Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์25 พฤศจิกายน 2548
สุดยอดแฟรนไชส์ปี 48 : 'อาหาร' ขึ้นแท่นเบอร์ 1 ครองแชมป์ดาวรุ่งปี 48             
 

   
related stories

สุดยอดแฟรนไชส์ปี 48 : ร้านสะดวกซื้อเปิดศึกแต่ไก่โห่ บี้เงินลงทุน-ปิดยอดกว่า 5,000 สาขา

   
search resources

Food and Beverage
Franchises




'ผู้จัดการรายสัปดาห์' ได้รวบรวมสุดยอดธุรกิจแฟรนไชส์ดาวเด่นในรอบปี 2548 โดยมองถึงความเคลื่อนไหวทั้งด้านการงทุน โอกาสและความท้าทายในอนาคต ที่จะนำเสนอจำนวน 5 ตอน 5 ธุรกิจ ต่อเนื่องนับตั้งแต่ฉบับนี้

'อาหาร' ครองแชมป์อันดับ 1

จากการจัดอันดับธุรกิจแฟรนไชส์ ธุรกิจอาหารยังคงได้รับความนิยมอันดับหนึ่งทั้งจำนวนแฟรนไชซอร์ จำนวนแฟรนไชซี ซึ่งสอดคล้องและตอบสนองชาวไทยที่นิยมการบริโภคมาแต่ไหนแต่ไร ทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับอาหารไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย จีน อิตาเลี่ยน ญี่ปุ่น หรือแม้แต่อาหารเวียดนามได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี ธุรกิจอาหาร ได้ขยายธุรกิจสู่รูปแบบแฟรนไชส์มากขึ้นภายใต้การลงทุนที่ไม่สูงจนเกินไปเพื่อให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่

พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ นายกสมาคมแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย มองว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์อาหารที่ไม่รวมกลุ่มเบเกอรี่และเครื่องดื่มในขณะนี้มีแฟรนไชซอร์เกือบ 140 แบรนด์ หรือคิดเป็น 38% ของตลาดซึ่งยังถือเป็นอันดับหนึ่งของตลาด

สำหรับการเติบโตของจำนวนสาขาแฟรนไชส์อาหาร มีการเติบโตมาก หากเทียบกับปี 2544 มาถึงปี 2548 มีการเติบโตถึง 3 เท่าตัว ส่วนจำนวนเงินในการลงทุน มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่งปีนี้อัตราการลงทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 200,000 บาท จากเดิมที่จะต่ำกว่าหลักแสนบาท เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดเล็กไม่สามารถสร้างรายได้ให้กับแฟรนไชซีได้ จึงต้องมีการปรับปรุงในหลายๆ ด้าน เพื่อเพิ่มขีดการแข่งขันในตลาด เม็ดเงินการลงทุนจึงเพิ่มสูงขึ้น คาดอนาคตอันใกล้แฟรนไชส์อาหารที่มีเงินลงทุนต่ำกว่าแสนบาทและที่เป็นรถเข็นจะเริ่มลดตัวลงเรื่อยๆ

ด้าน สมจิตร ลิขิตสถาพร เลขาธิการสมาคมแฟรนไชส์ไทยและไลเซนส์ มองว่า กลุ่มแฟรนไชส์ขนาดเล็กกลับมีปริมาณที่มากและมีรายใหม่ๆ มากขึ้น ทั้งก๋วยเตี๋ยว กาแฟ โจ๊ก ไอศกรีม และขนมจีน ฯลฯ ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 90% ขณะที่แฟรนไชส์ขนาดใหญ่มีเพียง 10%

ซึ่งการลงทุนได้มีการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบของร้านเป็นคีออสมากขึ้น สำหรับปริมาณการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์อาหารในปีนี้มีทุกระดับโดยราคาระดับกลางเริ่มตั้งแต่หลักหมื่นบาท-10 ล้านบาท อย่างไรก็ดีระดับราคาที่ได้รับความนิยมในการลงทุนจะอยู่ที่ 30,000-50,000 บาท และข้ามไปที่หลักราคาแสนบาท

คีออส-รถเข็น ทางเลือกนักลงทุน

สำหรับการลงทุนร้านแฟรนไชส์อาหารนั้น พบว่า ลักษณะรถเข็นและคีออส จะได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ เพื่อลดข้อจำกัดด้านเงินลงทุน พนักงาน ทำเลและพื้นที่ ที่นับวันเป็นต้นทุนที่สูงมาก

จากข้อมูลพบว่าแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยวมีลักษณะร้านแบบรถเข็นมากที่สุด และมีการลงทุนเริ่มต้นประมาณ 34,000 – 72,000 บาท ขณะที่ลงทุนในรูปแบบของร้านจะอยู่ที่ 95,000 ขึ้นไป ด้วยเม็ดเงินลงทุนที่ไม่สูงมากนักทำให้การขยายตัวของธุรกิจแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยวแต่ละแบรนด์มีการตั้งเป้าหมายไว้ไม่น้อยกว่า 30 สาขาต่อปี จนทำให้บางแบรนด์สามารถขยายสาขาจนถึงปัจจุบันได้ไม่น้อยกว่า 200-300 สาขา

ภูริวิชญ์ บุญส่งกิจ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยวกระทุ่มแบน และรสเด็ด ให้ข้อมูลกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ไว้ว่า ในปี 2548 ธุรกิจแฟรนไชส์อาหารมีการหันมาขยายในรูปแบบของรถเข็นมากขึ้นประมาณ 70% ของธุรกิจแฟรนไชส์อาหารทั้งหมด เนื่องจากทุกรายพบว่าช่วงเศรษฐกิจวิกฤต แฟรนไชส์มีการลงทุนสูงทำให้ผู้ประกอบการตัดสินใจช้าทำให้ธุรกิจขยายตัวยาก เพราะต้องมีการเช่าที่ การหาลูกน้อง ทำให้ผู้ประกอบการตัดสินใจนานและไม่กล้าลงทุน โดยระดับราคาของการขายแฟรนไชส์รถเข็นทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 30,000-40,000 บาท

ด้วยปัจจัยเหล่านี้เองทำให้ ภูริวิชญ์ ต้องปรับธุรกิจจากร้านก๋วยเตี๋ยวกระทุ่มแบนที่เปิดในรูปแบบของร้านมาเป็นรูปแบบรถเข็นภายใต้แบรนด์ใหม่ 'รสเด็ด' เนื่องจากจำง่ายและเพื่อเป็นการสร้างความแตกต่างจากตัวร้าน

'อาหารญี่ปุ่น' ลงทุนต่ำ แข่งแบรนด์ยักษ์

แฟรนไชส์อาหารญี่ปุ่นถือว่าเป็นแฟรนไชส์น้องใหม่ที่เปิดตัวมาได้ไม่นานแต่สามารถสร้างกระแสจนมีผู้ประกอบการหลายรายหันมาเปิดตัวแฟรนไชส์อาหารญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแฟรนไชซอร์เหล่านั้นมองว่าตลาดกระแสอาหารญี่ปุ่นกำลังเป็นที่นิยมของคนไทยในขณะที่อาหารญี่ปุ่นในไทยกลับมีเพียงแค่ 2 แบรนด์ใหญ่ คือ โออิชิ ราเมน กับฮะจิบัง ราเมน

แต่ด้วยเทรนด์อาหารญี่ปุ่นมาแรง ทำให้รายใหม่เข้าแจ้งเกิดในรูปแบบแฟรนไชส์ ล่าสุด ‘โอมาอิชิ’ รูปแบบรถเข็นเงินลงทุน 85,000 บาท อาศัยช่องว่างตลาดที่แบรนด์ใหญ่เน้นโลเคชั่นในห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก ซึ่งตั้งเป้าภายในปี 2549 จะขยายสาขาแฟรนไชส์ไม่ต่ำกว่า 200 สาขา

แม้ว่าจะต้องตั้งราคาการจำหน่ายแฟรนไชส์และราคาอาหารไว้ไม่ให้สูงมาก แต่ไม่สามารถตั้งให้ต่ำเท่ากับการแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยวหรือแฟรนไชส์อาหารแบบไทยๆ ได้ โดยจากการสำรวจพบว่าระดับราคาการจำหน่ายแฟรนไชส์ของอาหารญี่ปุ่นมีอยู่ที่ 700,000 บาทขึ้นไป ในขณะที่ราคาจำหน่ายอาหารจะอยู่ที่ 35 บาทขึ้นไป

'อิตาเลี่ยน' มาแรงแซงโค้งสิ้นปี

แม้ว่าอาหารอิตาเลี่ยนจะเป็นที่รู้จักของคนไทยมานานหลายปี และอยู่ในรูปแบบแฟรนไชส์แต่ก็เป็นรูปแบบแฟรนไชส์ที่เป็นแบรนด์จากต่างประเทศซึ่งต้องมีการลงทุนที่สูงทั้งนั้นคือไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ดังนั้นการที่จะเข้าไปลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์อาหารอิตาเลี่ยนจึงเป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้ประกอบการที่มีเงินลงทุนที่ไม่สูง

ทำให้ผู้ประกอบการไทยหลายรายที่พอจะมีความรู้เรื่องของอาหารอิตาเลี่ยนต่างหันมาพัฒนาสินค้าภายใต้แบรนด์ของคนไทยเพื่อพัฒนาเป็นรูปแบบแฟรนไชส์จำหน่ายให้กับคนไทย อย่าง พาสต้า ชาลี, สะปิคคิโอ และพิซซ่า บอย โดยร้านอาหารอิตาเลี่ยนแบรนด์ไทยจะเน้นการขายแฟรนไชส์ที่ราคาไม่สูงมีตั้งแต่ 45,000-2,500,000 บาทซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนที่ต่ำกว่าแบรนด์จากต่างประเทศ

ปัจจุบันร้านอาหารอิตาเลี่ยนซึ่งเป็นแบรนด์จากต่างประเทศสามารถขยายสาขาในแต่ละปีได้ไม่น้อยกว่า 10-20 สาขา ส่วนร้านอาหารอิตาเลี่ยนแบรนด์ไทยซึ่งเป็นแบรนด์น้องใหม่กลับพุ่งเป้าการขยายสาขาตั้งแต่ 5-200 สาขา

ด้านปริมาณความนิยมในการทานอาหารอิตาเลี่ยนในตลาดนั้น ยงยุทธ นิลเปล่งแสง ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท สินสงวนวัฒนา จำกัด ผู้ให้บริการร้านอาหารอิตาเลี่ยนพาสต้า ชาลี ได้กล่าวกับ “ผู้จัดการายสัปดาห์” ไว้ว่า เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาตนได้เล็งเห็นช่องว่างและโอกาสการเติบโตของอาหารอิตาเลียนที่ส่วนใหญ่เปิดให้บริการจำนวนมากนั้นยังคงกระจุกตัวโดยเฉพาะย่านถนนหลังสวนซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าระดับเอ และค่าใช้จ่ายต่อคนตัวหัวเฉลี่ย 500-600 บาท แต่ขณะที่การให้บริการในห้างสรรพสินค้าซึ่งจับกลุ่มลูกค้าระดับบียังไม่มีคู่แข่งโดยตรง และสามารถบริหารต้นทุนราคาใช้จ่ายต่อคนต่อหัว 160-180 บาทเท่านั้น

ชูกลยุทธ์เข้าถึงตัวผู้บริโภค

ส่วนอาหารจีน ที่ขยายสู่แฟรนไชส์ แบ่งได้เป็นติ่มซำและสุกี้ ซึ่งปีที่นี้เป็นปีที่แฟรนไชส์อาหารจีนมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์จากการเป็นอาหารระดับหรูหราในภัตตาคารเข้ามาสู่การเป็นอาหารที่มีความใกล้ชิดกับผู้บริโภค แต่ไม่สามารถปรับราคาการลงทุนให้ต่ำลงได้มาก
อย่าง 'โชคดีติ่มซำ' ปีนี้ก็มีการปรับกลยุทธ์การตลาดจากติ่มซำที่ไว้สำหรับทานเป็นอาหารว่างมาสู่อาหารมื้อหลัก พร้อมทั้งสร้างกระแสด้วยการเปิด 24 ชั่วโมงเพื่อสร้างพฤติกรรมใหม่ให้กับผู้บริโภคให้คนไทยรับประทานเป็นอาหารหลักและไม่จำกัดช่วงเวลา

ด้าน 'นีโอสุกี้' ก็มีการปรับกลยุทธ์ให้เป็นทิศทางเดียวกันซึ่ง สกนธ์ กัปปิยจรรยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีโอ สุกี้ ไทย เรสเตอร์รองส์ จำกัด ผู้ให้บริการแฟรนไชส์นีโอสุกี้ ให้ข้อมูลกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ไว้ว่า ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้าใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้นเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคต้องการรับประทานสุกี้จากหม้อร้อนๆ ทำให้บริษัทต้องปรับรูปแบบการบริการใหญ่เป็นลักษณะเคาท์เตอร์บาร์ หรือในลักษณะสุกี้บาร์ ซึ่งการเปิดสุกี้บาร์มีข้อดีตรงที่สามารถลดข้อจำกัดด้านการหาทำเลที่ตั้งเนื่องจากสามารถครบคลุมได้ทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า บริเวณอาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ที่มีชุมชนอาศัยอยู่ และยังสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ง่าย

สำหรับระดับราคาของการลงทุนแฟรนไชส์อาหารจีนจากการเก็บรวบรวมข้อมูล พบว่าแฟรนไชส์อาหารจีนไม่สามารถกำหนดราคาที่ถูกได้จึงต้องกำหนดราคาขายไว้ให้อยู่ในระดับราคา 150,000-2,000,000 บาท โดยแต่แบรนด์ต่างเชื่อว่าการเข้าหาผู้บริโภคให้มากขึ้นน่าจะทำให้เกิดยอดขายทั้งรูปแบบแฟรนไชส์และการจำหน่ายสินค้าสูงขึ้นด้วย ด้านจำนวนสาขาคาดว่าถึงสิ้นปีนี้โชคดีติ่มซำจะมีสาขาถึง 15 สาขา และจะเปิดเพิ่มอีก 5 สาขาในปี2549 ส่วนนีโอสุกี้ปีนี้ขอหาทำเลเปิดเป็นร้านต้นแบบจำนวน 3 สาขาก่อน เพื่อเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ต่อไปในอนาคต

เจาะตลาดคนรักสุขภาพ

ด้วยความที่เทรนด์รักสุขภาพมาแรงอย่างต่อเนื่องทำให้ในช่วงปีนี้ธุรกิจอาหารสุขภาพยังคงได้รับความนิยมจากตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้อาหารเวียดนามซึ่งเป็นหนึ่งในอาหารเพื่อสุขภาพได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารเวียนนามที่เป็นแฟรนไชส์มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ

เขตสินธุ์ ติวุตานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นแอนด์พี โฮลดิ้งค์ จำกัด ผู้ประกอบการร้านอาหารเวียดนาม 'เฝอ' กล่าวไว้ว่า

"ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กลุ่มลูกค้าที่เข้ามารับประทานที่ร้านเริ่มเป็นกลุ่มที่ห่วงใย รักษาสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น เด็กผู้ชาย มีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มเป็นกลุ่มใหม่ที่จะเติบโตต่อเนื่อง เป็นการขยายฐานลูกค้าจากเดิมที่เป็นกลุ่มผู้หญิง"

ทั้งนี้ มองว่าธุรกิจอาหารสุขภาพมีแนวโน้มขายตัวได้ดี เพราะเป็นธุรกิจที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามแฟชั่น แต่มาจากความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

จากการรวบรวมข้อมูล พบว่าแม้ว่าอาหารเวียดนามจะได้รับความนิยมจากตลาด แต่การเปิดแฟรนไชส์อาหารเวียดนามต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากถึง 1.2-5 ล้านบาท ทำให้การขยายตัวอาจจะต้องใช้เวลา อย่างไรก็ดีในแต่ละปีธุรกิจแฟรนไชส์อาหารเวียดนามมีการเปิดสาขาอย่างน้อยแบรนด์ละ 3-4 สาขา

(ฉบับหน้าติดตามเกาะกระแสแฟรนไชส์ธุรกิจกาแฟในรอบปี 48)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us