต้องการรอฟังคำสั่งศาลฎีกาก่อน และรอให้รายย่อยจองซื้อหุ้น TPI ด้วย หากศาลฯมีคำสั่งให้นายประชัยสามารถซื้อหุ้นก่อนได้ และมีเงื่อนเวลาในการหาเงินทุนมาซื้อหุ้นนานแค่ไหน ก็คงจะปรึกษากับผู้บริหารแผนฯ ก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่หากศาลมีคำสั่งให้บุคคลใดก็ได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน TPI ก็คงจะดำเนินการใส่เงินเพิ่มทุนได้ทันที
|
|
|
|
|