Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 พฤศจิกายน 2548
สมคิดหวั่นศก.แพ้เวียดนามวอนคนไทยร่วมมือฝ่าวิกฤต             
 


   
search resources

Economics




เตือนเศรษฐกิจไทยปีหน้ายังมีปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกประเทศ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" เรียกร้องภาครัฐและเอกชนร่วมพลังพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวกระโดด หวั่นเศรษฐกิจถอยแพ้เวียดนาม "ดร.โกร่ง" เชื่อปีหน้าราคาน้ำมันเริ่มทรงตัว อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพมากขึ้น ดอกเบี้ยขยับขึ้นเล็กน้อย "โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์" ระบุไทยยังมีความเสี่ยง ทั้งจากภายนอก-ภายใน ผู้บริหารกองทุนชี้เอเชียยังเนื้อหอม นักลงทุนยังสนใจ

วานนี้ (24 พ.ย.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แสดงปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา "ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2549 ... จับตาปัจจัยเสี่ยง" ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2549 จะดีขึ้นกว่าปี 2548 นี้อย่างแน่นอน เนื่องจากปีนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับสารพัดมรสุม ทั้งเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น สึนามิ ไข้หวัดนก ภัยแล้ง และปัญหาไฟใต้ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เริ่มคลี่คลายขึ้นแล้ว และทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 2548 ขยายตัวได้ในระดับมากกว่า 4% ใกล้เคียง 5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้

"เราบอกว่าจะดูแลจีดีพีไม่ให้ต่ำกว่า 5% ดูแลเงินเฟ้อไม่ให้เกิน 5% ซึ่งปีนี้ถ้าจีดีพีโตไม่ถึง 5% แต่ถ้าตัวเลข 2 ตัวนี้ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียง ก็ยังไม่เป็นไร" นายสมคิดกล่าว

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยจะต้องมีพลังร่วมระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อให้สามารถก้าวทันประเทศอื่นๆ ที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างเช่น การพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดดของประเทศเกาหลีใต้ ที่อาศัยความมุ่งมั่นในการพัฒนาคน และวิทยาการความรู้ จนกลายเป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานแห่งความรู้อย่างแท้จริง และเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ด้านเศรษฐกิจของโลก

ทั้งนี้ ประเทศเกาหลีใต้เป็นประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 พร้อมๆ กับประเทศไทย แต่ใช้เวลาเพียง 14 เดือน ในการฟื้นตัว โดยปัจจุบันมีจีดีพีมากกว่าไทยกว่า 4 เท่า จากเดิมที่เคยมากกว่าเพียง 1.2 เท่า ในปี 1970 ก่อนที่จะขยับมากกว่าไทยเป็น 1.8 เท่าในปี 1980 และ 3.7 เท่าในปี 1990 ซึ่งสะท้อนว่ามีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตขึ้นเรื่อยๆ

"หากประเทศไทยยังสับสน ยังจมอยู่กับเรื่องม็อบ การต่อต้าน การต่อสู้กันเองของคนภายในประเทศ ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า ไทย อาจจะต้องใช้ประเทศเวียดนามเป็นเบนช์มาร์กแทนประเทศเกาหลีใต้ก็เป็นได้ เพราะทุกประเทศมีการพัฒนาไปข้างหน้าด้วยกันทั้งสิ้น"

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีโอกาสที่สำคัญ คือการที่ต่างชาติ ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย ให้ความสำคัญกับประเทศไทย โดยมองไทยเป็นประเทศศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งไทยต้องใช้โอกาสนี้ โดยอาศัยพลังความสามัคคีของคนในประเทศ

"รัฐบาลทำหลายอย่าง ก็ย่อมมีสิ่งที่ถูกบ้าง ผิดบ้าง การต่อสู่ทางความคิดเป็นเรื่องธรรมดา แต่ขอฝากไว้ว่า แตกต่างทางความคิดได้ แต่อย่าปล่อยให้แตกร้าว จนทำให้การพัฒนาประเทศต้องชะงัก" นายสมคิดกล่าว

สำหรับช่วงการอภิปรายในหัวข้อ "ภาพรวมเศรษฐกิจไทย" นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริหาร แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จีดีพีในช่วงครึ่งแรกของปีหน้าจะโตในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คือประมาณ 5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อจะยังสูงขึ้นแต่จะเริ่มคลายตัวในช่วงครึ่งปีหลัง เพราะคาดว่าราคาน้ำมันจะไม่เพิ่มขึ้นจากปีนี้ โดยราคาน้ำมันดิบ (เวสเทกซัส) จะอยู่ในระดับ 50-55 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันที่พุ่งสูงถึง 60-70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในปีนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการเก็งกำไรและการนำเข้าของ ประเทศขนาดใหญ่บางประเทศ

สำหรับอัตราดอกเบี้ยเชื่อว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก แต่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับปีนี้ โดยน่าจะปรับขึ้นได้อีกประมาณ 2 ครั้ง จาก 4% ในปัจจุบันไปถึง 4.5% ซึ่งก็เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นตามเฟด เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

ในด้านภาคการเงิน สินเชื่อหารด้วยเงินฝาก จะอยู่ในอัตราที่เพิ่มขึ้นจนเกือบปกติ โดยจะอยู่ในระดับ 94% ซึ่งถือว่ามีดุลยภาพในตลาดการเงินมากขึ้น ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนมองว่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่ค่าเงินบาทคงจะไม่แข็งขึ้น เพราะดุลบัญชีเดินสะพัดในปีหน้าจะยังคงติดลบอยู่จากการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตของภาคเอกชน และการลงทุนในโครงการโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (เมกะโปรเจกต์) ของรัฐบาล ส่วนความเสี่ยงทางการเมือง โดยส่วนตัวมองว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้น แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าเหตุใดนักลงทุนยกให้เป็นความเสี่ยงต่อตลาดทุนสูงถึง 60% ไม่รู้ว่าต่างชาติถือโอกาส ทุบหุ้นไทยหรือไม่

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อเศรษฐกิจ มี 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยภายนอกประเทศ ตัวอย่างปัจจัยภายใน เช่น แนวทางในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล เช่น นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือการเปิดเขตการค้าเสรีที่ยังมีคำถามอยู่ว่า ประเทศไทยมีความพร้อมหรือยัง การเปิดเสรีจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์มากกว่ากัน เป็นต้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงภายนอก เช่น เรื่องอัตราดอกเบี้ย ที่สหรัฐฯ คงจะยังปรับขึ้นไปอีก แต่ก็คงไม่มากนัก

นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ปัจจัยเลี่ยงที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ คือ การที่ไม่มีการเตรียมพร้อมระยะยาวที่ดีพอ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ โดยการเร่งดำเนินการเมกะโปรเจกต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นนานแล้วแต่ยังไม่เกิดการพัฒนาด้านไอที การศึกษา สังคม หรือ แม้แต่การปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรนำเข้าให้เร็วกว่ากรอบการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) หรือเขตการ ค้าเสรี (เอฟทีเอ) ต่างๆ ตลอดจนการปรับประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจ

ทั้งนี้เชื่อว่า ฐานะการคลังจะไม่เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในปีหน้าอย่างแน่นอน เพราะในปีงบประมาณ 2548 แม้ว่าจะตั้งเป้ารายได้ภาครัฐไว้สูงถึง 1.25 ล้านล้านบาท คือ รวมงบประมาณกลางปีไว้แล้ว 50,000 ล้านบาท แต่ก็ยังสามารถจัดเก็บรายได้ได้เกินประมาณการ เกือบ 6,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 13% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ประมาณการรายได้ 1.36 ล้านล้านบาท ในปี 2549 ในเดือนตุลาคมซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณเกินเป้าแล้วเล็กน้อย ขณะที่ในเดือนพฤศจิกายนก็มีแนวโน้มที่จะเกินเป้าเช่นกัน ส่วนการปรับลดอัตราภาษีศุลกากร จะส่งผลต่อรายได้ภาครัฐ แต่ในระยะยาวจะชดเชยด้วยภาษีสรรพสามิต และภาษีสรรพากร

ชี้เอเชียยังเนื้อหอมนักลงทุนสนใจ

นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มการลงทุนว่า เงินลงทุนส่วนใหญ่ยังให้น้ำหนักการลงทุนใน ประเทศแถบเอเชียมากกว่าภูมิภาคอื่นทั่วโลก โดยเฉพาะเงินลงทุนใหม่ๆ ที่ยังไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงเม็ดเงินลงทุนที่จะไหลเข้ามาจากประเทศที่ส่งออกน้ำมันที่ได้รับผลดีจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่ารวมกว่า 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยเม็ดเงินเหล่านี้จะต้องหาแหล่งที่จะเข้าไปลงทุน ซึ่งการที่เศรษฐกิจในเอเชียที่ขยายตัวเกือบทุกประเทศจะสามารถดึงดูดเงินลงทุนดังกล่าวเข้ามาได้

สำหรับแนวโน้มการลงทุนในปีหน้า นายมาริษกล่าวว่า นักลงทุนต่างชาติจะหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนในหุ้นที่มีการจ่ายปันผลมากขึ้น นอกเหนือจากการพิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานของประเทศนั้นๆ เป็นหลัก เนื่องจากเชื่อว่าการลงทุนในหุ้นจะมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะส่งผลให้กำไรของบริษัทลดลงตามไปด้วย โดยสาเหตุหลักๆ ก็มาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาการลงทุนให้มากขึ้น รวมทั้งจัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสมทั้งการลงทุนในหุ้นตราสารหนี้รวมทั้งเงินสดด้วย

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด กล่าวถึงความเสี่ยงของการแปรรูปบริษัท กฝผ. จำกัด (มหาชน) ว่า การที่ กฝผ. ต้องเลื่อนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯออกไป ถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่สร้างความผิดหวังให้แก่ผู้ลงทุนอีกครั้ง หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งส่งผลให้มีเงินทุนไหลออกไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหากมองในระยะยาว เชื่อว่าจะมีผลต่อผู้ใช้ไฟฟ้าและเศรษฐกิจโดยรวม รวมทั้งการลงทุนใน ตลาดทุน ตลาดเงิน และทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในนโยบายของภาครัฐด้วย

สำหรับแนวโน้มราคาน้ำมัน นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่า ในปีหน้ามีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 50 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล จากราคาที่ผันผวนอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งขึ้นๆ ลงๆ อยู่ระหว่าง 50-60 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล และในระยะยาวเชื่อว่ามีโอกาสที่ราคาน้ำมันอาจจะขยับลงมาอยู่ที่ระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากกำลังการผลิตน้ำมันในตลาดโลกยังไม่ถึงจุดสูงสุดอย่างที่มีการคาดการณ์ไว้

นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวถึงความเสี่ยงในการเปิดเสรี หรือ FTA ไทย-สหรัฐฯว่า ปัจจุบันรัฐบาลยังไม่ได้ให้ข้อมูลแก่เอกชนในประเทศมากพอในเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีดังกล่าว ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำคือ แก้ไขกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนไทยไม่น้อยกว่านักลงทุนต่างชาติให้มีความเท่าเทียมกัน หลีกเลี่ยงข้อผูกมัดที่ไม่ก่อให้ เกิดประโยชน์ต่อนักลงทุนไทย รวมทั้งต้องมีการทบทวน พ.ร.บ. วิปกครองให้ได้มาตรฐานและมีความโปร่งใสด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us