Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 พฤศจิกายน 2548
ชี้ช่องเถ้าแก่ยุคใหม่ 2006 สร้างกำไรด้วย eCommerce             
 


   
search resources

E-Commerce




- กูรูแนะทิศทางปีจอ เถ้าแก่ทันสมัยไม่ควรพลาด รุกช่องทาง “eCommerce”
- ทุกส่วนร่วมมือสนับสนุนธุรกิจสร้างกำไร เติบโตสู่เป้าหมายแบบยั่งยืน
- เน้นเรียนรู้อย่างฉลาด เริ่มวิธีคิดให้ถูกทาง ศึกษาชัดเจนก่อนลงมือ
- ค้นหาคำตอบการเริ่มต้นธุรกิจ ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ความเสี่ยงที่จะทำให้ล้มเหลว และกรณีศึกษาน่าสนใจได้ ณ ที่นี้

**************
การปรับตัวของผู้ประกอบการเกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบ เมื่อปัจจัยลบรุมเร้าเศรษฐกิจในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากความไม่สงบในภาคใต้ สึนามิ ไข้หวัดนก โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ประกอบกับการแข่งขันที่เข้มข้นดุเดือดในหลายๆ ตลาด

สิ่งหนึ่งที่ปรากฎ คือ ความตื่นตัวของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะใช้ช่องทาง eCommerce (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) ในการหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อสร้างรายได้และทำธุรกิจมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และมากขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ส่วนหนึ่งเห็นได้จากการตอบรับที่ดีเมื่อมีการจัดสัมมนาหรือให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งจากองค์กรต่างๆ ที่ร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในวงการ สถาบันการศึกษา เอกชน และภาครัฐ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ eCommerce เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้องยั่งยืน

แนะ 4 ปัจจัยหลัก

สิทธิเดช ลีมัคเดช เจ้าของเว็บไซต์ BananaClick.com ผู้เชี่ยวชาญในวงการ eCommerce ได้ร่วมกับศูนย์ศึกษาสาทรธานี มหาวิทยาลัยรังสิต จัดสัมมนาเรื่อง “อนาคตดอทคอมไทยในปี 2006” เมื่อเร็วๆ นี้ เพราะเห็นว่าในยุคนี้ซึ่งเป็นยุคที่ไอทีครองเมือง เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ประกอบกับการกลับมาให้ความสำคัญกับ eCommerce หรือดอทคอมไทย

สิทธิเดชกล่าวว่า ในปีหน้าแนวโน้มการทำธุรกิจหรือหารายได้ของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งต้องปรับตัวจากผลกระทบหลายๆ ด้านที่เกิดขึ้นมาแล้วในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในหลายธุรกิจ การผันผวนของต้นทุนการผลิตและค่าขนส่ง ที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยลดต้นทุน และการหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสและลดความเสี่ยงในกรณีที่ช่องทางเดิมเกิดปัญหา

โดยแนะนำผู้ประกอบการให้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการใช้ช่องทาง eCommerce ประกอบด้วย 4 ข้อหลัก ได้แก่ ข้อแรก ธุรกิจหรือสิ่งที่ตลาดมีความต้องการ สำหรับธุรกิจในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ จะยังโดดเด่นไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ เพราะเทคโนโลยีสามารถช่วยลดต้นทุนและขยายกิจการได้

นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิง การพัฒนาระบบการศึกษา eLearning รวมทั้ง การรับออกแบบและประชาสัมพันธ์เว็บไซต์จะหันมาคึกคัก และเกิดรูปแบบใหม่ๆ ขณะที่ธุรกิจต่างๆ ซึ่งทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้นมีแนวโน้มเติบโตเช่นกัน เช่น สินค้าและบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพ สมุนไพรนาโนชีวภาพ หุ่นยนต์ช่วยงานบ้าน ซึ่งเริ่มมีผู้ประกอบการผลิตออกจำหน่ายและได้รับความสนใจจากตลาด

ข้อสอง ผู้ประกอบการต้องมีความสามารถ นอกจากเมื่อศึกษาความต้องการของตลาดและสนใจจะทำการค้าด้วย eCommerce แล้ว ผู้ประกอบการยังต้องรู้ว่ามีทักษะความเชี่ยวชาญในสินค้าหรือบริการมากน้อยเพียงใด ต้องศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการค้าในช่องทาง eCommerce ให้เข้าใจถ่องแท้ เพราะยังมีข้อจำกัดและความเสี่ยงหลายด้าน เช่น ปัญหาการขโมยบัตรเครดิตของผู้อื่นมาซื้อสินค้า การเจรจาต่อรอง การใช้ภาษาเพื่อบรรยายข้อมูลต่างๆ สื่อถึงลูกค้า การถ่ายภาพสินค้าให้ดูน่าสนใจ และการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์

ข้อสาม โอกาส เพราะการทำเว็บไซต์ไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนว่าจะมีลูกค้า หรือใช้เวลาเท่าไรในการคืนทุน เช่น เว็บไซต์ www.BananaClick.com มีลูกค้าจากอินโดนีเซียติดต่อเข้ามาใน 3 เดือนแรก และจากอิหร่านใน 6 เดือนต่อมา eCommerce จึงเป็นเพียงโอกาสในการทำการค้า ทำให้ผู้ทำเว็บไซต์ส่วนใหญ่ เมื่อลงทุนมากแต่ยังไม่กำไรจึงมักจะตัดสินใจล้มเลิกไปก่อนที่โอกาสจะมาถึง

ข้อสุดท้าย เงินทุนสนับสนุน มีความจำเป็นไม่ต่างจากร้านร้านทั่วไป เพราะการทำเว็บไซต์ บางครั้งต้องใช้เวลา งบประมาณในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้จักและเชื่อมั่นกับลูกค้า ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณาความสามารถในการลงทุน หากมีน้อย สามารถใช้การประกาศขายสินค้าจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นตลาดกลาง (Market Place) เช่น www.Thaisecondhand.com หรือ การประมูลขายสินค้าใน www.Ebay.com ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างเว็บไซต์และค่าใช้จ่ายต่ำ

สิทธิเดชกล่าวทิ้งท้ายโดยย้ำว่า อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงและควรจะทำอย่างยิ่ง โดยเน้นการสร้างแบรนด์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อดึงดูดใจลูกค้าตั้งแต่ครั้งแรก รวมทั้งคุณภาพมาตรฐานของสินค้าเพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำและกลายเป็นลูกค้าประจำ ประกอบกับการนำความคิดสร้างสรรค์มาสร้างจุดแข็งด้านความแตกต่างและคุณค่า โดยเฉพาะสิ่งใกล้ตัวอย่างประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจมากมาย

ย้ำแนวโน้มสดใส

วิชัย วรวนาวงศ์ บรรณาธิการนิตยสาร Chip กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ชี้ให้เห็นการเติบโตของ eCommerce ไทยในปีหน้า นอกจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 8 ล้านคนแล้วในปัจจุบัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เห็นง่ายๆ จากนักเรียนนักศึกษา รวมทั้งคนทำงานที่จะต้องใช้มากขึ้นแล้ว

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีราคาถูกลง ประกอบกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ eCommerce มีพัฒนาการให้ใช้ง่าย สะดวกในการเรียนรู้และใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้างร้านค้าออนไลน์ จนถึงระบบการชำระเงินผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ ล้วนมีสนับสนุนในทิศทางที่ดี

นอกจากนี้ การส่งเสริมของภาครัฐ โดยกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ ออกกฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (eCommerce ) เจ้าของเว็บไซต์ ต้องจดทะเบียนกับกรมฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับทั้งคู่ค้าและลูกค้า อีกทั้งพยายามจะยกระดับคุณภาพ eCommerce ด้วยการออกใบรับรอง

วิชัยกล่าวถึงสินค้าและบริการที่มีแนวโน้มจะได้รับความนิยมสำหรับช่องทาง eCommerce ในปีหน้าว่า โดยภาพรวมจะเกี่ยวกับบริการต่างๆ โทรคมนาคม การสื่อสาร เช่น บริการธนาคารพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือ การชำระค่าสาธารณูปโภค การจองตั๋วคอนเสิร์ตหรือภาพยนตร์ ตั๋วเดินทางและที่พัก ประกันภัย หนังสือ และอุปกรณ์ไอที

อย่างไรก็ตาม เน้นว่าสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจอย่างมาก คือ การออกแบบเว็บไซต์ให้เข้าชมได้เร็ว ชื่อโดเมนเนมที่เหมาะสม การออกแบบโดยเฉพาะหน้าแรก (homepage) ให้น่าสนใจและเนื้อหา (content) ที่ดี รวมทั้ง การใช้งานที่ตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย เช่น การจัดหมวดหมู่เนื้อหาให้ค้นง่าย ระบบธุรกรรมสะดวกและปลอดภัย เป็นต้น

ม.กรุงเทพเชื่อมาถูกทาง

ดร.ลักคณา วรศิลป์ชัย คณบดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดสัมมนาเรื่อง “เถ้าแก่ยุคใหม่ สร้างกำไร On Net” เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดย่อมรู้จักใช้ช่องทาง eCommerce ในการทำธุรกิจ

เป้าหมายหลัก การส่งเสริม eCommerce เพราะเป็นการเริ่มต้นและเรียนรู้การทำธุรกิจที่ง่ายที่สุด ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ 1.เงินทุน และ2.ความกล้าที่จะทำธุรกิจ อุปสรรคสำคัญที่พบจากนักศึกษาและผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ที่มาเรียนรู้การทำธุรกิจจากมหาวิทยาลัย และต้องการจะเริ่มทำธุรกิจ แต่ไม่สามารถทำได้ รวมทั้งทายาทธุรกิจ ต้องเข้าใจว่าการมีเว็บไซต์หรือช่องทาง eCommerce ช่วยให้ธุรกิจก้าวหน้าและยั่งยืนได้อย่างไร และหาทางใช้ประโยชน์ให้ได้

บันไดเถ้าแก่ออนไลน์

ฉัตรชัย ทวีเดช กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีบิสสิเนส อัลไลแอนซ์ จำกัด (www.e-Business.co.th) และผู้ก่อตั้งเว็บ HotelThailand.com กล่าวถึงการเริ่มต้นเข้าสู่การทำ eCommerce ว่าสำหรับผู้ที่อยู่ในขั้นเริ่มต้นและกลาง ซึ่งพอจะมีความคิดแล้วจะต้องการขายอะไร แนะนำให้เข้าไปเลือกใช้บริการใน www.tarad.com , www.thai2hand.com หรือ www.pantip.com เพื่อเป็นตัวอย่างให้ศึกษาว่ามีการขายสินค้าอะไรในแต่ละหมวดหมู่

ถ้าหมวดหมู่ไหนมีร้านค้ามาก อาจจะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสนใจมาก หรือมีร้านค้าน้อย อาจจะเป็นเพราะมีตลาดเล็ก หรือยังไม่ค่อยมีใครกล้าทำ รวมทั้งการดูรายละเอียดของร้านค้าว่าโฆษณาหรือเขียนข้อความกันอย่างไร โดยสามารถใช้โปรแกรมฟรี ซึ่งมีระบบการจ่ายเงินรองรับและนโยบายการคืนสินค้าเป็นจุดเริ่มต้นให้ทดลอง

จากนั้นจึงเลือกโดเมนเนม ซึ่งมีทั้ง .com .net .biz และ .info โดยตรวจสอบได้จาก www.checkdomain.com ว่ามีใครใช้หรือยัง โดยคำนึงว่าเหมือนกับการตั้งชื่อต้องจำง่ายและสัมพันธ์กับสิ่งที่ทำ โดยแนะนำให้จดกับผู้รับจดทะเบียนรายใหญ่ เช่น easyspace.com , godaddy.com ค่าบริการประมาณ 10 เหรียญสหรัฐ หรือ netsol.com ค่าบริการประมาณ 40 เหรียญสหรัฐ

ตามด้วยการซื้อพื้นที่ server สำคัญมาก อย่าเลือกเพราะราคาถูก ควรเลือกบริษัทที่มีชื่อเสียง ถ้าทำตลาดในไทยสามารถเลือกใช้ของไทยเพราะจะรวดเร็ว แม้ว่าจะล่มบ่อยเพราะระบบยังไม่ดีพอ

แล้วตามด้วย การออกแบบ ปัจจุบันมีเว็บไซต์สำเร็จรูป เช่น readyplanet..com ซึ่งมี template ให้เลือก หรือ mambosolve.com รับออกแบบ ต่อมาคือการทำ eMarketing ต้องรู้วิธีการที่ลูกค้าเข้ามาหาสินค้าหรือร้านค้า ซึ่งโดยส่วนใหญ่ใช้ search engine เช่น google ,yahoo โดยเรียนรู้ได้จาก www.seo.in.th ที่มีการพูดคุยให้ความรู้เกี่ยวกับ search engine

ฉัตรชัยย้ำว่า การทำเว็บหัวใจคือการตลาด และใครทำก่อนได้เปรียบ เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการต้องเน้นหนักในเรื่องนี้และมีความสามารถ หากให้ฝ่ายเทคนิคหรือผู้ออกแบบเว็บไซต์อาจจะทำให้ได้เว็บสวยแต่โหลดช้าหรือไม่เหมาะกับการค้าขาย รวมทั้งการดูแลเรื่องระบบจัดส่ง ซึ่งปัจจุบันสำหรับการทำตลาดในประเทศใช้บริการของไปรษณีย์ไทยได้ ต้องสร้างความเชื่อมั่นด้วยการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจ และบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าให้ดี ทั้งนี้ สามารถหาข้อมูลเพิ่มได้จาก www.ThaieCommerce.org

หนทางสู่ความยั่งยืน

นาวิก นำเสียง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซันเดย์ โซลูชั่นส์ จำกัด (www.sundae.co.th) ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ www.yumyai.com กับ www.iasiasurvey.com และอดีตผู้บริหารเว็บไซต์ www.thaiticketmaster.com กล่าวถึง การเป็นเถ้าแก่ออนไลน์ที่แข็งแรงว่า แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.ทำอย่างไรให้ยั่งยืน และ2.ลักษณะของเถ้าแก่ออนไลน์ที่ยั่งยืนควรเป็นแบบไหน

ส่วนแรก แบ่งเป็น 5 ข้อ 1.เริ่มคิดทำธุรกิจออนไลน์ได้อย่างไร 2.มีวิธีวัดผลลัพธ์ความสำเร็จได้อย่างไร 3.

Boosting convertion rate การมีผู้ชมเว็บมากไม่ได้หมายความว่าจะยั่งยืนหรือรวย จะมีวิธีใดเปลี่ยนจากผู้ชมมาเป็นรายได้ 4. ออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง ทำอย่างไรให้คนรู้จักเว็บของเรา จะมีเครื่องมืออะไรบ้างที่เขาใช้กัน และ5.การบริการลูกค้าบนอินเทอร์เน็ตว่าทำอะไรได้บ้าง

ข้อแรกเริ่มตั้งแต่การหาโอกาส โดยวิธีง่ายๆ คือ การมองจากตัวปัญหา เช่น ก่อนทำธุรกิจขายตั๋วออนไลน์ เรามาดูแล้วว่าอะไรคือปัญหาในการซื้อตั๋วออนไลน์ ซึ่งเดิมผู้จัดงานมีการขายตั๋วผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสแต่มีปัญหาคนซื้อตั๋วหาซื้อยาก เราจึงมองว่าอินเทอร์เน็ตจะช่วยได้หรือไม่ เราจึงดูเซ็กเม้นต์กลุ่มเป้าหมายว่าควรจะเข้าไปเจาะกลุ่มไหนด้วยการทำออนไลน์ครั้งแรก จากนั้นมาดูทรัพยากรภายในองค์กรว่าเพียงพอหรือไม่ เช่น BCI มีคนที่มีประสบการณ์การจัดงานต่างๆ แต่ไม่พร้อมด้านเทคโนโลยี จากนั้นดูว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นภายนอกมีอุปสรรรคหรือไม่ รายได้มาจากทางใด แล้วจึงตัดสินใจว่าควรทำธุรกิจนั้นหรือไม่ นี่คือจุดเริ่มแรก ที่ต้องตีโจทย์ให้แตก จึงจะทำให้โอกาสยั่งยืนมีมากกว่าล้มเหลว

ข้อที่สอง วิธีวัดผลสำเร็จ โดยดูจากจำนวนผู้เข้าชมเว็บของเรา (visitor) เช่น sanook.com มีผู้เข้าชมวันละหลักแสนคน ซึ่งจะวัดว่าผู้เข้าชมสนใจจุดไหนได้ หรือจากการวัดต้นทุนต่อคลิก เมื่อไปลงโฆษณาที่ไหนแล้วได้ผลมากน้อยเพียงใดคุ้มค่าหรือไม่ เมื่อคลิกเข้ามาแล้วซื้อบริการมากน้อยเท่าไร เพื่อประเมินว่าเว็บเรามีความน่าสนใจแค่ไหนและควรปรับปรุงส่วนไหน นำไปสู่ลดต้นทุนต่อคลิกให้น้อยลงแล้วกลับมาเป็นรายได้มากขึ้น

ข้อสาม Boosting convertion rate จะทำให้แยกแยะกลุ่มผู้เข้าชมได้ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ 1.ผู้สนใจ 2.กลุ่มมุ่งหวัง 3.กลุ่มลูกค้า และ4. กลุ่มเลิกใช้บริการ โดยมีวิธีการที่จะทำให้ผลลัพธ์หรือมาตรวัดดีขึ้น ประกอบกับเทคนิค landing page ซึ่งจะต้องทำให้กลุ่มมุ่งหวังที่เข้ามาในหน้านี้กลายเป็นกลุ่มลูกค้า เมื่อคลิก ad banner มีอะไรที่ต้องปรับปรุงอีกบ้างให้ดีขึ้นเพื่อแปลงจากแค่ landing page เป็นรายได้ให้ได้ ซึ่งโฆษณาที่ไปลงในแต่ละแห่งจะต้องเลือกให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งแตกต่างกัน ไม่ควรจะใช้ ad banner เดียวกัน เช่น เว็บ manager.co.th อาจจะเป็นกลุ่มที่เป็นผู้ใหญ่ เว็บ sanook.com เป็นกลุ่มเด็กลงมาอ่านแล้วรู้สึกสนุก เมื่อชอบก็เข้ามาคลิกซื้อสินค้าหรือบริการ

สำหรับการเปลี่ยนจากผู้ชมมาเป็นลูกค้าต้องทำให้เกิดความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ประกอบไปด้วย เรื่องแบรนด์หรือโดเมนเนม เรื่องความปลอดภัย เช่น โลโก้ของวีซ่า เอสเอสแอล สมาชิกสมาคมที่น่าเชื่อถือ เลขทะเบียนการค้า ภาพของร้านเรา การใช้คนโต้ตอบด้วยห้อง chat หรือ email สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่ม convertion rate เพราะความไม่เชื่อถือไม่มั่นใจของผู้ซื้อเป็นปัญหาใหญ่ของการค้าขายออนไลน์ในไทยจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เน็คเทค)

ข้อสี่ เครื่องมือในการทำตลาดออนไลน์ที่จะทำให้ลูกค้ารู้จักเรามีทั้งแบบที่ดึงลูกค้าใหม่ คือ search engine ซึ่งมี 2 แบบ แบบแรก optimization อยู่ด้านซ้ายมือเมื่อเข้าไปใน search engine ไม่ต้องเสียค่าบริการแต่ต้องใช้ความสามารถทำให้อยู่ในอันดับต้นๆ เมื่อผู้ค้นหาด้วย keyword ซึ่งต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการใช้เทคนิค แบบสอง โฆษณาแบบ pay per click เป็นข้อความ อยู่ด้านขวามือของเว็บ search engine ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายเมือมีผู้ชมคลิกโฆษณานั้น ถ้าไม่คลิกไม่ต้องจ่าย โฆษณาแบบนี้จะดีเพราะเกิดจากความสนใจของคนๆ นั้น โดยมีรายละเอียดในเชิงกลยุทธ์มาก และควรจะใช้เครื่องมือ email marketing แบบ opt-in ซึ่งทำเป็นช่องรับสมัครสมาชิกที่สมัครใจจะรับข่าวสารจากเรา แม้จะต้องใช้ระยะเวลาแต่ผู้รับยินดี

ข้อสุดท้าย คือการบริการลูกค้า แนะนำเครื่องมือง่ายๆ โดยการมีห้องchat , web board ,forum ให้ลูกค้าค้นหาคำตอบต่างๆ ได้ สมาชิกแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อทำให้เกิดชุมชนและลดต้นทุนหรือประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการได้มากกว่าการใช้โทรศัพท์หรืออีเมล

อย่างไรก็ตาม การเลือกตลาดในออนไลน์ นาวิกย้ำว่า ผู้ประกอบการควรจะเลือกกลุ่มเฉพาะ (niche market) ซึ่งมี 2 ส่วนคือในแง่สินค้าหรือบริการ เช่น เจาะลึกเปิดขายเฉพาะ MP3 ไม่ใช่ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่าง กับในแง่กลุ่มเป้าหมาย เช่น ระดับบน หรือระดับกลาง รวมทั้ง ต้องวางตำแหน่งทางการตลาดหาจุดแข็งให้พบ

“ผมไม่ได้ทำเว็บที่เจาะตลาดระดับโลก แต่เป็นนิชในตลาดโลกได้ เพราะเว็บ iasiasurvey.com มีลูกค้าตลาดเดียวคือญี่ปุ่น เพราะเมื่อลูกค้าที่ประเทศญี่ปุ่นต้องการสำรวจข้อมูลในเมืองไทย ไม่มีใครทำแบบออนไลน์ซึ่งดีกว่าบนกระดาษเพราะจะเป็น realtime เป็นเว็บที่ให้คนเข้ามาทำแบบสอบถามได้ค่าตอบแทนครั้งละ 100 บาท เกิดเป็นชุมชนบนเว็บขึ้นมา เติบโตมาประมาณ 5 ปีแล้ว ได้ฐานสมาชิกเดิมมาจาก yumyai.com เราจะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเราทำลึกขึ้น คู่แข่งจะตามไม่ทัน”

ประสบการณ์เรื่องพันธมิตร นาวิกเน้นว่า ต้องหาคนที่มาเติมเต็มสิ่งที่เราขาด เพราะช่วงเริ่มต้นทำธุรกิจขายตั๋วออนไลน์ เลือกคนเขียนโปรแกรมเก่ง แต่ไม่มีประสบการณ์ด้านอินเทอร์เน็ต เมื่อเปิดขายตั๋ววันแรกมีลูกค้าเข้ามาพร้อมกันจนอินเทอร์เน็ตล่ม

สำหรับคุณสมบัติของเถ้าแก่ออนไลน์ที่จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนว่า นาวิกแนะนำว่า ควรมีองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่
1. ต้องรู้จักลูกค้า เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าลูกค้าของเราคือใคร ประเภทไหนที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตได้หรือไม่ได้

2. เป็นนักประสาน ต้องรู้จักการหาพันธมิตร ที่สำคัญ 3 ด้าน คือ คนที่รู้จักเทคโนโลยีว่าจะใช้อินเทอร์เน็ตมาช่วยทำธุรกิจอย่างไร คนที่ทำการตลาดมีประสบการณ์ด้านอีคอมเมิร์ซ และแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะเถ้าแก่ที่มีงบฯ น้อย

3. ต้องหลงใหลอินเทอร์เน็ต เพื่อกระตุ้นให้อยากพัฒนาและปรับปรุงมีประสบการณ์มาก รู้พฤติกรรมคนที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต

4. ต้องมีสมดุลทางความคิด ให้เห็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง อย่าใช้เพียงช่องทางนี้ทางเดียวจนลืมช่องทางอื่น

และ5. ต้องรับความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนได้ เพราะภาพรวมตลาดในไทยยังมีคนที่ไม่กล้าใช้บริการหรือธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกันก็มีคู่แข่งมาก

เมื่อผู้เชี่ยวชาญมองไปในทิศทางเดียวกันว่า ในปี 2549 eCommerce มีแนวโน้มสดใส เป็นหนทางที่น่าจะก้าวเดิน และมีการชี้แนะวิธีการมากมายแล้ว จึงอยู่ที่ผู้ประกอบการโดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้เห็นโอกาสแล้วว่า จะมาช่วยกันสร้าง ทำให้ช่องทางนี้มีบทเรียนของความสำเร็จ และเติบโตอย่างยั่งยืนได้มากน้อยเพียงใด

*************

ในการสัมมนา “อนาคตดอทคอมไทยในปี 2006” มีกรณีศึกษาที่นำมาแบ่งปัน ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้เพิ่มเติมจากแนวทางที่ต่างกัน 2 ราย

แก้หนี้ด้วย classified board

รายแรก วีรยุทธ สันติกฤษณเลิศ นักธุรกิจหนุ่มที่เคยประสบปัญหาหนี้สินในธุรกิจสินค้าเกษตรของครอบครัว ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้เขาต้องรับภาระช่วยสะสางหนี้สินนับสิบล้านบาท และ ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เขาปลดหนี้ทั้งหมดได้ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยการลงประกาศในเว็บตลาดกลาง ที่ให้บริการฟรี

ด้วยเป้าหมายต้องการหาเงินสดมาหมุนเวียนช่วยสางหนี้ให้เร็วที่สุด จึงเริ่มด้วยสินค้าที่มีกำไรสูงและมีความรู้ความชำนาญอยู่แล้ว โดยเฉพาะอุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์ ที่ขายได้มากมาย หรือสินค้าแบรนด์เนม เช่น เคยขายปากกามือสองที่ทำกำไรให้ถึง 3 หมื่นบาท รวมทั้ง สินค้าชิ้นใหญ่ เช่น ที่ดิน ซึ่งหลายครั้งเป็นลูกค้าจากต่างประเทศเดินทางมาซื้อ และจ่ายเป็นเงินสด

กุญแจสำคัญที่ทำให้วีรยุทธประสบความสำเร็จ มาจากการเลือกสินค้าที่มีกำไรต่อหน่วยสูง น้ำหนักเบา เพื่อให้ค่าใช้จ่ายด้านขนส่งต่ำที่สุด และสำหรับลูกค้าในไทยใช้ระบบส่งของและชำระเงินของไปรษรีย์ไทยที่เรียกว่าพกง.เก็บเงินปลายทาง เพื่อให้ลูกค้าเห็นสินค้าก่อนจ่ายเงินเพื่อให้ลูกค้าสบายใจ

โดยเน้นสินค้าที่หายากในตลาดทั่วไป ประกอบกับ การให้ความสำคัญที่สุดกับภาพสินค้าและการบรรยายข้อมูล โดยการบอกเล่าข้อเท็จจริงจากการใช้สินค้า เป็นวิธีการที่แตกต่างจากการบรรยายข้อมูลในฐานะผู้ขาย และสร้างมิตรภาพให้ความประทับใจลูกค้าที่โทรมาทุกครั้ง ในเชิงให้ความรู้และข้อแนะนำมากกว่าการทำธุรกิจหรือเร่งรัดการขาย ทำให้เกิดความเชื่อมั่นและสร้างรายได้ในระยะยาว มีทั้งลูกค้าประจำ ลูกค้าที่กลายเป็นเพื่อน และลูกค้าใหม่

อุปกรณ์ที่วีรยุทธใช้อยู่มีเพียง คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค กล้องดิจิตอล PDA และโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถทำงานได้ตลอดเวลาเมื่อต้องการ แต่ตามปกติมักจะใช้เวลาเพียงวันละ 2 ชั่วโมง และยังคงเป็นงานอดิเรก ปัจจุบันกำลังจะสร้างธุรกิจใหม่ เช่น การรับพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การจำหน่ายผักปลอดสารพิษ และเทียนแฟนซี แล้วยังเริ่มศึกษาและคิดจะทำเว็บไซต์ นอกจากการใช้ classified board จากเว็บต่างๆ ที่เปิดฟรี เช่น pantip.com , thai2hand.com และsanook.com

แม้ว่าจะมีอุปสรรคต่างๆ เช่น สินค้าบางชิ้นขายไม่ออก การโพสต์ด่า หรือโทรมาป่วนจากคู่แข่ง เพราะการแข่งขันมากขึ้น วีรยุทธจึงต้องพยายามสร้างความแตกต่าง พัฒนาบริการ และสิ่งสำคัญที่สุดคือความจริงใจ

สนุกกับ Ebay

สุภัทร์ กิตติภิญโญวัตน์ นักธุรกิจในแวดวงโลจิสติกส์ ซึ่งหันมาหารายได้จากการนำสินค้าไปประมูลขายในอีเบย์ www.Ebay.com เว็บไซต์ชื่อดังที่ได้รับนิยมระดับโลก เล่าว่า แต่ละวินาทีมีการซื้อขายในอีเบย์คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,800 เหรียญสหรัฐ จากผู้คนทั่วโลก โดยมีสินค้าทั้งที่บางคนเห็นเป็นของธรรมดาๆ กับสินค้าแปลกๆ หายากมากมาย เช่น แสตมป์ โปสการ์ด ซึ่งเป็นสินค้าที่เขาเลือกนำมาจำหน่ายเช่นกัน

โดยยึดหลักการเลือกสินค้าที่มีน้ำหนักเบา และสะดวกในการขนส่งมากที่สุด รวมทั้ง สินค้าที่ต้นทุนต่ำ แต่กำไรสูง เช่น สติ๊กเกอร์ที่เขาลงทุนพิมพ์ขึ้นเองด้วยต้นทุนใบละ 10 กว่าบาท ขายได้แล้วนับพันใบ และเคยได้ราคาสูงถึง 56 เหรียญสหรัฐ หรือ ลายเซ็นของจา พนม พระเอกดังในภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง ขายได้ถึง 150 เหรียญสหรัฐ

การให้ความเห็นของผู้ซื้อและผู้ขายในอีเบย์ จะกลายเป็นคะแนนความน่าเชื่อถือ เช่น ถ้าผู้ขายได้คะแนนมาก มักจะบริการดี ส่งสินค้าเร็วหรือตรงเวลา สำหรับสุภัทร์ การประมูลในเว็บไซต์เช่นนี้ไม่ใช่ธุรกิจ แต่เป็นความท้าทายในการหาสินค้าแปลกๆ เช่น โปสการ์ดแจกฟรี ที่ดูน่าสนใจ มาลองขายว่าจะมีคนสนใจและให้ราคาสักเท่าไร

สุภัทร์สรุปว่า การเริ่มต้นนำสินค้ามาประมูลในอีเบย์ ควรจะต้องศึกษากฎเกณฑ์ และลองซื้อสินค้าจากเว็บไซต์นี้ก่อน แม้ไม่ใช่เรื่องยากแต่เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนต่างๆ รวมทั้ง ตั้งใจหาสินค้า บรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับสินค้า และศึกษากลยุทธ์การตั้งราคา จึงจะทำให้ประสบความสำเร็จ

สสว.หนุน SMEs สู่ eEntrepreneur

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งมีภารกิจโดยตรงที่จะต้องดูแลผู้ประกอบการ SMEs มีแนวนโยบายที่จะสร้าง SMEs ไทยให้เป็น Smart Smes เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศ ดังนั้น สสว.จึงการผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการมากขึ้น และส่งเสริมให้เกิดการให้ความรู้และใช้ช่องทาง eCommerce ซึ่งเป็นช่องทางง่ายๆ ในการทำธุรกิจทุกระดับ รวมทั้ง การพัฒนาศักยภาพของสสว.เอง

โดยส่วนหนึ่งที่กำลังดำเนินการอยู่คือการพัฒนาระบบ Bussiness Channel เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจับคู่ธุรกิจ ทำให้ SMEs ซื้อสินค้าและบริการระหว่างกันได้ นอกจากส่งผลดีในเรื่องการลดต้นทุน ยังช่วยให้เกิดเครือข่ายผู้ประกอบการ เติบโตสู่ระบบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain)

รวมทั้งยังใช้เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเพื่อช่วยให้ SMEs พัฒนาความรู้ของตัวเอง สสว.เตรียมพัฒนาโครงการeMetoring และ Digital University โดยมีเป้าหมายไปสู่การเป็นผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ (eEntrepreneur )   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us