Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 พฤศจิกายน 2548
ไอบีเอ็มชี้ทิศทางอุตฯ ไอทีปี 2549 องค์กรต้องพึ่งไอทีดันธุรกิจเติบโต             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย)

   
search resources

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
ICT (Information and Communication Technology)




ไอบีเอ็มชี้ทิศทางอุตสาหกรรมไอทีไทยปี 49 มีทั้งปัจจัยบวกจากแรงหนุนภาครัฐ และปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ระบุธุรกิจไทยต้องใช้ไอทีมาช่วยผลักดันธุรกิจเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยอินโนเวชัน พร้อมรับมือกับการแข่งขันที่หนักหน่วงทั้งคู่แข่งในประเทศและบริษัทข้ามชาติ เน้นแนวทางให้ธุรกิจลงทุนไอทีบนพื้นฐาน ง่าย ไว และไม่สะดุดหยุดนิ่ง

นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางอุตสาหกรรมไอทีไทยปี 2549 ทุกองค์กรจะให้ความสำคัญกับการสร้างการเจริญเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยอินโนเวชัน ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุนทางด้านไอทีภายในองค์กรค่อนข้างมากในปีหน้า โดยแนวทางที่ไอบีเอ็มแนะนำให้กับธุรกิจไทยให้ปรับตัวเพื่อสร้างคุณค่าทางธุรกิจบนพื้นฐานง่าย (IT Simplification) ไว (Responsiveness) และไม่สะดุดหยุดนิ่ง (Resiliency)

ทั้งนี้ในแต่ละแนวทางที่ไอบีเอ็มนำเสนอให้แต่ธุรกิจนั้น ในด้านความง่าย คือการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการไอทีที่เน้นความสะดวก ไม่ซับซ้อน และคุ้มค่าทางธุรกิจสูงสุด เพื่อให้องค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีไปสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจหลัก

ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง Server Consolidation องค์กรต่างๆ จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมากเพื่อลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการระบบเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ ระบบเครือข่าย และซอฟต์แวร์ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญของกระบวนการจัดการบริหารข้อมูลทางธุรกิจตลอดทั้งวัฏจักร และการให้บริการเอาต์ซอร์สเชิงกลยุทธ์ โดยลูกค้าจะยกบริการไอทีให้บริษัทพาร์ตเนอร์เป็นผู้ดูแลแทนที่เพื่อให้เกิดความง่ายในการทำธุรกิจหลักมากที่สุด

สำหรับเรื่องของความไวและไม่สะดุดหยุดนิ่งนั้นไอบีเอ็มคาดการณ์ว่าองค์กรจะมีรูปแบบการดำเนินที่องค์กรต้องมีความสามารถในการตอบสนองกับทุกความต้องการและการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่คาดไม่ถึง และไม่สะดุดหยุดนิ่งแม้ในวิกฤตการณ์ฉุกเฉิน

แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นคือองค์กรธุรกิจจะให้ความสำคัญเรื่องของ Services-Oriented Architecture (SOA) ทั้งนี้ไอบีเอ็มมีศักยภาพรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญทางด้านขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ การพัฒนามาตรฐานเว็บเซอร์วิส ความพร้อมในการนำเสนอโครงสร้างพื้นฐานไอที

ปัจจุบันไอบีเอ็มมีบริษัทคู่ค้ามากกว่า 100 ราย ที่ร่วมนำเสนอโซลูชันด้าน SOA และไอบีเอ็มยังคงเดินหน้าวิจัยพัฒนาทางด้าน SOA ด้วยเงินทุนมากกว่าหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี จนถึงขณะนี้ไอบีเอ็มได้จดสิทธิบัตรเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ SOA แล้วมากกว่า 300 รายการ

ในส่วนการทำให้ธุรกิจไม่เกิดการสะดุดหยุดนิ่ง ส่วนสำคัญคือเรื่องของความปลอดภัย ทางไอบีเอ็ม โกลบอล เซอร์วิส ให้บริการเต็มรูปแบบเพื่อตอบรับความต้องการความปลอดภัยจากอันตรายทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากการวิเคราะห์บ่งชี้ว่าการโจมตีแบบเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อหากำไรได้มุ่งหมายไปที่องค์กร อย่างหน่วยงานราชการ สถาบันการเงิน สาธารณสุข และบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับธุรกิจต่างๆ ที่จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของการรักษาความปลอดภัยในปี 2549

"องค์กรต้องทบทวนมาตรการป้องกันระบบการทำธุรกรรม และกระบวนการทางธุรกิจเดิมเพื่อสามารถวางมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสัญญาณ โครงสร้างระบบ และสามารถรักษาชื่อเสียงและการเงินของบริษัทเอาไว้ได้ โดยองค์กรสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีระบบความปลอดภัยชั้นสูงมาช่วยองค์กรจัดการแก้ปัญหาให้เกิดความมั่นใจสูงสุด"

นางศุภจียังได้กล่าวถึงปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่มีผลต่ออุตสาหกรรมไอทีไทยในปี 2549 ว่า ปัจจัยบวกที่จะมีผลต่ออุตสาหกรรมไอทีไทยจะมาจากแรงผลักดันของภาครัฐ อย่างเช่นการสนับสนุนเรื่องคอมพิวเตอร์ 250,000 เครื่องของกระทรวงศึกษาธิการ การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ อาทิ เทคโนโลยี 3G และโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศอย่างโครงการเมกะโปรเจกต์ ทั้งหมดนี้คือปัจจัยบวกจากภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนตลาดไอทีให้เติบโตมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบวกจากภาคเอกชน เนื่องจากบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย จะเป็นแรงผลักดันให้บริษัทเอกชนในประเทศไทยต้องมีการลงทุนทางด้านไอทีเพื่อให้สามารถรับการแข่งขันกับคู่แข่งต่างชาติที่เข้ามาในประเทศได้

ทางด้านปัจจัยลบยังคงมาจากสภาวะทางด้านเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราคาน้ำมันที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินลงทุนเรื่องของไอทีค่อนข้างมาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us